Skip to main content

สายโขงยังตัดไม่ขาด สายสวาทตัดขาดอย่างไร
ตัดบัวก็ยังไว้ใย ตัดน้ำใจยังมีเมตตา
ค่อยอิง ค่อยอาศัยกัน เอาไว้รักกันในวันข้างหน้า
มาเถิด มาเถิดแก้วตา รำวงดีกว่าร่าเริงหัวใจ รำวงดีว่าร่าเริงหัวใจ....

เสียงเพลงแหบพร่าลอยตามสายลมไกลออกไป จนเงียบหายไปกับโค้งขอบฟ้ากลางคืน นานครั้งชายชราจะร้องเพลง แต่บทเพลงที่ชอบร้องสม่ำเสมอคือเพลงนี้

ค่ำคืนนี้อากาศหนาวเย็นลง ชายชราจึงก่อกองไฟ เพื่อผ่อนเบาความหนาว เนิ่นนานที่กองไฟสว่างไสว แต่เมื่อฟืนที่กองสุมไว้ในตอนเย็นใกล้หมด แสงไฟก็สลัวลง เปลวไฟมีอยู่น้อยนิดเหมือนจะมอดดับลงทุกครั้งยามสายลมพัดเข้ามา พอสายลมพัดผ่านไป แสงไฟก็สว่างขึ้นมา หลังแสงไฟสว่าง แสงตะเกียงในกระท่อมก็ดับวูบลง ในกระท่อมมีเสียงกระแอมไอดังขึ้น แล้วทุกอย่างก็เดินทางไปสู่ความเงียบ...

ฟ้ากลางคืน พระจันทร์แรมหนึ่งค่ำเปล่งแสงสีเหลืองนวล เงาจันทร์บนสายน้ำสั่นไหวไร้รูปทรงตามแรงไหลของสายน้ำ สายลมกลางคืนหนาวเหน็บอย่างที่เคยเป็นมา

เดือนนี้ลมเหนือเริ่มพัดลงใต้เป็นสัญญาณบอกกล่าวการเปลี่ยนผ่าน ฤดูหนาวมาเยือนแล้ว สายน้ำสีขุ่นเหลืองในฤดูฝนลดความขุ่นเหลืองลงบ้าง สายน้ำไหลเอื่อยแผ่วเบา เรียวคลื่นเล็กๆ จากการไหลของน้ำเคลื่อนเข้าหาฝั่งช้าๆ หลังคลื่นลูกเก่าหายไป คลื่นลูกใหม่ก็เข้ามาแทน แม่น้ำได้ทอดตัวข้ามผ่านทุกสิ่งทุกอย่างที่เดินทางไปถึง แม่น้ำเป็นอยู่อย่างนี้มาชั่วนาตาปี และจะเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไป...

ชีวิตของคนเราก็ไม่ต่างอะไรกับแม่น้ำ เพราะบางครั้งแม่น้ำก็เป็นถนนให้เรือ และสรรพชีวิตได้เดินทางผ่าน แม่น้ำนิ่งเฉยเพื่อรองรับทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ก็นั้นแหละ ในบางครั้งแม่น้ำอาจแสดงความโกรธออกมาบ้าง ทุกครั้งที่แม่น้ำแสดงความโกรธออกมา น้ำจำนวนมหาศาลก็จะไหลบ่าท่วมทุกสิ่งทุกอย่าง ชีวิตคนเราก็เช่นกัน บางครั้งเราต่างทอดกายเป็นถนนให้เรื่องราวต่างๆ ได้ข้ามผ่าน บางครั้งเราก็นิ่งเฉยเพื่อรองรับเรื่องราวทั้งดี-ร้ายเช่นกัน

เมื่อชายชราเดินทางไปสู่การหลับ เบื้องล่างตรงท่าน้ำ เรือหาปลาถูกผูกโยงอยู่กับเสาไม้ไผ่โคลงเคลงไปตามจังหวะของคลื่น เสียงร้องของแมลงกลางคืนสะท้อนไปทั่วป่าริมฝั่งน้ำ ตุ๊กแกบนต้นไม้ส่งเสียงร้องขึ้นมาอีกครั้ง ความจริงแล้ววันนี้ทั้งวัน มันร้องมาไม่ต่ำกว่า ๕ ครั้ง สิ้นเสียงร้องของตุ๊กแกตัวนั้น ตุ๊กแกอีกตัวหนึ่งที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำก็ร้องขึ้นมา เหมือนว่าตุ๊กแกสองตัวกำลังพูดคุยโต้ตอบกันข้ามฝั่งน้ำ หากสามารถรับรู้ภาษาของมันได้ เราคงได้รู้ว่าตุ๊กแกสองตัวพูดคุยโต้ตอบกันเรื่องอะไร

