Skip to main content

“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก”
ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่

20080519 1

หลังเดินจากบ้านพ่อเฒ่ามา เราหยุดแวะทักทายชาวบ้านที่กำลังเดินสวนทางมา สำเนียงของคนไทเลยแปร่งหู บางครั้งต้องหยุดคิด เพื่อตอบคำถาม เมื่อกลับมาถึงบ้านพัก กับข้าวจากในครัวถูกยกออกมา บนจานมีห่อหมกปลา และน้ำพริก และนี่แหละคือต้นธารที่จะพาเราออกเดินทางไปกับพ่อเฒ่าในตอนเช้าพรุ่งนี้

ขณะอาทิตย์ยามเช้ายังไม่ออกมาเตร็ดเตร่ริมขอบฟ้าตะวันออก เราก็เดินมาถึงบ้านของพ่อเฒ่า ซึ่งแต่งตัวรออยู่แล้ว หลังพูดคุยกันได้ไม่นาน แกก็ออกเดินนำหน้ามุ่งสู่ปลายทาง

พ่อเฒ่าคนนี้ชื่อ ‘พ่อตู้เริญ’  

‘ตู้’ ในความหมายของคนไทเลยคือ คำนำหน้าของคนที่มีอายุทั้งที่เป็นพ่อใหญ่ พ่อลุง พ่อตู้เริญนอกจากจะมีอาชีพเป็นคนหาปลาแล้ว แกยังเป็นมัคทายกวัดของหมู่บ้านอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

การเดินทางบนเส้นทางสองเส้นของพ่อตู้เริญช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในวันที่เดินทางไปวัด แกก็ยังเดินทางไปหาปลาเช่นกัน เมื่อถามถึงวิถีทางที่เป็นอยู่ พ่อตู้เริญก็จะอธิบายให้ฟังอย่างแยบยลว่า

“มันบ่แม่นเรื่องแปลกดอก เพราะในสมัยก่อนมันมีนิทานเว้าสืบต่อกันมาว่า ปลานี่มันเกิดมาเพื่อสืบพระศาสนา ตอนนั้นพระอินทร์ฮู้ว่าสิมีพระพุทธเจ้ามาบังเกิด เพื่อดำรงพระศาสนา พระอินทร์เลยเอิ้นหมู่สัตว์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมดมาประชุมกัน เมื่อสัตว์ต่างๆ มาพร้อมแล้ว พระอินทร์กะถามว่า สัตว์ตัวไหนจะอาสาเพื่อสืบต่อพระศาสนา สัตว์หลายชนิดต่างขันอาสา แต่สุดท้าย พระอินทร์ก็เลือกเอาปลา เพราะปลานี่เกิดไข่ทีละหลาย และออกลูกออกหลานหลาย ฉะนั้นปลาจึงเหมาะสมกับการที่จะเป็นสัตว์สืบต่อพระศาสนา สังเกตเบิ่งงานบุญเด้อ อย่างงานบุญขึ้นบ้านใหม่นี่อาหารถวายพระกะสิมีปลา อย่างงานบุญเขาสากนี่ก็เอาปลาดุกมาฮ่วมกินฮ่วมทาน”

หลังพูดจบ พ่อตู้เริญก็หัวเราะเสียงดัง คงไม่ต้องอธิบายมากว่า ตู้เริญหัวเราะเพราะอะไร เราเองก็อดที่จะหัวเราะไม่ได้ พ่อตู้นี่ไม่ธรรมดา เราแอบบนึกในใจ แม้ว่าเส้นแบ่งระหว่างบุญและบาปจะเป็นเส้นแบ่งบางๆ แต่วิธีการอธิบายให้คนเข้าใจในวิถีทางที่พ่อตู้เริญเป็นอยู่ก็คงทำให้หลายคนหายสงสัยในความเป็นอยู่ของพ่อตู้ได้

