Skip to main content

“เอยาวดี” เป็นชื่อท้องถิ่นของแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งของพม่า แต่คนภายนอกทั่วไปรู้จักชื่อของแม่น้ำสายนี้ในนาม “อิรวดี”
แม่น้ำเอยาวดีเป็นแม่น้ำใหญ่สายหลักของประเทศสหภาพพม่าต้นน้ำ และปลายทางของแม่น้ำอยู่ในประเทศพม่า ไม่แตกต่างกับแม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเอยาวดีไหลผ่านกลางประเทศจากเหนือจรดใต้ แบ่งประเทศพม่าออกเป็นสองส่วน แม่น้ำในตอนบนเกิดจากการละลายของหิมะ นอกจากแม่น้ำเอยาวดีจะเกิดจากการละลายของหิมะแล้ว ยังมีแม่น้ำสาขาที่คอยเติมน้ำให้กับแม่น้ำสายนี้จนกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ แม่น้ำสาขาที่คอยเติมน้ำให้กับแม่น้ำเอยาวดีคือ แม่น้ำมาลี และแม่น้ำมายที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ รวมระยะทางจากต้นน้ำถึงปากน้ำ ๒,๑๗๐ กิโลเมตร แม่น้ำเอยาวดีจึงเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงคนพม่ามาหลายชั่วอายุคน

มีเรื่องเล่าสืบต่อมาหลายชั่วอายุคนเช่นกันว่า คนพม่าต่างค้อมคารวะแม่น้ำเอยาวดีในฐานะผู้ให้กำเนิดแผ่นดิน และยังให้ประโยชน์ในด้านต่างๆ กับชาวพม่าเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิด และชุบเลี้ยงดูลูกของตัวเอง

คนพม่าจำนวนไม่น้อยได้อาศัยแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ แตกต่างกันออกไป ในอดีตแม่น้ำสายนี้ก็มิได้ยังประโยชน์ให้กับคนพม่าเพียงอย่างเดียว ครั้งหนึ่งเมื่อราว ๑๐๐ กว่าปีก่อน แม่น้ำเอยาวดีได้ถูกแปรสภาพให้เป็นเส้นทางลำเลียงกองกำลังทหารของอังกฤษ ผู้หมายมั่นปั้นมือว่าว่าจะครอบครองแผ่นดืนเหนือริมฝั่งเอยาวดี ภายหลังเมื่อแม่น้ำกลายเป็นชนวนอันนำผู้คนไปสู่สงคราม อังกฤษก็ได้กลายเป็นเจ้าอาณานิคมเหนือริมฝั่งเอยาวดีสมใจ แต่ก็นั้นแหละด้วยความเป็นเผด็จการของผู้นำพม่าหลายยุคหลายสมัย เรื่องเล่าริมฝั่งเอยาวดีเรื่องนี้จึงถูกทำให้เลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนในพม่า และยังมีเรื่องเล่าอันไม่น่าฟังอีกหลายเรื่อง ภายหลังการเข้าครอบครองของเจ้าอาณานิคม เรื่องที่ต้องป้องปากกระซิบกันก็คือ ภายหลังการเข้าครอบครองของเจ้าอาณานิคมทัรพยากรจำนวนดิน-แร่ พลอย ป่า-ไม้สัก จำนวนมากถูกเจ้าอาณานิคมนำกลับไปใช้ประโยชน์

หลังสิ้นยุคของเจ้าอาณานิคมเก่า เมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษผู้เป็นเจ้าอาณานิคมเก่า จากนั้นไม่นาน พม่าก็ได้มีโอกาสต้อนรับเจ้าอาณานิคมใหม่ ผู้ไม่ได้มาพร้อมกับกองกำลังทหารเช่นในอดีต แต่มาพร้อมการร่วมมือทางธุรกิจกับทหารกลุ่มคนที่ได้รับการขนานนามจากนานาประเทศว่า มือเปื้อนเลือดมากที่สุด เจ้าอาณานิคมใหม่มาพร้อมเงินตราอันสามารถทำให้คนไม่กี่กลุ่มในพม่ามีความร่ำรวยขึ้น ภายหลังการเข้าครอบครองของเจ้าอาณานิคม พม่าก็ไม่ได้แตกต่างเมื่อครั้งที่เจ้าอาณานิคมเก่าเช่นอังกฤษเข้าครอบครองเท่าใดนัก ทรัพยากรของพม่าจำนวนไม่น้อยถูกขนถ่ายออกนอกประเทศเป็นว่าเล่น สุดท้ายยังไม่มีผู้ใดรู้แน่ชัดว่า หากคิดเป็นจำนวนเงินที่ถูกดึงออกไปจากสองฝั่งของแม่น้ำเอยาวดีแล้วเป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใดต่อปี

แต่ก็นั้นแหละในสิ่งที่เราไม่เคยได้รับรู้ก็มีสิ่งใหม่ให้รับเราได้รับรู้เพิ่มขึ้น ภายหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษ แผ่นดินริมฝั่งเอยาวดีทั้งสองฝั่ง ก็เดินทางไปสู่สนามรบอันไม่รู้จบสิ้นมาถึงปัจจุบัน

การปกครองภายใต้คอมแบตบนริมฝั่งเอยาวดี ไม่อนุญาตให้ผู้คนกลุ่มใดตัดเฉือนสหภาพพม่าออกเป็นสหพันธรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้คอมแบตอันทรงพลานุภาพยิ่งใหญ่ ในปี ๒๕๓๑ การลุกฮือครั้งใหญ่ของผู้คนริมฝั่งเอยาวดีจึงเกิดขึ้น การลุกฮือขึ้นในครั้งนั้นล้วนหมายยกคอมแบตออกจากการปกครองอันเป็นอยู่ยาวนาน เหตุการณ์ในครั้งนั้นจึงกลายเป็นความทรงจำอันหลากหลายให้กับผู้คนริมฝั่งเอยาวดี