ฤดูหนาวหลังน้ำลด หาดทรายโผล่พ้นน้ำเป็นแนวยาวไปตามริมฝั่ง หาดทรายบางส่วนมีต้นไคร้ขึ้นคลุม ตรงหาดทรายที่ไม่มีต้นไคร้ขึ้นคลุมและราบเรียบเสมอกัน ชายชราได้สร้างกระท่อมขึ้นมาหลังหนึ่ง ข้างกระท่อมเป็นแปลงผัก ๔-๕ แปลง มีผักหลายอย่างอยู่ในแปลง ผักเหล่านี้ชายชราไม่เคยต้องบำรุงด้วยปุ๋ยชนิดใด เพราะตะกอนทรายที่น้ำพัดมาทับถมกัน ในนั้นจะมีชากพืชที่ถูกน้ำท่วมตายและเป็นปุ๋ยชั้นดี ผักจึงงามไร้สารเคมี

พูดถึงเรื่องกระท่อมแล้ว ปีที่ผ่านมา กระท่อมหลังนี้ไม่ได้อยู่ตรงนี้ มันถูกผูกโยงอยู่ในน้ำเป็นเรือนแพ หน้าฝนปีนี้กระท่อมถูกนำกลับขึ้นมาบนฝั่ง โดยเจ้าของกระท่อมให้เหตุผลว่า มันอยู่ในน้ำนานไป ไม้ไผ่ผุ ปีนี้ก็เลยเอาขึ้นมาไว้บนฝั่ง

เมื่อมองดูกระท่อมและหันกลับมามองดูเจ้าของ ในความคิดของผมทั้งสองสิ่งมีบางอย่างเหมือนและแตกต่างกัน กระท่อมสร้างขึ้นมาเพื่อคุ้มแดดคุ้มฝน เสาของมันโย้ไปโย้มาจะพังแหล่มิพังแหล่ เจ้าของก็เช่นเดียวกัน ด้วยอายุที่มากขึ้น บางครั้งก็เจ็บป่วยนอนซมอยู่หลายวัน แต่กระท่อมและเจ้าของแตกต่างกันตรงที่เจ้าของยังแข็งแรง และยังทำงานที่ตัวเองถนัดได้ดี อีกทั้งสุขภาพก็ยังดี ส่วนกระท่อมโดนฝนโดนลมอีกไม่กี่ครั้งก็คงพังครืนลง

บางครั้งการปลูกสร้างบางสิ่งขึ้นมาใช่ว่ามันจะดีพร้อมเสมอไป การสร้างกระท่อมของชายชราก็เช่นเดียวกัน แม้ในสายตาของคนอื่นมันดูไม่แข็งแรง แต่ก็นั่นแหละไม่มีใครเข้าใจชายชราอย่างแท้จริงว่า ทำไมแกจึงไม่สร้างให้แน่นหนา

ในความรู้สึกของชายชรา แกอาจไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องกระท่อมเท่าใดนัก เพราะกระท่อมที่มีอยู่หาได้เป็นสิ่งที่ชายชรายึดถือในความเป็นอยู่ของมัน ใจต่างหากที่ชายชรายึดถือ เพราะถ้าทำใจให้เป็นสุขพอเพียงกับทุกๆ สิ่งที่มีอยู่ ชีวิตก็จะมีความสุข แม้ว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจะเป็นเรื่องราวเล็กน้อยก็ตามที

แม้ช่วงนี้จะเป็นหน้าแล้ง แต่สายน้ำก็ยังไหลวนกระทบแก่งหินน่ากลัว ความกลัวเช่นนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงกลางวัน แต่ในเวลากลางคืนคงไม่น่ากลัวมากนัก เพราะมองไม่เห็น บางทีการมองเห็นของมนุษย์ บางครั้งมันก็นำเราไปสู่ความกลัว พูดถึงเรื่องความกลัวแล้ว มีบางคนบอกว่าสิ่งที่มองไม่เห็นน่ากลัวกว่าสิ่งที่มองเห็น เราไม่รู้หรอกว่าในความจริง ความกลัวของมนุษย์เกิดจากอะไรกันแน่

