Skip to main content

บุนทะนอง ซมไซผล

แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว

 

 

 

.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง


ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง


หนังสือ ‘นิทานขุนบรมราชาธิราช’ เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ลาวฉบับดั้งเดิมฉบับที่ ๑ แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ..๒๐๒๖ (คศ.๑๔๘๓) ได้พูดถึงความเป็นมาของชนชาติไท-ลาว ‘ทุกชนชาติชนเผ่าล้วนแต่กำเนิดมาจากลูกน้ำเต้าบุ่งผลเดียวกัน’


เผ่าพันธุ์ไท-ลาวมีความผูกพันกันมาทางสายเลือด ภูมิลำเนา ถิ่นกำเนิด ที่ฝังสายรกอันเดียวกัน มีภาษาพูด มีความเชื่อ มีจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันเดียวกัน ที่นอกเหนือไปกว่านั้นคือมีวรรณคดีพื้นเมืองอันเดียวกัน


วรรณคดีพื้นเมืองคือภาคส่วนหนึ่งในการประดิษฐ์คิดแต่งศิลปะของประชาชนผู้ใช้แรงงาน และก็เป็นภาคส่วนหนึ่งของคติสังคม


วรรณคดีพื้นเมืองกำเนิดเกิดขึ้นในขบวนวิวัฒนแห่งการต่อสู้ต้านภัยธรรมชาติ และการต่อสู้ทางสังคมของผู้คน พร้อมกันนั้นก็มีคูณประโยชน์ในการรับใช้ ผลักดันขบวนการต่อสู้เหล่านั้น วรรณคดีพื้นเมืองมีเป้าหมายชัดเจนในการต่อต้านภัยธรรมชาติ ต่อสู้ทางสังคม และการดำรงชีวิตของคนเราอย่างมีชีวิตชีวา และอุดมสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงวิธีคิด จิตใจ และความมุ่งมั่นปารถนาอันมีประชาธิปไตยของประชาชนผู้ใช้แรงงาน และแสดงออกถึงการต่อสู้ ต่อต้านการกดขี่ขูดรีดของชนชั้นปกครองเป็นหลัก พูดในเรื่องตรงกันข้ามแล้ว วรรณคดีพื้นเมืองก็มีหลายส่วนที่ได้รับผลสะท้อนจากระบบวิธีคิดของชนชั้นปกครองเช่นกัน


วรรณคดีพื้นเมืองในห้วงยามที่ยังไม่มีตัวหนังสือเขียน ก็แสดงออกมาในรูปแบบของเรื่องเล่าพื้นเมือง การพรรณา เทพนิยาย เรื่องเล่าโบราณ นิทานอัศจรรย์ นิทานชวนหัว และนิทานสัตว์ วรรณคดีพื้นเมืองยังมีประเภทคำกลอน คำโฮม คำหวาย คำสุภาษิต คำผญา ขับ ลำ เซิ้ง นอกจากนั้นยังมีการแสดงพื้นเมือง ลำเรื่อง ละครสั้น ฯลฯ


การกินข้าวร่วมนา          กินปลาร่วมห้วย

กินกล้วยร่วมหวี            วิเศษสุดแสน

หากมีเสียงแคน            เสียงลำขับกล่อมจิตวิญญาณ

จะเป็นไทภาคอีสาน       หรือไทลาวทุกชนชาติชนเผ่า

โปรดอย่าลืมโอวาท       ของพ่อขุนบรมราชาธิราช ฯ


.พุทธศาสนากับวรรณคดีพื้นเมือง


ศิลาจารึกของวัดวิชุน แขวงหลวงพระบางยืนยันว่า ชนชาติลาวมีตัวหนังสือเขียนมาตั้งแต่ พ..๑๗๒๓ (คศ.๑๑๗๐)


เจ้าฟ้างุ่มมหาราชรวบรวมแผ่นดินลาวก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างในปี คศ.๑๓๕๓ (..๑๙๐๖) และประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


ขอบเขตอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งหมายรวมเอาพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำของ อันประกอบไปด้วยผู้คนหลายชนชาติชนเผ่า หลายภาษาพูด หลากหลายวัฒนธรรม หลากหลายความเชื่อ เมื่อมีหนังสือผูกใบลาน มีศิลาจารึก มีตำนาน มีนิทาน กาพย์กลอน เป็นลายลักษณ์อักษรมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับพระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งอบรมบ่มเพาะความคิด ความเชื่อ สร้างสติของคนให้รักกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


หนังสือวรรณกรรมต่างๆ ที่ประดิษฐ์คิดแต่งในระยะต้นๆ ก็มีจำนวนมาก เช่น ตำนานขุนบรม ศรีโคตรบอง ท้าวจันทะพานิด ปู่เย้ ย่าเย้ นิทานกำพร้าผีน้อย กำพร้างัวทอง กรำพร้าเต็มด่อน ภูบาเจียง ภูมะโลง ภูท้าว ภูนาง นางเต่าดำ จำปาสี่ต้น นางสิบสอง นางผมหอม การะเกด ปลาบู่ทอง นางหล้านางหลุน วังกาผูก ห้วยตาเหงา ท้าวเต่า อ้ายหูดหิดแสนเป้า ท้าวภูไฮ กรำพร้าหมากเดื่อ กำพร้าหมากส้าน เซี่ยงเมี่ยง เซียงโพด ลุงดาว แตงอ่อน พระลักษ์พระราม ท้าวฮุ่งท้าวเจือง สังสินไซ ผาแดงนางไอ่ สามลืมสูน นางตันไต เสียวสวาท


วรรณกรรมซึ่งอิงหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งเริ่มสร้างสติให้กับสังคม เป็นสิ่งค้ำจุนทางใจ และย่อมสร้างคนให้อยู่ร่ววมกันได้อย่างสันติสุข ไม่เกรงกลัวและหวาดระแวง มีความเมตตากรุณา แต่ก็หลีกเร้นไม่พ้น ซึ่งในบางระยะประวัติศาสตร์อาจเกิดข้อโต้แย้งจนนำไปสู่การแตกแยกทางควมคิด มีสงคราม มีการแย่งชิงอำนาจอันจะนำไปสู่หนทางแห่งความหายนะ ก็เกิดความขัดข้องหมองใจ ความหลงผิด ความไม่เข้าใจกันและกัน วรรณกรรมที่เน้นให้คนในชาติรักชาติและนำไปสู่การต่อสู้กู้ชาติ สามลืมสูนเป็นแบบอย่างหนึ่งในวรรณกรรมหลายๆ เรื่อง


ใจม่อนฮ้าย               หมายมุ่งพระไพรมิตร

สิคอยปุนปรองฮัก       ฮ่วมเฮียงราวฐาน

สมภารเบื้อง              บารมีเฮียงฮอดกันแล้ว

สุดภาคลวงเลิศล้ำ       พิลาเกี้ยวกลอนลำได้เด

แม่นเก่าเกื้อ              เกิดฮ่วมแฮงฮักแล้วนั้น

ไผฮ่อนขัดเขินเซิง      สวาทดูดายได้

สมควรได้                 สิไลวางปะปล่อยเป็นหรือ

แม่นว่าสุดฟากฟ้า       ทยานเยื้อย่องถึง


.แม่น้ำของและวรรณกรรมร่วมสมัย


นักปราชญ์ อาจารย์ปัญญชาชนคนคิดค้นเขียนยุคนี้ควรบำเพ็ญตนเหมือน

แม่ของนั้น              ไหลล่องมองไกล

ผ่านภูผา                 ป่าดงดอกไม้

ทุ่งนากว้าง              เขียวงามน้ำซุ่ม

ปูปลาเลี้ยง              คนลุ่มน้ำอิ่มหนำสำราญ


อาจมีบางเวลาซึ่งการค้นคว้าศึกษาประวัติศาสตร์ การ ‘ค้นหาความเก่าแก่แล้วนำมาเล่าต่างกัน’ เหมือนที่สุภาษิตโบราณเคยสอนไว้ เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นได้ผ่านเลยไปเป็นอดีตซึ่งยากแก่การแก้ไข แต่พวกเราคนเจเนเรชั่นใหม่ก็สามารถช่วยกันสร้างสรรค์สังคมด้วยอาวุธชนิดใหม่คืออาวุธทางศิลปะวรรณคดี โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสามัคคี เป็นพี่เป็นน้อง และรักกันดั่งคำสอนของคนโบราณที่พร่ำสอนลูกหลานว่า


