Skip to main content

เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท


ไม่ใช่ว่าจะมีแต่พ่อท่อนเท่านั้นที่ไม่อยากเก็บมะเขือ แต่คนอื่นๆ ที่ปลูกมะเขืออยู่บนดอนตาเปี้ยอันเป็นดอนทรายที่โผล่พ้นน้ำในช่วงน้ำลดตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไปก็ไม่อยากเก็บ เพราะเมื่อบวกลบคูณหารถึงต้นทุนการผลิต และผลกำไรที่จะได้แทบไม่คุ้มทุน

ยามสายบนดอนตาเปี้ย คนที่ทำเกษตรบนดอนริมแม่น้ำโขงยังพากันเดินทางมาสวน เพื่อเฝ้าดูผลผลิต บางคนเริ่มเปลี่ยนจากการปลูกมะเขือเป็นการปลูกถั่ว ส่วนบางคนที่มีพื้นที่มากพอจะปลูกพืชอย่างอื่นก็กำลังเตรียมดิน เพื่อปลูกมะละกอ

ว่ากันว่าผลผลิตทางการเกษตรที่เดินทางออกจากดอนทราย และริมฝั่งแม่น้ำโขงในเขตอำเภอปากชมปลายทางของสินค้าเหล่านี้นอกจากจะกระจายอยู่ตามท้องถิ่นแล้ว ยังกระจายไปจังหวัดใกล้เคียง และไกลออกไปถึงกรุงเทพฯ

นอกจากจะได้ลิ้มรสผลไม้และพืชผักเหล่านั้นแล้วจะมีกี่คนรู้ได้ว่า ต้นธารของสิ่งที่กำลังกินอยู่มาจากที่ใด บนทางหลวงหมายเลข ๑๒๒ ที่เลาะเลียบแม่น้ำโขงมีคำตอบของคำถามนี้


รถค่อยๆ ชะลอจอดเข้าข้างทางโดยมีเป้าหมายอยู่ที่บ้านหลังหนึ่งของบ้านปากเนียม อำเภอปากชม จังหวัดเลย ที่บ้านหลังนั้นพ่อท่อนผู้เป็นเจ้าของบ้านจะพาเราเดินทางไปดูแปลงเกษตรบนดอนทรายริมแม่น้ำโขงที่จัดได้ว่าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่ หลังทักทายพูดคุยกัน พ่อท่อนก็พามุ่งหน้าสู่แม่น้ำโขงด้วยรถไถนาเดินตามต่อพ่วง

 


แปลงปลูกมะละกอบนดอนตาเปี้ย

 

เมื่อไปถึงแปลงเกษตรที่คำนวนคร่าวด้วยสายตาน่าจะมีประมาณ ๔๐๐ กว่าไร่ก็ปรากฏอยู่เบื้องหน้า พ่อท่อนเล่าว่า ดอนที่ชาวบ้านพากันมาทำเกษตรนี้เรียก ‘ดอนตาเปี้ย' อยู่ระหว่างบ้านปากเนียมกับบ้านสงาว คนที่ลงมาทำเกษตรบนดอนก็มีทั้งคนบ้านปากเนียม สงาว และโนนสวรรค์ โดยการลงมาจับจองดอนแห่งนี้ทำการเกษตร คนที่มาทำเป็นคนแรกก็คือตาเปี้ย ดอนนี้จึงชื่อว่าดอนตาเปี้ย ที่ดินบนดอนในตอนนี้ไม่ใช่ว่าใครจะมาจับจองทำการเกษตรก็ได้ไม่เหมือนแต่ก่อน เพราะตอนนี้บนดอนทรายมีเจ้าของหมด แต่ก่อนถ้าจะทำต้องลงมาจับจองในช่วงน้ำโขงลด บางปีก็ได้ที่ดินมาก บางปีก็ได้ที่ดินน้อย มันแล้วแต่ว่าน้ำจะพัดทรายมาทับถมมากน้อยแค่ไหน แรกๆชาวบ้านก็ปลูกผัก ปลูกถั่วพอได้อยู่ได้กิน หลังๆ มาชาวบ้านเริ่มปลูกมะเขือ ข้าวโพด ใบยาสูบ มะละกอ เพื่อส่งออกไปขายตามตลาดต่างๆ ช่วงแรกรายได้ดี บางคนได้เงินจากการปลูกมะเขือบนดอนเป็นแสนบาท บางคนก็ส่งลูกเรียนจนได้ปริญญา


นอกจากคำบอกเล่าถึงรายได้ที่ได้ยินจากปากของพ่อท่อนแล้ว แม่บังอรหนึ่งในคนทำเกษตรบนดอนตาเปี้ยก็ได้ย้ำเตือนถึงจำนวนของรายได้ที่เคยมีจากการทำเกษตรบนดอนทรายริมโขงให้ฟังว่า ถ้าปีไหนมะเขือในตลาดแพง ปีนั้นเรายิ้มออกเลย หักลบหนี้สินแล้วยังไงก็มีเงินเหลือเก็บ บางคนพอเสร็จจากมะเขือก็ปลูกข้าวโพดต่อ รายได้มันก็หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ แต่มันก็ไม่ได้ทำทั้งปี เราจะลงไปปลูกพืชผักก็ต้องรอให้น้ำในแม่น้ำโขงลดลงก่อน ผักที่ปลูกนี่คนได้กินเยอะ เราเป็นเจ้าของที่ เราก็มีรายได้จากการขาย ส่วนคนไม่มีที่ก็มารับจ้างเก็บมะเขือ เก็บถั่ว เก็บข้าวโพด รายได้มันก็กระจายไปหลายคน


เมื่อลองตามเส้นทางของพืชผักที่เดินทางออกจากบ้านปากเนียมไปยังที่ต่างๆ เราจะพบได้ว่า รายได้อันเกิดจากพื้นที่ที่ธรรมชาติได้ให้มานั้นไม่ได้เกิดเฉพาะกับคนริมฝั่งน้ำเพียงอย่างเดียวยังเกิดกับพ่อค้า แม่ค้า และคนกลุ่มอื่นๆ ด้วย


นอกจากพื้นที่ดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงจะเป็นพื้นที่อันก่อให้เกิดรายได้แล้ว พื้นที่ดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงยังถือว่าเป็นพื้นที่อันสำคัญทางการเกษตรอีกแห่งหนึ่งที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้คนไม่ว่าจะเป็นคนในท้องถิ่น และคนในภาคส่วนอื่นๆ

แปลงมะเขือราคาถูกที่คนปลูกน้ำตาตกใน


ถึงแม้ว่าในวันนี้ราคาของสินค้าภาคเกษตรจะยังไม่อยู่ในภาวะที่คนทำการเกษตรจะมีกำไร แต่หากไปถามคนทำเกษตรริมโขงบนดอนทรายเช่นดอนตาเปี้ยแล้ว ชาวสวนบนดอนทรายริมฝั่งโขง พวกเขาคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังไงก็ไม่มีทางเลิกทำการเกษตรบนดอนทรายเด็ดขาด เพราะนี่คือพื้นที่แห่งความมั่นคงทางรายได้แม้มันจะไม่มากเหมือนแต่ก่อน และนอกจากนั้นคนทำเกษตรบนดอนทรายริมฝั่งโขงหลายคนยังเชื่อว่า ตราบที่พวกเขายังคงมีพื้นที่ทำเกษตรแม้จะขายไม่ได้กำไรดีเหมือนแต่ก่อน แต่พวกเขายังคงมีพืชผักที่เก็บกินได้โดยไม่ขาดแคลนเช่นกัน

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…