ว่ากันว่า ในฤดูหนาวกลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ขณะเวลาเดินทางผ่านไปจากนาทีเป็นชั่วโมง จากชั่วโมงเป็นหลายชั่วโมง ความหนาวเหน็บยาวนานในค่ำคืนก็ผ่อนคลายลง เมื่อแสงแรกแห่งวันปรากฏขึ้นเหนือยอดดอยด้านทิศตะวันออก เมื่ออรุณเบิกฟ้า นกจอนทรายฝูงหนึ่งก็โผบินขึ้นจากดอนทรายกลางน้ำ การดำเนินชีวิตในวันใหม่ของสิ่งมีชีวิตได้เริ่มขึ้นอีกครั้งแล้ว

หลังอรุณเบิกฟ้า เปลวไฟจากเตาไฟข้างกระท่อมค่อยๆ ดับลง ควันไฟสีขาวหม่นลอยล่องขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้วจางหายไป ยามเช้าก่อนพระอาทิตย์จะมาเยือน ทุกอย่างรอบกระท่อมสลัวรางในม่านหมอกสีเทา หลังจมอยู่กับการหลับในค่ำคืนตอนค่อนรุ่งชายชราก็ตื่นนอน เพื่อหุงข้าว ก่อนจะออกไปหาปลา หากพูดถึงการนอนของชายชราแล้ว ในความเป็นจริงหนึ่งคืน ชายชราได้นอนเพียงเล็กน้อย เพราะช่วงตี ๒ แกจะเอาเรือออกไปช้อนกุ้งตามฟดที่วางไว้ริมฝั่ง กว่าจะกลับมาก็เกือบตี ๔ พอตี ๕ กว่าก็ตื่นขึ้นมาก่อไฟนึ่งข้าว หลังจากจัดแจงข้าวนึ่งลงในแอ๊ปข้าวเรียบร้อย ชายชราก็เดินลงไปยังเรือที่ผูกไว้ ทุกยามเช้าไม่ว่าฝนตก แดดออก สิ่งที่ชายชราทำมาเป็นประจำคือเอาเรือออกหาปลา เช้านี้ก็เช่นกัน ยามเช้าจึงเป็นจุดหมายสำหรับการเริ่มต้นของสรรพชีวิตรวมทั้งชายชราด้วย...

หากสังเกตให้ดีจะพบว่า คนหาปลาที่มีเรือนิยมผูกเรือไว้กับริมฝั่ง เพื่อให้เรือได้โดนน้ำอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าหากเรือไม่ได้โดนน้ำ เวลาเอาไปใช้ ไม้ที่นำมาทำเรืออาจแตก และเรือก็จะใช้การไม่ได้ เพราะต้องนำขึ้นมาอุดรูแตกร้าวด้วยการชัน เพื่อสมานแผลแตกร้าวที่เกิดขึ้นกับเนื้อไม้ เรือหาปลาลำหนึ่งหากดูแลรักษาดีก็จะใช้ได้ ๔-๕ ปี แต่ถ้าดูแลไม่ได้ อย่างมากก็ใช้ได้เกิน ๓ ปี

เมื่อพูดถึงเรือ คนหาปลาหลายคนรวมทั้งชายชราด้วย พวกเขาจะมีวิธีการเลือกไม้มาทำเรือแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนมากไม้ที่นำมาทำเรือคือไม้ตะเคียน เพราะไม้ตะเคียนเป็นไม้ที่หนักกว่าไม้อื่น เวลาเอาลงน้ำแล้วจะลอยน้ำดี ทนแดดทนฝน ในการเลือกไม้มาทำเรือ ช่างทำเรือคือ คนชี้เป็นชี้ตายให้กับเรือแต่ละลำ ในการเลือกไม้มาทำเรือ ช่างที่มีความเป็นมืออาชีพจะเลือกสรรไม้ที่ถูกต้องตามตำราเท่านั้น เมื่อเรือแต่ละลำทำจากไม้ถูกต้องตามตำรา พอเอาเรือลงน้ำเจ้าของเรือก็จะหาปลาได้เยอะ

