Skip to main content

“Raising and caring for children is more like tending a garden :
it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,
nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”

The Gardener and the Carpenter

 

 “การศึกษา” โดยพื้นฐานแล้ว มุ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนที่มีความหลากหลาย ดังนั้นโจทย์สำคัญก็คือจะทำอย่างไรที่จะทำให้เด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ เข้าถึงสิทธิเสรีภาพในการเรียนรู้และเติบโตงอกงามของตนเอง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ขณะเดียวกันก็สามารถส่งเสียง สื่อสารมุมมองความคิด ความเชื่อ ความต้องการ และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และพัฒนาสังคมในฐานะพลเมืองได้ ...จากฐานความเชื่อเช่นนี้ Storytellers In Journey จึงเกิดขึ้น โดยการขับเคลื่อนของ #สาธารณะศึกษา ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)

Storytellers คือ ใคร

Storytellers คือ คนรุ่นใหม่ที่สามารถเลือกการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างอิสระตามความสนใจ (passion) และความตื่นรู้ของตนเอง (Insight)

คือ กระบวนการที่เชื่อมั่นว่า หากผู้เรียนสามารถเลือกการเรียนรู้ของตนเองได้แล้วนั้น การคืนอำนาจการเรียนรู้เช่นนี้ จะนำไปสู่การเติบโตงอกงามของผู้เรียน

คือ นักเล่าเรื่องที่ก้าวออกจากชั้นเรียนไปเรียนรู้นอกห้องเรียน ผลิตสื่อจากการเรียนรู้ของตนเอง สื่อที่มุ่งหมายสร้างการเรียนรู้กับสังคม สื่อที่มุ่งหมายสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่การศึกษา ...การศึกษาในความหมายของการเรียนรู้อย่างอิสระ

          Storytellers In Journey จึงเป็นการเปิดพื้นที่เรียนรู้สาธารณะสำหรับเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ 20 คน เป็นห้องเรียนในนัยยะการเป็นพื้นที่เรียนรู้ พื้นที่ปะทะสังสรรค์ทางสังคม ที่ประกอบสร้างขึ้นความแตกต่างหลากหลาย (เชื้อชาติ วัฒนธรรม โลกทัศน์ ภาษา) ระยะเวลา 2 วัน 1 คืนกับการร่วมแบ่งปันเรื่องเล่า ประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          เป็นปฏิบัติการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา ระยะเวลา 3 – 10 วัน ของ 19 นักเล่าเรื่อง (Storytellers) จากทั่วประเทศ กับพื้นที่เรียนรู้สาธารณะ 9 แห่ง โรงเรียนสาธิตชุมชนสมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว. แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่, ศูนย์การเรียนม่อนแสงดาวธรรมชาติวิทยา อ.เมือง จ.เชียงราย, อุตรดิตถ์ติดยิ้ม จ.อุตรดิตถ์, อโรคยาปลาบู่ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม, สวนไฟฝัน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา, ศูนย์การเรียนสะเน่พ่อง อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี, กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี, ชุมชนไทดำ อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี, ศูนย์การเรียนวิถีชุมชนไท อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

ปฏิบัติการที่นักเล่าเรื่องทุกคนมีอิสรเสรีภาพในการเลือกการเรียนรู้ของตนเองอย่างเท่าเทียมกัน ตั้งแต่การตัดสินใจ การจัดแผนการเรียนรู้ (ความคาดหวังต่อการเรียนรู้ การออกแบบการเดินทาง และการจัดการงบประมาณ)

และสำหรับนักเล่าเรื่องบางคน ...นี่คือการออกเดินทางที่คิด ตัดสินใจด้วยตัวเองและเดินทางเพียงคนเดียวเป็นครั้งแรก

จากแผนการเรียนรู้สู่ปฏิบัติการจริง จาก Comfort Zone สู่พื้นที่เรียนรู้

นับตั้งแต่การออกเดินทางจนถึงการใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เรียนรู้สาธารณะแต่ละแห่ง นักเล่าเรื่องได้พบเจอกับสถานการณ์ที่คาดไว้และคาดไม่ถึง ได้เผชิญกับปัญหา/ ความกลัว ที่ต้องเรียนรู้ที่จะต้องรับมือและจัดการ ได้พบเจอกับผู้คนที่มีความแตกต่าง บางพื้นที่ ผู้คนมีอัตลักษณ์ วัฒนธรรมเฉพาะ บางพื้นที่มีวิถีชีวิตและความคิด ความเชื่อที่แตกต่างออกไป ทุกขณะที่อยู่ร่วมกับความแตกต่าง การเรียนรู้ที่จะปรับทัศนคติของตนเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจก็เกิดขึ้น

“กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของพื้นที่เรียนรู้สาธารณะ อาจไม่ใช่เนื้อหาสาระหลักสูตร หากแต่คือ วิถีปฏิบัติที่ผู้เรียนสามารถใช้ชีวิต ดำรงอยู่ร่วม ใช้ประโยชน์ร่วมโดยอิสรเสรี โดยไม่ต้องลดทอนความเป็นมนุษย์ เป็นตัวของตัวเอง พร้อมกับเคารพในความแตกต่างหลากหลาย การเข้าไปเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการเช่นนี้ จะทำให้การเรียนรู้นั้นๆ ติดอยู่ในตัวตนยาวนาน”

หากหัวใจสำคัญของการเรียนรู้นั้น คือ การทลายกรอบทางความคิด หลุดจากกรอบที่มีใครตั้งให้ เช่นนี้เอง หัวใจสำคัญของปฏิบัติการ Storytellers In Journey จึงมุ่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ และลงมือทำอย่างอิสระ เน้นจัดกระบวนการเรียนรู้ มากกว่ากระบวนการฝึกอบรม เน้นสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านปฏิบัติจริงในพื้นที่เรียนรู้สาธารณะ เตรียมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และปล่อยให้นักเล่าเรื่องทุกคนเติบโตอย่างที่เขาต้องการ