เรื่องเล่าจากริมฝั่งเอยาวดีในปี ๒๕๓๑ จึงเป็นเรื่องเล่าอันเต็มไปด้วยความเจ็บปวด คราบน้ำตา ภายใต้การปกครองของคอมแบต ผู้คนจำนวนมากริมฝั่งเอยาวดีที่ลุกฮือขึ้นต่อต้าน บางคนถูกจองจำ บางคนกลายเป็นศพลอยอืดในเอยาวดี บางคนสูญหายไม่เหลือร่องรอยใดไว้ให้ผู้คนได้เห็นอีก

ภายหลังการลุกฮือ และมีผู้คนล้มตายในครั้งนั้นทำให้บางคนนึกถึงคำพูดของคนเฒ่าคนแก่ที่คอยย้ำเตือนลูกหลานแห่งริมฝั่งน้ำอยู่เสมอ ผู้เฒ่ารุ่นเก่าก่อนใช้แม่น้ำเอยาวดีเป็นเครื่องเตือนใจลูกหลานให้สามัคคีกันประดุจสายน้ำ เพราะแม่น้ำเอยาวดีกำเนิดเป็นแม่น้ำสายใหญ่ด้วยแม่น้ำสาขาหลายสายเช่นกันสหภาพพม่ากว้างใหญ่ได้ก็เพราะคนหลายเผ่าพันธุ์เช่นกัน แต่เรื่องเล่านี้หาได้ทะลุไปสู่หูข้างใดข้างหนึ่งของเผด็จการทหารพม่าไม่ ท้ายสุดการบุกเข้ายึดครองเพื่อกลืนความหลากหลายจึงเกิดขึ้น

เมื่อเผด็จการภายใต้การปกครองของคอมแบตยึดพื้นที่หลายส่วนไว้เด็ดขาด การกอบโกยเพื่อตัวเองของเหล่านักรบสวมคอมแบตจึงเกิดขึ้น นักรบสวมคอมแบตหลายคนกลายเป็นผู้ร่ำรวย แต่ประชาชนพลเรือนริมฝั่งเอยาวดีผู้อยู่ใต้การปกครอง บางคนยังจนไม่มีแม้กระทั่งข้าวกินครบ ๓ มื้อ บางคนกลายเป็นคนพลัดถิ่นในแผ่นดินเกิดของตัวเอง

ลุมาถึงปี ๒๕๕๐ ที่ริมฝั่งเอยาวดีมีเรื่องเล่าอันน่าสะพรึงกลัวเรื่องหนึ่งเกิดขึ้น ในสายฝนพรำของเดือนกันยายน หลังแถวของพระสงฆ์นับหมื่นเดินลงสู่ถนน เพื่อประท้วงการขึ้นค่าน้ำมัน และค่าก๊าช อันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ผู้คนได้ใช้ประโยชน์ของมันเพื่อสนองความสะดวกสบายของตัวเอง เสียงปืนที่ริมฝั่งเอยาวดีก็ดังขึ้นอีกครั้ง

ในสายฝน เลือดจำนวนไม่น้อยจึงไหลรวมกับสายฝนสู่เอยาวดี ความเศร้าริมฝั่งเอยาวดีได้ถูกนำกลับมาเล่าอีกครั้ง การเล่าถึงความเศร้าในครั้งนี้คงไม่ใช่การเล่าครั้งสุดท้าย ตราบใดที่เหล่านักรบสวมคอมแบตยังคงเชิดหน้าชูคอล้อลมเหนือริมฝั่งเอยาวดี ตราบนั้นเรื่องเล่าถึงความเศร้าในการสูญเสียจากการลุกฮือขึ้นต่อต้านจะยังคงมีอยู่ไปตราบนานเท่านาน...

บนโลกใบเดียวกัน
แผ่นดินระอุเดือดด้วยเปลวไฟในใจคน
ยอดดอยจึงหม่นเศร้า
หลังลมหนาวแห่งสายฝนพัดเยี่ยมเยือน
เสียงปืนสงบเงียบลงแล้วเหนือริมฝั่งเอยาวดีที่ล่องไหล
ในความงามของแผ่นดิน
ล้วนหมุดหมายการเติบโตของมวลเมล็ดพันธุ์
ในความงดงาม-เท่าเทียมของผู้คน
ล้วนหมุดหมายคือร้างไร้การทุบตี-เข่นฆ่า
สายน้ำ และผืนดินไม่เคยแบ่งแยกผู้ใด
มนุษย์ต่างหากที่สร้างกฎเกณฑ์เพื่อแบ่งแยก
มนุษย์ต่างหากที่สร้างกฎเกณฑ์เพื่อทำลายล้าง
ทิ้งอาวุธในมือแล้วปลอดปล่อยการลุกฮือของความงามในหัวใจให้ลุกโชน
กลบฝังความทรงจำอันโหดร้ายด้วยดอกไม้สีขาว
-จดจำเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในใจ
เพื่อปลอดปล่อยให้นกพิราบเดินทางสู่สันติ..

***คารวาลัยให้กับเสรีภาพเหนือริมฝั่งเอยาวดีอันดับลงภายใต้การปกครองของนักรบสวมคอมแบต

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…