ในการเลือกไม้มาทำเรือแต่ละครั้ง ช่างทำเรือจะเลือกเอาไม้ การเลือกเรือเพื่อใช้หาปลานั้น คนหาปลาที่มีฝีมือ และเป็นช่างไม้จะตัดไม้มาทำเอง ส่วนคนหาปลาที่ไม่ใช่ช่าง และทำเรือไม่เป็นก็จะซื้อหรือให้ช่างทำเรือให้ โดยเจ้าของเรือจะเลือกไม้ทำเรือด้วยตัวเอง

ในการทำเรือนั้น การดู ‘ตาเรือ’ หรือการดูวงรอบที่อยู่ในเนื้อไม้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับคนหาปลาที่คิดจะทำเรือ เพราะตาเรือที่ดีที่ทำให้หมานมีอยู่ไม่กี่แห่งบนไม้หนึ่งแผ่น

สำหรับการดูตาไม้มาทำเรือนั้น ช่างทำเรือจะเลือกไม้มีตา ๔ แบบอันเป็นตำราที่ตกทอดกันมา ตาบนไม้ ๔ ลักษณะคือ ‘ตาห้อยเงิบ’ หมายถึงตาบริเวณกาบเรือข้างที่คนหาปลาใช้ห้อยปลา ‘ตาสามเส้า’ หมายถึงตาสามตาบนพื้นเรือเหมือนก้อนเส้า ‘ตาซะน้ำ’ หมายถึงตาที่อยู่ระหว่างเครื่องยนต์เรือกับคนนั่ง     ’ตาปลดปลา’ หมายถึงตาที่อยู่ข้างเรือที่คนหาปลาปลดปลาออกจากเครื่องมือหาปลา คนหาปลาเชื่อว่า ตาเรือที่ทำให้หมานต้องเป็นตาด้านหัวเรือเท่านั้น

นอกจากตาเรือทำให้หมาน-หาปลาได้เยอะแล้ว ยังมีตาเรือที่ไม่ทำให้หมานคือ ’ตาจี้ง่อน’ คือหมายถึงไม้ที่มีตาอยู่ข้างหลังบนพื้นเรือ เรือแบบนี้จะทำให้เจ้าของต้องเจ็บป่วยหรือหาปลาได้ไม่หมานอยู่ตลอด ’ตาปั่นพื้น’ ซึ่งอยู่ตรงกลางเรือก็จะทำให้เรือจะล่มได้บ่อย เพราะตาเรือปั่นเจาะลงไปในพื้นคล้ายสว่าน เรือลำใดที่มีตาชนิดนี้ เรือจะเสียบ่อย และหาปลาไม่ค่อยได้ วิ่งก็ไม่ค่อยออก

ถึงแม้ว่ากฏเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาเหล่านี้ คนตั้งขึ้นมา และคนเรานี่เองเปลี่ยนแปลงกฏอันนั้น เมื่อคนหาปลาหรือช่างทำเรือบางคนเลื่อยไม้มาแล้ว แต่ไม้มีตาหมานอยู่ทางโคนไม้ ช่างก็จะแก้เคล็ดด้วยการเอาทางโคนไม้มาเป็นหัวเรือ เพราะมีตาหมานอยู่ แต่ส่วนมากเวลาทำเรือจะไม่ค่อยเอาทางโคนไม้มาไว้ทางหัวเรือหรอก

การทำเรือนอกจากช่างทำเรือหรือเจ้าของเรือจะดูลักษณะไม้แล้ว เรือลำหนึ่งยังมีองค์ประกอบอีกหลายอย่าง แต่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือ ไม้ที่ถูกเลือกมาทำเรือนั่นเอง

หลังจากทำเรือลำหนึ่งเสร็จสิ้นลง เมื่อเอาเรือลงน้ำครั้งแรก เจ้าของเรือก็จะทำการเลี้ยงเรือ การเลี้ยงเรือก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อของเจ้าของเรือแต่ละคน เจ้าของเรือบางคนก็ให้ผู้หญิงเดินเข้าไปเหยียบย่ำตามพื้นเรือตั้งแต่หัวเรือจนถึงท้ายเรือ เวลาเหยียบก็ให้พูดไปด้วยว่า เรือลำนี้ทำไมไม้อ่อนจัง เพื่อจะได้พูดปราบแม่ย่านางเรือ พอพูดเสร็จเวลาจะลงจากเรือก็ให้ออกด้านท้ายเรือไม่ให้กลับมาออกด้านเดิม