ความปรองดองกลมเกรียวเป็นแถ่น

คึดให้แม่นหญ้าแฝกหญ้าคา

หามาพ่อฝันเกลียวเป็นเชือก

ผูกช้างเผือกซ้างใหญ่ไพศาล

ช่างใจหามหนีไปบ่อได้

เพิ่นเปรียบไว้คุณสามัคคี


คันแม่นมีความฮู้               เต็มพุงเพียงปากก็ดีถ่อน

สอนโตเองบ่ได้                ไผสิหย้องว่าดี

คันว่ามีความฮู้                  พาโลเฮ็ดบ่แม่น

ความฮู้ท่อแผ่นฟ้า             เป็นบ้าท่อแผ่นดิน

ให้เจ้าเอายาวไว้                คือสินไซฟันไฮ่

ปีกลายได้แต่ป้ำ               ปีหน้าจั่งคอยฮอน


ในฐานะนักเขียนร่วมสมัยคนหนึ่ง ข้าพเจ้าได้คิดได้เขียน ได้แสดงคามคิดความเห็น ในงานสัมมนาไทย-ลาว ข้าพเจ้าขอสรุปความคิดเห็นในวันนี้ด้วยบทกวีบทหนึ่งที่ชื่อว่า


สารตอบสาวไซยะภูมิ

สร้างผลงานวรรณกรรมนำราวเรื่อง

ปับประเทืองสืบทอดกอดประสาน

คนลาว-ไทมาฮ่วมกันสรรผลงาน

ไปเยือนบ้านเฮือนกันได้ สบายดี


               
หวังว่าวันหน้าจะมาใหม่

มาฮ่วมใจ ฮ่วมฮักหลอมศักดิ์ศรี

ฝากหัวใจฮักได้บ้างอย่างเสรี

เฮาพี่น้องจะฮักกันนิรันดร


คำกลอนจากใจเจ้า            ข้อยยังจื่อจดจำ

ซาบซึ้งในทรวงอก             ที่หักพังทลายม้าง

ประหวัดการคราวกี้             กัดกินใจบ่ไลห่าง

ซายจึ่งเจ็บปวดเนื้อ             บ่มีมื้อซ่วงเซา

หรือว่าคนฮักบ้าน               พงษ์พันธุ์เผ่ากินข้าวเหนียว

เกิดมาเพื่อฮับกัน               ทุกข์ทนจนไร้

ชีวิตคือความแค้น              เคืองใจไฟล้นจี่

ความฮักคือดั่งง้วน             ระแวงไว้สู่ยาน

ความเก่าควรที่มอด            ด้วยน้ำใหม่ใจสองเฮา

แผ่ใจปางคราวหลัง             ตาบจูนให้สูนเกลี้ยง

ไผหนอแกะแผ่เฮื้อ             สะกิดใจทุกเช้าค่ำ

อนุสาวรีย์ตระหง่านตั้ง         ยองใจซ้ำข้อยหมู่ลาว

สาวเอ้ยอ้ายนี้แนวนามเสือ    นาคาใหญ่งูจงอาง

แผ่เป็นในกลางใจ               ยากสิลืมเลือนล้าง

บางทีใจจริงเจ้า                  จูบแผ่ใจให้จักหน่อย บ่ซ่างแล้ว

หย้านแต่หลบต่าวปิ้น           ตั๋วต้มอย่างย่าโมของน้อง

สาวเอ้ยนางผู้ฮู้                   ครูคนเก่งไซยะภูมิ

คนหนึ่งที่ต้องการ                จะประสานฮอยร้าว

อยากลืมเลือนฮอยซ้ำ          แผ่ใจอันขมขื่นในใจอ้าย

เอาตี้! นงนาดน้อง วิไลน้อย   อ้ายเปิดใจให้แล้วเด้!

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…