 

“มนุษย์มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ‘creativity’ ระหว่างการเติบใหญ่ขึ้นมา เด็กจึงต้องการพื้นที่อิสระเพื่อการเรียนรู้ เพื่อจินตนาการ อันนี้คือสิ่งที่ทำให้ ‘play’ “การเล่น” เป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้น มนุษย์โดยเฉพาะในวัยเยาว์จึงต้องการ “พื้นที่” ที่จะทดลองด้วยตัวเองเสมอ

สิ่งที่เราจะทำ คือ เตรียมสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เขา ไม่คาดหวังกับผลลัพธ์มากนัก ปล่อยวางให้เขาได้เติบโตอย่างที่ต้องการ”

 

 

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
 วันที่ 08/11/2018 – 09/11/2018 เวลา 3.53 น.
Storytellers
กาลครั้งหนึ่ง มีเด็กหญิงคนหนึ่งชื่อว่า น้องสาว เธอได้เป็นหนึ่งใน 20 คน ที่โชคดีได้ออกเดินทางไปที่ต่างๆ แต่มีกฎว่าเลือกได้เพียงแค่ 1 ที่ น้องสาวเลือกสถานที่ไกลที่สุด เท่าที่จะไกลได้ ในการเดินทางน้องสาวจะต้องขึ้นยานไป โดยที่ในยานจะมีลูกเรือค่อยให้บริการ และลูกเรือคนนี้จะพูดทุกครั้งที่มีคนใหม่มา
Storytellers
ผมเป็นคนๆหนึ่งที่ชอบในความท้าทาย ชอบการหาประสบการณ์และรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอสิ่งใหม่ๆ เด็กใต้คนหนึ่งที่เคยสุขสบายมาก่อนเที่ยวไหนก็ได้ที่อยากไป รู้สึกว่าปัจจัยต่างๆทำให้เราเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดี เพราะมีกำลังพอที่พาตัวเองไปสู่การเรียนรู้ที่มันหลากหลาย แต่รู้ไหมว่าเมื่อโช
Storytellers
ในยุคนี้มันคงถึงเวลาต้องยอมรับได้แล้ว ว่าการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเป็นแค่ผู้ฟัง แล้วเอาผลคะแนนเป็นตัววัดนั้น ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคนเสมอไปหรอก ผมเองก็เป็นคนหนึ่ง ที่เกรดไม่ได้ตีเอาซะเลย แต่เชื่อผมเถอะ ว่ามนุษย์ทุกคนเติบโตด้วยการเรียนรู้มากกว่าอายุอยู่แล้ว หลังจากได้ลงพื้นที่การเรียนรู้บนดอยไปแล้ว คำ
Storytellers
 หลังจากส่งบทความไปกับทาง Story tellers in journey ก็ไม่ได้สมหวังตั้งแต่แรกอย่างเพื่อนๆ ทั้ง 19 คนที่ได้ไป Workshop กันหรอก ฮ่าๆ แต่หลังจากนั้นก็มี G-mail เด้งมาจากพี่ตุ้ม จำได้ว่าตอนนั้นกำลังพรีเซ้นท์งานอยู่ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ว่ามีคนสละสิทธิ์ และให้เราได้ไปเข้าร่วมกิจกรรม และบังเอิญตรงที
Storytellers
 หลังจากจบทริปไปเชียงรายในครั้งนั้น ฉันพยายามนั่งครุ่นคิดอยู่นานว่าจะเขียน จะเล่าเรื่อง จะถ่ายทอดเรื่องราวอย่างไรให้คนที่ได้อ่านรู้สึกอินไปกับฉัน
Storytellers
ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่ง เด็กสาวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดใต้สุดสยาม จะกำลังมุ่งหน้าสู่ดินแดนเหนือสุดสยามอย่าง ‘เชียงราย’ ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากราวกับฝันไป เพราะฉันเพิ่งตัดสินใจและเริ่มวางแผนได้เพียงในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง รู้ตัวอีกที ฉันก็กำลังนั่งรถทัวร์มุ่งหน้าสู่เชียงรายเสียแล้
Storytellers
 "นี่เป็นประสบการณ์ไปต่างจังหวัดเองครั้งแรกของผม" 
Storytellers
 “เอ๊ะ! มีอีเมลอะไรส่งมาที่กล่องข้อความ”       อีเมลฉบับนั้นมีใจความว่า “ยินดีด้วย คุณได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 21 ของโครงการ storytellers in journey”
Storytellers
      การออกเดินทางครั้งนี้ เราได้มีจุดหมายที่ ม่อนแสงดาว จังหวัดเชียงราย เรากำลังแบกเป้ที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นและความคาดหวังอย่างเต็มเปี่ยมที่พร้อมจะเรียนรู้อย่างเต็มที่
Storytellers
ฉันเห็น I ฉันคิด โดย อดิศักดิ์  โกเมฆฉันเห็นฉันคิด
Storytellers
ศูนย์การเรียนที่ผมเรียนชื่อ ศูนย์การเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่า ชื่อโรงเรียนของผมนั้นเป็นภาษาปกาเกอญอแปลเป็นภาษาไทยว่า“โรงเรียนวิถีชีวิต” โรงเรียนขอผมนั้นตั้งอยู่บนดอยที่หมู่บ้านสบลานซึ่งศูนย์การเรียนนั้นก็มีสิทธิเหมือนโรงเรียนสามารถออกวุฒิการศึกษาได้แต่มันมีสิ่งที่ไม่เหมือนโรงเรียนอยู่นั้นก็คือการจัดกา