Skip to main content

แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี


ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น แต่เรื่องราวที่ทำให้แม่น้ำสายนี้เป็นที่สนใจของผู้คนทั่วไปคงหนีไม่พ้นเรื่องของการสร้างเขื่อน


หลังสร้างเขื่อนผลกระทบหลายอย่างเกิดขึ้น บนสันเขื่อนปากมูนจึงกลายเป็นฐานที่มั่นของชาวบ้านผู้มาชุมนุม เพื่อบอกกล่าวความเดือดร้อนของพวกเขาให้คนทั่วไปได้รับรู้ วันที่เราเดินทางไปเยือนครั้งนั้นกระท่อมเรียงรายกระจัดกระจายไปตามสันเขื่อนจำนวนหลายหลัง มีเวทีกลางตรงข้างถนน บัดนี้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ปัจจุบันมันกลายเป็นลานจอดรถ เป็นที่ปลูกต้นไม้ และเป็นเขตหวงห้ามที่เข้าไปได้เฉพาะคนบางกลุ่ม


ผมยังจำได้ว่าหลายปีก่อนได้เคยมานั่งที่โขดหิน ตกปลากระทิงตรงหน้าเขื่อนกับเด็กน้อยจากโรงเรียนแม่มูนมั่นยืน สิ่งเหล่านี้คือภาพอดีตที่หลายคนยังคงจดจำ ในขณะที่หลายคนก็ลืมหลงภาพเหล่านั้นไปแล้ว


แม่น้ำมูนแห่งนี้คือแหล่งเรียนรู้ของคนปากมูน ทั้งคนริมมูนและคนบ้านโคก แม่น้ำมูนคือโรงเรียนสอนการใช้ชีวิตของผู้คนที่อยู่กับแม่น้ำมายาวนาน เป็นโรงเรียนที่มีเพียงคำสอนคำบอกเล่า ไม่มีตำราให้ท่องจำ มีเพียงการฝึกฝนปฏิบัติจริงจนรู้และชำนาญ จึงไม่แปลกหากจะกล่าวว่า คนอยู่กับแม่น้ำมูน คือคนที่รู้เรื่องแม่น้ำมูนมากที่สุด งานวิจัยไทบ้านเพื่อศึกษาพันธุ์ปลาและทรัพยากรแม่น้ำที่ฟื้นคืนหลังการทดลองเปิดประตูเขื่อนตามมติคณะรัฐมนตรี จึงได้เริ่มขึ้นที่นี่


ชาวบ้านปากมูนย่อมรู้ดีที่สุดในเรื่องแม่น้ำมูน และรู้ว่าการกั้นแม่น้ำด้วยเขื่อนมิได้ให้ประโยชน์อะไรกับพวกเขาเลย


ในวัยเด็กผมไม่รู้หรอกว่าเขื่อนมันคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร แต่รู้ว่าเมื่อมีคนมาชวนไปเที่ยวเขื่อนจะรู้สึกดีใจมาก ผมยังจำคำที่แม่บอกว่า ผมเกิดปีเดียวกับที่เขื่อนอุบลรัตน์แตกและเกิดน้ำท่วมใหญ่ในหลายพื้นที่ เมื่อเติบโตขึ้นผมก็ได้เรียนรู้จากโรงเรียนว่าเขื่อนมีไว้เพื่อผลิตไฟฟ้า ถ้าไม่มีเขื่อนก็ไม่มีไฟฟ้าใช้


แต่เมื่อได้เรียนรู้มากขึ้น ก็รู้ว่าเขื่อนไม่ได้มีไว้เพื่อผลิตไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว แต่มันได้ตัดวิถีชีวิตของชุมชนออกไปจากแม่น้ำ เช่น กรณีเขื่อนปากมูน เขื่อนราษีไศล เมื่อแม่น้ำถูกเขื่อนกั้น คนหาปลาก็ลดจำนวนลง แต่เมื่อเปิดเขื่อน คนหาปลาก็กลับมาจับปลาในแม่น้ำกันอย่างคึกคักกันอีกครั้ง ผมคิดว่า เมื่อจะทำอะไรก็ตามที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต แม้ผู้ได้รับผลกระทบจะเป็นคนส่วนน้อยก็ตาม สิ่งนั้นย่อมไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดี ทำไมคนส่วนน้อยต้องเสียสละ ในเมื่อเขาก็มีเพียงชีวิตเดียวเช่นเดียวกับทุกคน


