Skip to main content
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด

            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ
            -ภาพของคนกำลังหาปลา
            -ภาพของงานวัฒนธรรม
            -ภาพของเรือจีน
            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร
            -ภาพคนริมฝั่งแม่น้ำในเขมร
            -ภาพปิดเป็นภาพเรือกำลังออกเดินทางจากฝั่ง บรรยากาศโดยรอบให้เห็นความเคลื่อนไหวของทุกสิ่งที่อยู่บริเวณท่าเรือ จากนั้นภาพค่อยๆ สว่างขึ้นเรื่อยๆ  (เหมือนว่าเรอืกำลังพาเราออกสำรวจแม่น้ำโขง) และขึ้นชื่อเรื่องเข้ามา เพื่อนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด

-เสียงดนตรีประกอบ-
ใช้เสียงเพลงคลอเพื่อนำเข้าสู่เรื่องราวในตอนจบเรื่อง ตอนขึ้นฉากที่ ๒ ใช้เสียงบรรยายในฉากที่ ๒ เริ่มเดินเรื่องราวทั้งหมด

๒. ภาพรวมของแม่น้ำโขง

-เสียงบรรยาย-
บนเทือกเขาสูงไกลโพ้นในดินแดนที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหลังคาโลก บนยอดเขา
จี้ฟูอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูงธิเบต ในเขตปกครองของมณฑลจิงไห่ บนยอดภูเขาที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางกว่า ๕,๐๐๐ ฟุตถูกปกคลุมด้วยหิมะเย็นจัดมาหลายร้อยหลายพันปี แต่เมื่อความร้อนมาเยือน หิมะบางส่วนจึงถูกหลอมละลายจนก่อเกิดเป็นต้นธารเล็กๆ ๒ สายคือ แม่น้ำจาคู และแม่น้ำอาคู เมื่อแมน้ำทั้ง ๒ สายไหลมาบรรจบกัน แม่น้ำใหญ่ที่หลายคนรู้จักในชื่อแตกต่างกันออกไปจึงก่อเกิดขึ้น

จากต้นน้ำ แม่น้ำได้ไหลไปตามโตรกผา บางจุดแม่น้ำไหลเป็นโค้งคล้ายพระจันทร์ บางจุดเชี่ยวกรากด้วยแก่งหิน บางจุดหดแคบลงในช่วงหน้าแล้ง แต่ละพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่านผู้คนได้เรียกชื่อแม่น้ำแตกต่างกันออกไป

ชุมชนชาวไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองพันนาเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำล้านช้าง ส่วนชาวจีนในแผ่นดินใหญ่ทั่วไปเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า หลานชางเจียง เมื่อแม่น้ำไหลผ่านเป็นเส้นพรมแดนไทย-ลาว คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำโขง ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคอื่นๆ เรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำโขง จากนั้นแม่น้ำก็ไหลเป็นเส้นแบ่งพรมแดนลาว-กัมพูชา เมื่อมุ่งหน้าสู่กัมพูชา คนในกัมพูชาเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ตนเลของ และจุดสิ้นสุดของแม่น้ำอยู่ที่ทะเลจีนใต้ เมื่อแม่น้ำโขงออกสู่ทะเลที่ปากแม่น้ำ คนเวียตนามเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า เกาลอง ซึ่งแปลว่าเก้ามังกร เพราะตรงปากแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเล แม่น้ำได้แตกแขนงออกเป็นแม่น้ำสายเล็กๆ เก้าสาย

แม่น้ำโขงในตอนบนได้รับน้ำจากการละลายของหิมะ ส่วนแม่น้ำโขงในตอนล่างได้รับน้ำจากแม่น้ำสาขาต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามเทือกเขาสูง นอกจากนั้นยังได้รับน้ำจากสายฝนอันเป็นอิทธิพลของฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมของทุกปี

จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ แม่น้ำโขงมีความยาวทั้งสิ้น ๔,๙๐๙ กิโลเมตรเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลก จากการสำรวจพบว่า ในแม่น้ำโขงมีพันธุ์ปลาทั้งสิ้น ๑,๒๔๕ ชนิด ในจำนวนพันธุ์ปลานับพันชนิด มีบางชนิดใกล้สูญพันธุ์ และบางชนิดก็หาได้ยาก

