Skip to main content

เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    
ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะโดยมากการแบ่งแม่น้ำเป็นเส้นพรมแดนนั้น ล้วนแต่ผู้มีอำนาจไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางการเมือง อำนาจทางการปกครองแบ่งให้แทบทั้งสิ้น

มีบางคนเคยถามผมว่า ขณะมายืนอยู่ริมแม่น้ำรู้สึกยังไงที่ข้ามแม่น้ำไปไม่ได้?
ผมไม่ตอบ เพียงแต่ชี้ชวนให้เขาดูนกที่กระพือปีกบินข้ามแม่น้ำไปยังอีกฝั่ง

บางครั้งมันก็เป็นสิ่งที่ตอบได้ยากเช่นกันว่า เราคิดเช่นไร แต่หากมองด้วยมุมที่หลากหลาย เราจะไม่เห็นความดีของการใช้แม่น้ำเป็นเส้นพรมแดนเลยหรือ แน่ละบางทีการใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน การไปมาหาสู่กันระหว่างผู้คนที่อยู่คนละฝั่งน้ำจะง่ายกว่าการที่เราต้องเดินข้ามแผ่นดินไปหากัน เพราะบนแผ่นดินกับดักสามารถวางได้ง่ายกว่า

20080528

ใช่ว่าการใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดนสมมติจะมีแต่เรื่องดี เรื่องร้ายก็ยังมีให้ปรากฏ เพราะบ่อยครั้งเช่นกันที่แม่น้ำอันเป็นเส้นแบ่งพรมแดนได้พาผู้คนข้ามเส้นขอบแดนไปสู่หายนะ ไม่ว่าจะเป็นการอับปางลงของเรือเดินทะเล การลักลอบขนผู้คนอีกฝั่งน้ำข้ามมายังอีกฝั่งน้ำเพื่อชีวิตที่ดีกว่า แต่สุดท้ายก็กลายเป็นว่าชีวิตที่ดีกว่าคือการเดินทางไปสู่วันสุดท้ายของชีวิต

ในสายตาของเด็กๆ ยามที่พวกเขาเริงร่าอยู่ตามหาดทรายชายฝั่งแม่น้ำ เขาเหล่านั้นจะจินตนาการถึงเส้นพรมแดนที่เขาเองไม่อาจก้าวข้ามไปได้นั้นในรูปแบบใด มันคงเป็นเรื่องยากยิ่งที่ผู้ใหญ่จะสามารถรับรู้ได้

หากลองมองย้อนกลับไปดูเบื้องหลังการแบ่งแม่น้ำออกเป็นฝักฝ่าย แม่น้ำบ้างสาย เช่น แม่น้ำโขงหรือแม่น้ำสาละวิน คนท้องถิ่นล้วนไม่มีส่วนร่วมในการแบ่งแม่น้ำให้แก่กันและกัน แต่แม่น้ำในมุมมองของคนสองฝั่งน้ำกลับหมายถึงพื้นที่ในการหาอยู่หากินร่วมกัน แล้วแม่น้ำในความหมายของผู้แบ่งเส้นพรมแดนละคือสิ่งใดกัน

เบื้องหลังการแบ่งแม่น้ำโขงออกเป็นสองฝั่งของเจ้าอาณานิคมเช่นฝรั่งเศส หากเราย้อนมองกลับไปดูจะพบว่า การแบ่งเช่นนี้ล้วนเพื่อการปกครองที่ง่ายขึ้น และเพื่อกอบโกยเอาผลประโยชน์แทบทั้งสิ้น

หลังการแบ่งผู้คนออกเป็นสองส่วน การข้ามเส้นพรมแดนมาเจอกันจึงเป็นเรื่องยาก และในการข้ามเส้นพรมแดนมาเจอกัน กฎหมายเพื่อการกดขี่จึงปรากฏรูปโฉมอันชั่วร้ายของมันขึ้นมา มันจะมีประโยชน์อันใดเล่าหากเราคิดแบ่งแม่น้ำแล้วสร้างพรมแดนสมมติขึ้นมาเพื่อกดขี่ผู้คนด้วยกัน

เมื่อแม่น้ำถูกทำให้เหมือนพรมแดนแผ่นดิน คนกับคนจึงถูกตัดแบ่งออกจากกัน แต่ใช่ว่าผู้คนท้องถิ่นจะเป็นดั่งวิถีทางที่ผู้มีอำนาจอยากให้เป็น คนล้านช้างยังคงสัมพันธ์กับคนล้านนา คนเวียงจันยังคงเป็นพี่น้องกับคนอีสาน คนริมน้ำกระบุรีที่ระนองยังคงเป็นพี่น้องกับคนอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ คนไทเลยริมน้ำเหืองยังคงเป็นพี่น้องกับคนเมืองแก่นท้าว-ปากลาย

แม้ว่าชนชั้นปกครองจะแบ่งผู้คนออกเป็นสองฝากได้ แต่สิ่งที่ชนชั้นปกครองไม่สามารถแบ่งได้คือวัฒนธรรมของผู้คนสองฝากฝั่งแม่น้ำ ถึงแม่น้ำจะเป็นเหมือนเส้นพรมแดนดินอย่างไรก็ตาม แต่วัฒนธรรมของผู้คนบนเส้นพรมแดนสมมติยังคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแนบแน่นและยาวนาน และที่นอกเหนือไปกว่านั้น มันยากยิ่งที่จะแบ่งวัฒนธรรมของผู้คนคุ้นเคยออกจากกันอย่างสิ้นเชิง
 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’