หลังการเปิดเขื่อนมีงานวิจัยออกมายืนยันว่าแม่น้ำ ปลา และวิถีชีวิตชุมชนฟื้นคืนมาจนเกือบสมบูรณ์เมื่อแม่น้ำปราศจากเขื่อน ผมเชื่อมั่นว่าสังคมย่อมตระหนักดี แม้ในท้ายที่สุดรัฐบาลจะเพิกเฉยต่องานวิจัยทั้งที่ทำโดยมหาวิทยาลัย และของชาวบ้านเอง


รวมพลังผู้เดือดร้อนจากเขื่อนทั่วโลก ณ ริมฝั่งแม่น้ำมูน


ลมหนาวพัดมา ณ ริมน้ำมูนตอนกลางที่บริเวณทุ่งน้อย ราษีไศล ผู้คนหลายชาติ หลายภาษา แต่มีภารกิจร่วมกัน มารวมกันรักษาแม่น้ำในงานประชุมนานาชาติครั้งที่ ๒ ของผู้เดือดร้อนจากเขื่อนทั่วโลก River for Life


ผมเดินทางมาถึงทุ่งน้อยก่อนวันงานประชุมหลายวันเพื่อเตรียมงาน งานก่อสร้างและการเตรียมการทั้งหลายดำเนินไปอย่างเร่งรีบ เพราะวันงานใกล้เข้ามาทุกที ผมบอกกับตัวเองว่า มนุษย์ต้องรู้จักการใช้แรงกายบ้าง ยามค่ำคืนที่เหนื่อยล้าจากการทำงานกลางแดดเปรี้ยงมาทั้งวัน ก็หวนคิดถึงผู้คนอีกมากมายที่ต้องใช้แรงกายทำงาน เช่น คนที่ทำงานก่อสร้าง เขาเหนื่อยกว่าเราหลายเท่านักเพื่อแลกสิ่งที่จะมาเลี้ยงชีวิต


ระหว่างการเตรียมงานเมื่อมีคนมากมายมารวมกัน ย่อมมีความแตกต่างกันหลายๆ ด้าน และความแตกต่างนี้เป็นสิ่งที่เราต้องยอมรับ หลายวันที่ตรากตรำทำงานก่อสร้างหนักๆ ผมได้เรียนรู้ว่าความลำบากให้อะไรเรามากกว่าความสบาย ความสบายทำให้เราดูหมิ่นความลำบาก มองเห็นความลำบากเป็นขวากหนามที่ต้องคอยหลีกเลี่ยง เหมือนกับชนชั้นกลางที่มองเห็นการชุมนุมของผู้เดือดร้อนจากเขื่อนปากมูนอย่างไรอย่างนั้น แต่มนุษย์เหล่านั้นไม่เคยเรียนรู้เลยว่า ทำไมชาวบ้านต้องมาชุมนุม


ช่วงเวลาที่ใช้แรงงานนั้น ผมได้เรียนรู้ทักษะที่ไม่เคยรู้มาก่อน เป็นการเรียนนอกตำรา สิ่งที่ได้เรียนรู้คือการสร้างบ้าน ทำอย่างไรจึงจะให้งานออกมาดี ทำอย่างไรหน้าต่างจึงจะปิดได้ ทำอย่างไรไม้แต่ละแผ่นจึงจะซ้อนออกมาสวยงาม งานก่อสร้างตอกย้ำให้เรารู้ว่าเมื่อเราอยู่กับพี่น้องในชุมชน เราต้องทำตัวเป็นนักเรียนน้อย อย่าคิดว่าตนรู้ทุกสิ่ง ผู้รู้ที่แท้จริงย่อมบอกว่าตัวเองไม่รู้ และเมื่อเราพร้อมจะเรียนจากผู้อื่น เปิดใจและประตูแห่งการรับรู้ เราก็จะเห็นหลายอย่างที่เราไม่เคยได้รู้จากผู้คนมากมาย


งานประชุมนี้ทำให้ผมได้เห็นภาพที่กว้างขึ้นของขบวนการผู้เดือดร้อนจากเขื่อนว่า แท้จริงแล้วเรื่องของการปกปักรักษาแม่น้ำไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทยเพียงที่เดียวเท่านั้น