-ภาพ-
เปิดเรื่องด้วยภาพพระอาทิตย์กำลังขึ้นหรือภาพอื่นๆ เช่น ภาพคนหาปลากำลังออกเรือไปหาปลา เพื่อแสดงให้เห็นว่าสารคดีเรื่องนี้กำลังเริ่มต้นขึ้น จากนั้นเป็นภาพแม่น้ำโขงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ในจีนใช้ภาพที่ถ่ายมาจากหมู่บ้านจาปี เมืองเต้อชิง ในไทยใช้ภาพสามเหลี่ยมทองคำ/และภาพแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ในลาวใช้ภาพตอนล่องเรือสำรวจน้ำโขง และภาพอื่นๆ ในเขมรใช้ภาพที่เมืองสตรึงเตร็ง และปากน้ำเวียตนามใช้เป็นภาพนิ่งจากแผนที่แทน เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะของการแยกออกเป็นเก้าสายของแม่น้ำโขงที่บริเวณปากแม่น้ำ

(ในบางช็อตอาจใช้ตัวหนังสือวิ่ง พร้อมกับเสียงบรรยายเรื่อง)

ภาพแผนที่แม่น้ำโขงจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ (ภาพนิ่ง) ในตอนใช้ภาพนิ่งอาจสร้างเทคนิคเพิ่มเติม เช่น เมื่อพูดถึงประเทศใดให้ค่อยๆ อินเสริดภาพแผนที่ของประเทศนั้นเข้ามา และจบลงตรงต่อแผนที่เป็นภาพรวมประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ภาพปลาทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งภาพของคนกำลังหาปลา

-เสียงดนตรีประกอบ-
ค่อยๆ คลอเบาๆ และเร่งจังหวะขึ้น จนเลือนหายไป แล้วใช้เสียงคนอ่านบนขึ้นมาสลับแทน เมื่อเปลี่ยนไปสู่ฉากที่ ๒ ให้ใช้เสียงเพลงเป็นตัวนำ เพื่อไปสู่ฉากที่ ๒

๓.ระบบนิเวศแม่น้ำโขง วิถีชีวิต และวัฒนธรรม

-เสียงบรรยาย-
ในตอนบนแม่น้ำสีเขียวมรกตสายนี้อุดมไปด้วยความหนาวเย็น จากต้นน้ำแม่น้ำได้ไหลลงสู่ด้านต่ำตามกฏแรงโน้นถ่วงของโลกผ่านซอกหุบเขาอันสลับซับซ้อน ผ่านผืนแผ่นดินอันอุดมไปด้วยความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม และลัทธิการเมืองการปกครอง ทุกพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่าน ผู้คนริมสองฝั่งแม่น้ำได้ใช้ประโยชน์แตกต่างกันออกไป ในแถบชายแดนธิเบต-จีนอันเป็นต้นธารของแม่น้ำ ผู้คนริมสองฝั่งแม่น้ำถือเอาแม่น้ำเป็นดินแดนแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนจึงใช้แม่น้ำอันเนื่องด้วยการดำเนินวิถีชีวิตทางจิตวิญญาณ แต่หากว่าเมื่อแม่น้ำไหลลงมาจนถึงเขตที่ราบลุ่มในเขตปกครองตนเองสิบสองพันนา ผู้คนกลับได้พึ่งพาประโชยน์จากแม่น้ำในด้านของการดำรงอยู่ของชีวิต แม่น้ำจึงเป็นทั้งแหล่งอาหาร เส้นทางคมนาคม

นอกจากแม่น้ำได้หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตอันหลากหลายแล้ว แม่น้ำยังได้ให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎเกณฑ์ความเป็นไปของธรรมชาติ ขณะเดียวกันนอกจากแม่น้ำจะให้ประโยชน์กับผู้คนแล้ว แม่น้ำยังสอนให้เรารู้จักการอยู่กับธรรมชาติอย่างนอบน้อม ในฤดูฝนกลางสายน้ำเชี่ยวกราก แม่น้ำได้สอนให้เราคารวะความยิ่งใหญ่ของสายน้ำด้วยความหวาดกลัวอันเดินทางสู่เบื้องลึกของหัวใจ