“ถอดเกิบเด้อ มันสิได้ข้ามน้ำ เดี๋ยวมันสิย่างยาก”
พ่อตู้เริญบอก ขณะเราเดินตามหลังแกมาจนถึงจุดหมาย
“ข้ามน้ำนี่ไปก็ฮอดแล้ว บุ่งนี่พ่อใส่เหยาะกับกะโล้ไว้”
“แม่นหยังน้อพ่อตู้บุ่งกับกะโล้นี่”
“ไปฮอดก่อนกะสิเห็นดอก อย่าเพิ่งถาม”

‘กะโล้’ ที่พ่อตู้เริญพูดถึงเป็นเครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่งมี ๒ แบบ ในแบบที่ ๑ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายกล่องไม้ขีดไฟ และแบบที่ ๒ มีลักษณะเป็นแนวยาวคล้ายไซ เวลาใช้คนหาปลาจะนำมาวางไว้ตรงที่เป็นดางสีเขียวที่วางกั้นน้ำไว้คล้ายการทำโพงพาง เครื่องมือหาปลาทั้งสองแบบนี้คนหาปลาจะนำมาใส่ไว้ตามบุ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหน้าแล้งตามริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณที่พ่อตู้เริญเอากะโล้ไปใส่ ชาวบ้านเรียกว่า ‘บุ่งข้าโม้’ นอกจากบริเวณนี้จะมีบุ่งข้าโม้แล้วยังมีอีกหลายบุ่ง เช่น บุ่งปลาตอง บุ่งไผ่ บุ่งปลาเคิง บุ่งปากทาง แต่ละบุ่งที่มีอยู่ในบริเวณบ้านปากเนียมนี้ ชาวบ้านจะลงมาวางเครื่องมือหาปลา เพื่อเอาปลาขนาดเล็ก เพราะน้ำในบุ่งไม่ลึกมาก จึงเหมาะสำหรับการวางกะโล้

20080519 2

20080519 3

พ่อตู้เริญเล่าให้ฟังเพิ่มอีกว่า ในแต่ละปี น้ำในบุ่งจะมากน้อยไม่เท่ากัน และในแต่ละวันปลาที่ได้จากบุ่งก็มากน้อยไม่เท่ากัน แต่ได้ปลาทุกวัน

‘บุ่ง’ ที่พ่อตู้เริญพูดถึงมีลักษณะเป็นหนองน้ำขนาดเล็กลึกประมาณ ๑-๒ เมตร เกิดขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำโขง ระบบนิเวศแบบบุ่งในแม่น้ำโขงสามารถพบได้ในแม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านภาคอีสาน โดยเฉพาะที่อำเภอปากชม และอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

20080519 4

20080519 5

“นอกจากจะมาหาปลาในบุ่งแล้ว ดอนรอบบุ่งชาวบ้านยังลงมาแบ่งพื้นที่ปลูกผักเอาไว้ขายด้วย”
พ่อตู้เริญเล่าให้เราฟังขณะเดินนำหน้าลิ่วๆ กลับไปตามทางเดิม
“ยามอีกบ่อนหนึ่งกะแล้ว หิวข้าวกันหรือยัง”
“ยังบ่หิวครับ”

หลังรู้คำตอบ พ่อตู้เริญก็เดินดุ่มมุ่งหน้าลงไปสู่บุ่ง สายตาทั้งสองข้างจับจ้องอยู่ตรงกะโล้ที่เชื่อมต่อกับดางสีฟ้าเป็นแนวยาวเหยียด
“มื้อหนึ่งหาได้หลายบ่ พ่อตู้”
“กะพอได้กินได้ขาย มื้อใด๋ได้หลายขายกะมี แต่ถ้ามื้อได้น้อยกะเอาไปเฮ็ดปลาแดกไว้กิน”

กะโล้อันสุดท้ายของพ่อตู้เริญถูกยกลงไปวางไว้ที่เดิมอีกครั้งหลังเสร็จจากการเก็บกู้ แสงแดดของยามสายโผล่พ้นขอบฟ้ามาแล้ว ความร้อนเริ่มปรากฏ เรากำลังเดินตามหลังของพ่อตู้เริญคืนสู่บ้าน

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…