จากการเข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อยในประเด็นต่างๆ ประเด็นที่สำคัญที่ได้รับรู้คือ เบื้องหลังของเขื่อนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ่นั้นมิใช่แค่เรื่องของรัฐบาลในประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ยังมีตัวละครอีกหลายตัวที่เข้าร่วมผลักดันโครงการเหล่านี้ให้ดำเนินไปอย่างไม่เห็นชีวิตคนตัวเล็กๆ อาทิ ธนาคารเพื่อการพัฒนาต่างๆ รัฐบาลประเทศร่ำรวย และกลุ่มอุตสาหกรรมเขื่อน แนวโน้มปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกในปัจจุบันมิได้จำกัดอยู่เพียงในพรมแดนประเทศอีกต่อไป มีแต่จะข้ามพรมแดนไปเรื่อยๆ


เมื่อประเทศที่มีทุนมากกว่าเข้ารุกล้ำประเทศที่ยังคงมีทรัพยากร เช่น ไปสร้างเขื่อนในประเทศเพื่อบ้านแล้วเอาไฟฟ้าหรือน้ำมาใช้ในประเทศตนเอง หรือสร้างเขื่อนบนแม่น้ำนานาชาติที่ใช้ร่วมกันหลายประเทศ ผลกระทบของโครงการก็มิได้อยู่เฉพาะในพื้นที่โครงการ แต่ไหลบ่าข้ามพรมแดนแห่งรัฐมากระทบประชาชนที่ร่วมสายน้ำในประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน


และการเคลื่อนไหวทางสังคมต่อต้านเขื่อนจะหยุดอยู่เป็นเรื่องท้องถิ่นเพียงในพื้นที่หรือในประเทศของตนมิได้อีกต่อไป เครือข่ายระดับภูมิภาคในประเด็นเดียวกัน เช่น การเรียกร้องค่าปฏิกรณ์ หรือเครือข่ายร่วมลุ่มน้ำเดียวกัน เป็นยุทธศาสตร์รวมพลังที่สำคัญและมีประสิทธิภาพ ทำให้การต่อสู้สัมฤทธิ์ผลได้จริงด้วยความร่วมมือ


ผมได้พบว่าเรื่องทรัพยากรเราจะมองเพียงเรื่องทรัพยากรที่เป็นเงื่อนไขของรัฐชาติไม่ได้เพราะเมื่อเรามองเพียงเงื่อนไขของความเป็นรัฐชาติที่มีอยู่ เราก็จะจัดการและปกป้องทรัพยากรเฉพาะในประเทศเราเท่านั้น ในงานนี้ผมได้รับการเปิดมุมมองของตัวเองใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องทรัพยากรว่า เราต้องมองเรื่องทรัพยากรให้ไปไกลกว่าการมองการจัดการทรัพยากรแบบความเป็นรัฐชาติ แล้วเราจะได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ให้กับตัวเองในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ดิน น้ำ ป่า


สิ่งนี้ทำให้ผมย้อนคิดไปถึงเชียงของ ที่ชาวบ้านในประเทศไทยต้องเดือดร้อนเพราะโครงการเขื่อนและระเบิดแก่งในจีนและพรมแดนพม่า-ลาว ที่อยู่ไกลออกไปหลายร้อยกิโลเมตร ความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำพัดพาความเดือดร้อนไปไกลนัก


ยามค่ำของวันสุดท้ายของการประชุม พี่น้องต่างเชื้อชาติต่างภาษาต่างพากันทยอยเดินไปยังแม่น้ำมูนเพื่อประกาศเจตนารมณ์ของผู้ปกป้องแม่น้ำ และต้องการให้แม่น้ำได้ไหลอย่างอิสระ ขบวนเรือกาบกล้วยหลายสิบลำไหลสู่แม่น้ำ เรือลำน้อยไหลตามน้ำไปอย่างช้าๆ คำประกาศของการประชุมดังกึกก้อง บางคนกำหมัดชูขึ้นพร้อมคำประกาศว่า “พอกันทีกับการที่คนส่วนน้อยต้องเสียสละเพื่ออำนาจผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มที่อ้างว่าเป็นคนส่วนมาก”

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…