ในแม่น้ำโขงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำมีบางช่วงที่แฝงไว้ด้วยอันตรายจนผู้คนไม่อยากกลายใกล้ แต่ในความอันตรายนั้นก็มีความงาม แม่น้ำโขงจึงเป็นทั้งแม่น้ำที่น่ากลัวดุร้าย และมีความงามอยู่พร้อม

ขณะเดียวกันใช่ว่าแม่น้ำโขงจะให้ความน่ากลัวกับผู้คนเพียงอย่างเดียว แม่น้ำโขงยังได้ให้ประโยชน์กับผู้คนจำนวนมากด้วยเช่นกัน

ว่ากันว่ามีผู้คนกว่า ๑๐๐ ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ แตกต่างกันออกไป

ในจำนวนคนหลาย ๑๐๐ ล้านคนนั้น คนเหล่านั้นล้วนมิวิถีชีวิตที่แตกต่างกันออกไป คนที่อยู่ใกล้ริมน้ำ บ้างปลูกผักตามหาดทราย และที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ การปลูกผักริมน้ำจะมีให้เห็นตลอดสองฝั่งน้ำในช่วงฤดูน้ำลด แม้ว่าการปลูกผักริมแม่น้ำจะได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ผลตอบแทนที่ได้ก็คุ้มค่า เพราะลงทุนไม่สูง

นอกจากจะปลูกผักแล้ว ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงโดยตรง คนกลุ่มนี้คือคนหาปลา บ้างคนหาปลาเป็นอาชีพ บางคนก็หาปลาในช่วงที่ว่างเว้นจากการทำเกษตร

พื้นที่หาปลาของคนหาปลาจะอยู่ตามแก่งหิน คก หลง ดอนทราย หาดหิน ลำห้วย และลำน้ำสาขา ซึ่งชื่อกล่าวมาทั้งหมดคือระบบนิเวศย่อยของแม่น้ำโขง ในระบบนิเวศย่อยเหล่านี้ คนหาปลาก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภูมิความรู้ของท้องถิ่นนั้นๆ

ในช่วงก่อนออกหาปลาคนหาปลาจะมีพิธีกรรมหลายอย่างทั้งเลี้ยงผีเรือ เลี้ยงผีเจ้าที่ โดยเฉพาะกับคนที่จับปลาบึก คนหาปลาต้องบอกกล่าวกับผีฟ้าผีแถน เพื่อขอปลาจากผีฟ้าผีแถน เพราะคนหาปลามีความเชื่อตกทอดสืบต่อกันมาว่า ปลาบึกเป็นปลาที่มีผีฟ้าผีแถนคุ้มครอง เมื่อจะจับปลาบึกต้องขออนุญาตจากผีฟ้าผีแถนเสียก่อน

นอกจากคนริมฝั่งน้ำจะใช้แม่น้ำเป็นฐานทัรพยากรในการดำรงชีวิตแล้ว แม่น้ำยังเข้ามาอยู่ในสวนหนึ่งของพิธีกรรมด้วย เช่น ในช่วงปีใหม่ลาว ชาวบ้านจะลงมาก่อเจดีย์ทราย และแข่งเรือ เพื่อเฉลิมฉลองในการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

-ภาพ-
ภาพของระบบนิเวศต่างๆ ในแม่น้ำโขง คอนพะเพ็ง หลี่ผี ลาวใต้ ตอนบนในประเทศจีน ตอนกลางในลาว-ไทย ภาพเน้นภาพที่สามารถทำให้เห็นความหลายหลากของระบบนิเวศ รวมทั้งภาพของแม่น้ำสาขา

ภาพคนหาปลา การใช้ชีวิตอยู่บนแม่น้ำโขงในพื้นที่ต่างๆ
ภาพงานวัฒนธรรม
ภาพสัมภาษณ์ชาวบ้านเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่อยู่กับแม่น้ำ (ใส่อย่างน้อย ๒ คน คนละประเทศได้ยิ่งดี)
ภาพคนขับเรือรับจ้าง เพื่อให้เห็นการใช้ชีวิตบนแม่น้ำอีกมุมหนึ่ง (หากภาพมีมากพอ จะใช้มุมกล้องเล่าเรื่องระบบนิเวศแม่น้ำโขงผ่านคนขับเรือรับจ้างลำใหญ่ก็ได้)