เมื่อเอาเรือออกหาปลาครั้งแรกหลังจากเลี้ยงเรือเสร็จ ปลาที่ได้ในครั้งแรก คนหาปลาจะนำปลานั้นมาทำอาหารเลี้ยงคนหาปลาคนอื่นๆ เพื่อเอาโชคเอาชัย การเลี้ยงเรือเป็นสิ่งที่คนหาปลาผู้เป็นเจ้าของเรือต้องทำอย่างเคร่งครัด และต้องปฏิบัติอยู่สม่ำเสมอ เรือของชายชราลำนี้เองก็เช่นกัน แม้ว่าไม้ที่นำมาทำเรือจะถูกต้องตามตำราในการทำเรือทุกประการ และในการเอาเรือออกหาปลาครั้งแรก ปลาที่ได้มาแกก็เอาไปทำลาบเลี้ยงคนอื่นจนหมด แต่ก็นั้นแหละในความเชื่อที่กล่าวมา มันคือเส้นแบ่งระหว่างตะวันตกกับตะวันออก และก็เป็นเรื่องยากเต็มทีที่จะให้ด้านตรงกันข้ามทั้งสองด้านเดินทางมาพบกัน

หลังอรุณเบิกฟ้า เช้านี้เป็นอีกเช้าที่ชายชราเอาเรือออกหาปลา หลังขึ้นไปนั่งบนเรือแล้ว แกก็ค่อยๆ พายเรือออกจากฝั่งแล้วติดเครื่องยนต์ทางด้านท้ายเรือหลังทรงตัวได้ ชายชราก็บังคับเรือเคลื่อนไปข้างหน้า เมื่อใกล้ถึงเป้าหมาย เครื่องยนต์ถูกผ่อนให้เบาลง พอถึงเป้าหมาย ชายชราก็ดับเครื่องปล่อยหางเสือหันมาจับไม้พายแล้วจ้วงพายบังคับเรือไปยังเป้าหมาย

เป้าหมายของชายชราคือขวดพลาสติกสีขาว ตรงขวดน้ำมีเชือกผูกขอเบ็ดจมอยู่ใต้น้ำยาวหลายเมตร หลังจากเรือจอดนิ่ง ชายชราก็ลุกขึ้นเปลี่ยนที่นั่ง โดยเปลี่ยนจากนั่งทางท้ายเรือมานั่งหัวเรือ หลังจากนั่งเรียบร้อย แกก็ใช้มืออีกข้างหนึ่งดึงเชือกขึ้นมาอย่างช้าๆ

เชือกที่ดึงขึ้นมาเป็นเชือกผูกขอเบ็ดที่ใส่เหยื่อเอาไว้ตั้งแต่ตอนเย็นวันก่อน เช้านี้จึงเป็นเวลากลับมาดูผลงาน ชายชราดึงสายเบ็ดขึ้นมาจนสุดปลายสายก่อนจะส่ายหน้าไปมา หลังจากปล่อยสายเบ็ดกลับลงน้ำ ชายชราก็บ่ายหัวเรือไปยังเป้าหมายใหม่ต่อไป

เสียงเครื่องยนต์เรือดังขึ้นอีกครั้ง แล้วเรือและชายชราก็มุ่งหน้าไปยังเป้าหมายต่อไป เรือเคลื่อนไปข้างหน้าพุ่งตัดสายน้ำหมุนวนกลบแก่งหิน ใบหน้าของชายชราเรียบเฉยไม่หวั่นไหวต่อสายน้ำเบื้องหน้า บางทีคงเป็นความคุ้นชิน บางครั้งประสบการณ์ที่ได้จากการใช้ชีวิตอยู่กับแม่น้ำมาเนิ่นนานจึงทำให้ความหวาดกลัวของชายชราหายไป สำหรับผมแล้ว บนสายน้ำหมุนวนกับครั้งแรกบนเรือลำเล็กกลางแม่น้ำสายใหญ่ ดูเหมือนว่าความกลัวจะเกิดขึ้นทุกชั่วยามแห่งแรงเต้นของหัวใจ

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…