Skip to main content

เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท


ไม่ใช่ว่าจะมีแต่พ่อท่อนเท่านั้นที่ไม่อยากเก็บมะเขือ แต่คนอื่นๆ ที่ปลูกมะเขืออยู่บนดอนตาเปี้ยอันเป็นดอนทรายที่โผล่พ้นน้ำในช่วงน้ำลดตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไปก็ไม่อยากเก็บ เพราะเมื่อบวกลบคูณหารถึงต้นทุนการผลิต และผลกำไรที่จะได้แทบไม่คุ้มทุน

ยามสายบนดอนตาเปี้ย คนที่ทำเกษตรบนดอนริมแม่น้ำโขงยังพากันเดินทางมาสวน เพื่อเฝ้าดูผลผลิต บางคนเริ่มเปลี่ยนจากการปลูกมะเขือเป็นการปลูกถั่ว ส่วนบางคนที่มีพื้นที่มากพอจะปลูกพืชอย่างอื่นก็กำลังเตรียมดิน เพื่อปลูกมะละกอ

ว่ากันว่าผลผลิตทางการเกษตรที่เดินทางออกจากดอนทราย และริมฝั่งแม่น้ำโขงในเขตอำเภอปากชมปลายทางของสินค้าเหล่านี้นอกจากจะกระจายอยู่ตามท้องถิ่นแล้ว ยังกระจายไปจังหวัดใกล้เคียง และไกลออกไปถึงกรุงเทพฯ

นอกจากจะได้ลิ้มรสผลไม้และพืชผักเหล่านั้นแล้วจะมีกี่คนรู้ได้ว่า ต้นธารของสิ่งที่กำลังกินอยู่มาจากที่ใด บนทางหลวงหมายเลข ๑๒๒ ที่เลาะเลียบแม่น้ำโขงมีคำตอบของคำถามนี้


รถค่อยๆ ชะลอจอดเข้าข้างทางโดยมีเป้าหมายอยู่ที่บ้านหลังหนึ่งของบ้านปากเนียม อำเภอปากชม จังหวัดเลย ที่บ้านหลังนั้นพ่อท่อนผู้เป็นเจ้าของบ้านจะพาเราเดินทางไปดูแปลงเกษตรบนดอนทรายริมแม่น้ำโขงที่จัดได้ว่าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่ หลังทักทายพูดคุยกัน พ่อท่อนก็พามุ่งหน้าสู่แม่น้ำโขงด้วยรถไถนาเดินตามต่อพ่วง

 


แปลงปลูกมะละกอบนดอนตาเปี้ย

 

เมื่อไปถึงแปลงเกษตรที่คำนวนคร่าวด้วยสายตาน่าจะมีประมาณ ๔๐๐ กว่าไร่ก็ปรากฏอยู่เบื้องหน้า พ่อท่อนเล่าว่า ดอนที่ชาวบ้านพากันมาทำเกษตรนี้เรียก ‘ดอนตาเปี้ย' อยู่ระหว่างบ้านปากเนียมกับบ้านสงาว คนที่ลงมาทำเกษตรบนดอนก็มีทั้งคนบ้านปากเนียม สงาว และโนนสวรรค์ โดยการลงมาจับจองดอนแห่งนี้ทำการเกษตร คนที่มาทำเป็นคนแรกก็คือตาเปี้ย ดอนนี้จึงชื่อว่าดอนตาเปี้ย ที่ดินบนดอนในตอนนี้ไม่ใช่ว่าใครจะมาจับจองทำการเกษตรก็ได้ไม่เหมือนแต่ก่อน เพราะตอนนี้บนดอนทรายมีเจ้าของหมด แต่ก่อนถ้าจะทำต้องลงมาจับจองในช่วงน้ำโขงลด บางปีก็ได้ที่ดินมาก บางปีก็ได้ที่ดินน้อย มันแล้วแต่ว่าน้ำจะพัดทรายมาทับถมมากน้อยแค่ไหน แรกๆชาวบ้านก็ปลูกผัก ปลูกถั่วพอได้อยู่ได้กิน หลังๆ มาชาวบ้านเริ่มปลูกมะเขือ ข้าวโพด ใบยาสูบ มะละกอ เพื่อส่งออกไปขายตามตลาดต่างๆ ช่วงแรกรายได้ดี บางคนได้เงินจากการปลูกมะเขือบนดอนเป็นแสนบาท บางคนก็ส่งลูกเรียนจนได้ปริญญา