-เสียงดนตรีประกอบ-
ในช่วงที่ภาพฉายให้เห็นระบบนิเวศต่างๆ ของแม่น้ำโขง เสียงเพลงคลอเบาๆ ในช่วงที่มีภาพคนหาปลา เสียงเพลงประกอบจังหวะปลุกเร้าดูมีชีวิตชีวาตื่นเต้น ในส่วนเสียงเพลงประกอบในงานวัฒนธรรมให้ใช้เพลงประกอบตามความเหมาะสมในพิธีการนั้นๆ

๔.แม่น้ำโขงในคืนวันที่ผันเปลี่ยน

-เสียงบรรยาย-
ใน ๕-๖ ปีที่ผ่านมา แม่น้ำโขงเริ่มเปลี่ยนแปลง เพราะมีโครงการพัฒนาหลายอย่างเกิดขึ้นบนแม่น้ำ โครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ต่อแม่น้ำโขง ทั้งระบบนิเวศของแม่น้ำแปรเปลี่ยน จำนวนปลาที่ลดงลง แม่น้ำโขงบางแห่งมีสารพิษจากภาคเกษตรปนเปื้อนหลังจากขึ้นมาจากน้ำประมาณ ๒ วันจะเกิดอาการคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง ในกระแสอันเชี่ยวการกของการพัฒนาที่ถาโถมลงมาสู่แม่น้ำหากว่าการพัฒนาเป็นไปในทิศทาง เพื่อการรักษาสมดุลย์ทางธรรมชาติของแม่น้ำการพัฒนานั้นถือว่าย่อมยังประโยชน์ให้ผู้คนได้อย่างแท้จริง แต่หากว่าวันใดก็ตาม การพัฒนาได้สร้างสิ่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อทำลายสิ่งหนึ่ง การพัฒนานั้นย่อมถือว่าไม่ได้ตอบสนองความสมดุลย์ทางธรรมชาติอย่างแท้จริง และบัดนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราทั้งหลายผู้เห็นความสำคัญของแม่น้ำโขงที่เป็นมากกว่าแม่น้ำกั้นพรมแดนประเทศจะได้มาร่วมกันคิด และหาทางออกร่วมกันว่า เราจะบรรเทาความเปลี่ยนแปลงให้กับแม่น้ำโขงอย่างไร เพื่อให้แม่น้ำเป็นที่มีการพัฒนาอันสอดคล้องและสมดุลย์กับวิถีชีวิตของผู้คนที่ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำเพื่อชีวิต มิใช่แม่น้ำเพื่อความตาย

-ภาพ-
ภาพท่าเรือเชียงแสน ภาพเขื่อน แผนที่ในการสร้างเขื่อน ภาพเรือจีนที่วิ่งอยู่บนแม่น้ำตัดสลับกับภาพของคนหาปลาที่หาปลาไม่ได้ ภาพแม่น้ำโขงแห้ง ปิดด้วยภาพวิถีชีวิตของผู้คนริมแม่น้ำ ใส่ภาพให้ได้มากที่สุด ภาพสุดท้ายเป็นภาพของคนหาปลากำลังหิ้วปลาหรือกำลังจับปลา ภาพตลาดปลา และจบด้วยภาพวิถีชีวิตทั่วไป

ในส่วนของภาพเขื่อน และแผนที่เขื่อนใช้เป็นภาพนิ่ง ภาพตลาดปลา และคนหาปลาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหว

สัมภาษณ์คนขับเรือ คนหาปลา และคนกลุ่มอื่นถึงวิถีชีวิตที่เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือให้เล่าถึงภาพความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำที่เขาพบเห็น

สุดท้ายจบที่บทสัมภาษณ์ว่า ในอนาคตอยากเห็นทิศทางของการพัฒนาบนแม่น้ำโขงเป็นอย่างไร (สัมภาษณ์ใครก็ได้ที่ชัดเจนในเรื่องนี้)

ตัวหนังสือเคลื่อนไหวในตอนท้ายขึ้นจากด้านล่างไปด้านบน

-เสียงดนตรีประกอบ-
ใช้ดนตรีเพลงเดียวกันกับตอนเริ่มต้น

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…