นอกจากคำบอกเล่าถึงรายได้ที่ได้ยินจากปากของพ่อท่อนแล้ว แม่บังอรหนึ่งในคนทำเกษตรบนดอนตาเปี้ยก็ได้ย้ำเตือนถึงจำนวนของรายได้ที่เคยมีจากการทำเกษตรบนดอนทรายริมโขงให้ฟังว่า ถ้าปีไหนมะเขือในตลาดแพง ปีนั้นเรายิ้มออกเลย หักลบหนี้สินแล้วยังไงก็มีเงินเหลือเก็บ บางคนพอเสร็จจากมะเขือก็ปลูกข้าวโพดต่อ รายได้มันก็หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ แต่มันก็ไม่ได้ทำทั้งปี เราจะลงไปปลูกพืชผักก็ต้องรอให้น้ำในแม่น้ำโขงลดลงก่อน ผักที่ปลูกนี่คนได้กินเยอะ เราเป็นเจ้าของที่ เราก็มีรายได้จากการขาย ส่วนคนไม่มีที่ก็มารับจ้างเก็บมะเขือ เก็บถั่ว เก็บข้าวโพด รายได้มันก็กระจายไปหลายคน


เมื่อลองตามเส้นทางของพืชผักที่เดินทางออกจากบ้านปากเนียมไปยังที่ต่างๆ เราจะพบได้ว่า รายได้อันเกิดจากพื้นที่ที่ธรรมชาติได้ให้มานั้นไม่ได้เกิดเฉพาะกับคนริมฝั่งน้ำเพียงอย่างเดียวยังเกิดกับพ่อค้า แม่ค้า และคนกลุ่มอื่นๆ ด้วย


นอกจากพื้นที่ดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงจะเป็นพื้นที่อันก่อให้เกิดรายได้แล้ว พื้นที่ดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงยังถือว่าเป็นพื้นที่อันสำคัญทางการเกษตรอีกแห่งหนึ่งที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้คนไม่ว่าจะเป็นคนในท้องถิ่น และคนในภาคส่วนอื่นๆ

แปลงมะเขือราคาถูกที่คนปลูกน้ำตาตกใน


ถึงแม้ว่าในวันนี้ราคาของสินค้าภาคเกษตรจะยังไม่อยู่ในภาวะที่คนทำการเกษตรจะมีกำไร แต่หากไปถามคนทำเกษตรริมโขงบนดอนทรายเช่นดอนตาเปี้ยแล้ว ชาวสวนบนดอนทรายริมฝั่งโขง พวกเขาคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังไงก็ไม่มีทางเลิกทำการเกษตรบนดอนทรายเด็ดขาด เพราะนี่คือพื้นที่แห่งความมั่นคงทางรายได้แม้มันจะไม่มากเหมือนแต่ก่อน และนอกจากนั้นคนทำเกษตรบนดอนทรายริมฝั่งโขงหลายคนยังเชื่อว่า ตราบที่พวกเขายังคงมีพื้นที่ทำเกษตรแม้จะขายไม่ได้กำไรดีเหมือนแต่ก่อน แต่พวกเขายังคงมีพืชผักที่เก็บกินได้โดยไม่ขาดแคลนเช่นกัน

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’…
สุมาตร ภูลายยาว
เจ้าม้าศึกสีเทา ๒,๒๐๐ ซีซี ทะยานไปตามทางลูกรังสีแดงเบื้องหลังฝุ่นคลุ้งตลบ หากมีรถวิ่งตามมาคงบอกได้คำเดียวว่า ‘ขอโทษ’ ก่อนจะถึงทางแยกเสียงโทรศัพท์ของผู้ไปถึงก่อนก็บอกให้ตรงมาตามทางอย่าได้เลี้ยวซ้ายเป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงการหลงทางจะเกิดขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
การเดินทางเที่ยวนี้มีผู้หญิงนำ เช้านี้เป็นอีกวันที่ตื่นเช้ากว่าวันอื่น แต่หากว่าเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ถือว่ายังสาย โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าการตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้านั้นถือว่าสายมากแล้ว เช้านี้กว่าจะเปิดเปลือกตาตื่นช่างหนักหนาสาหัส ราวกับว่าเปือกตาทั้งสองข้างถูกปิดทับไว้ด้วยเทปกาวชั้นดี หลังล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ สมองยังคงงุนงง อาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนไม่ค่อยพอ รวมทั้งมีเรื่องหลายเรื่องให้ได้คิด แต่เพราะงานที่ทำจึงต้องบังคับตัวเองให้ลุกจากที่นอน
สุมาตร ภูลายยาว
จะแกคนเลี้ยงวัวผู้ไม่เคยขุ่นมัวในหัวใจ ผมจำได้ว่าพบชายคนนี้ครั้งแรกเมื่อเข้าไปบ้านสองพี่น้อง เขาดูแปลกกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เพราะเขาเป็นผู้ชายคนเดียวในหมู่บ้านที่ไว้ผมยาว เค้าโครงใบหน้าของเขาราวกับถอดแบบออกมาจากหัวหน้าชนเผ่าของอินเดียนแดง
สุมาตร ภูลายยาว
การงานของชีวิตที่ตกค้าง ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
สุมาตร ภูลายยาว
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่…
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน…