Skip to main content

จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน

“ทองปาน” นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในหลายร้อยหลายพันตัวอย่างของผู้คนที่ต้องอพยพภายหลังการสร้างเขื่อน

องอาจ โพนทอง ผู้ได้รับบทเป็นทองปานจากภาพยนต์สารคดี ๑๖ มม. เรื่อง ‘ทองปาน’ เมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน (จัดสร้างโดย lsan film : mike morrow กำกับการแสดงโดยไพจง ไหลสกุล สุรชัย จันทิมาธร ยุทธนา มุกดาสนิท รัศมี เผ่าเหลืองทอง) เขาได้พูดบอกนักศึกษาคนหนึ่งที่เดินทางไปจังหวัดเลย เพื่อชวนชาวบ้านมาร่วมงานสัมมนาเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนผามองที่จะสร้างเพื่อกั้นแม่น้ำโขงไว้ว่า เขาอพยพมาจากพื้นที่สร้างเขื่อนลำปาวในจังหวัดกาฬสินธุ์ หากจับใจความคำพูดของทองปานในเรื่องการอพยพของเขา พอจะบอกเป็นนัยๆ ได้ว่า ในยุคสมัยก่อนเมื่อประเทศไทยเริ่มลงมือก่อสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และปั่นเป็นไฟฟ้า รวมทั้งในการชลประทาน ชาวบ้านผู้อยู่ในพื้นที่ของการก่อสร้างไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐเลยแม้แต่น้อย

ขณะเมื่อได้ฟังการสนทนาผ่านจอแก้วของท่านผู้นำในเรื่องการสร้างฝายแม้ว (Check Dam ตามที่ท่านผู้นำบอกเราคือเขาะกั้นน้ำไว้และดันให้น้ำถอยหลังไปสู่ท่อหรือคอลงน้ำที่ขุดไว้ จากนั้นน้ำก็จะไหลไปตามท่อสู่เป้าหมายปลายทาง) ที่จะมีการก่อสร้างถึง ๓ แห่งบนแม่น้ำบนพรมแดนไทย-ลาว และดูเหมือนว่าฝายบ้านกุ่มจะมีความก้าวหน้ากว่าที่อื่น เพราะในตอนนี้อยู่ในขั้นตอนเซ็นสัญญาในการทำการศึกษากันไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากจะพุดเรื่องการทำฝายแม้วแล้ว ท่านผู้นำของเรายังได้พูดถึงเรื่องการผันน้ำจากแม่น้ำโขงมาสู่ภาคเกษตรของภาคอีสาน เมื่อได้ฟังทำให้หวนคิดถึงภาพยนต์เรื่องทองปาน

จากคำพูดของท่านผู้นำที่บอกว่า หลังสร้างฝายน้ำจะท่วมหมู่บ้านทางฝั่งลาว ๗ หมู่บ้าน ฝั่งไทยอีก ๒ หมู่บ้าน สิ่งที่ท่านผู้นำพยายามบอกเราไม่หมดก็คือว่า แล้วหมู่บ้านที่น้ำท่วมนั้น เราจะช่วยเหลือเขายังไง แต่สิ่งที่ท่านผู้นำพยายามย้ำกับเรา –ท่านผู้ชมคือ ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องสร้างฝายบ้านกุ่ม และฝายอื่นๆ บนแม่น้ำโขงให้ได้ เพราะเราจะมีน้ำใช้ในภาคอีสานตลอดปี ทำไมท่านผู้นำต้องเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ คำถามนี้คงมีคำตอบภายหลังเมื่อฝายสร้างเสร็จ ว่าทำไมท่านผู้นำของเราต้องเร่งรีบที่จะดำเนินการในเรื่องนี้

ในกระบวนการที่กำลังเกิดขึ้นในเรื่องของการสร้างฝาย (เขื่อนนั้นแหละ แต่ท่านผู้นำหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่าเขื่อน จึงใช้คำว่าฝายแทน) บทเรียนที่ชาวบ้านคนท้องถิ่นผู้อยู่ในพื้นที่การก่อสร้างจะได้รับก็คงซ้ำรอยกับทองปาน แม้ว่าเขาจะกล้าพูดเพียงใด แต่สุดท้ายคำพูดของคนท้องถิ่นก็คงไม่มีความหมาย

๓๐ กว่าปีผ่านไป การก่อสร้างเขื่อนผามองได้ถูกเก็บม้วนลงเงียบๆ แต่โครงการเขื่อนอื่นๆ บนแม่น้ำโขงกลับเร่งรุดเร่งรีบดำเนินการไปหลายต่อหลายเขื่อน แม้ว่าในตอนนี้เราจะมีคนอย่างทองปานอยู่มากเพียงใดก็ตาม แต่หากว่าท่านผู้นำลงฟังเสียงของคนอย่างทองปานบ้าง อย่าเพียงแต่คิดว่า คนที่คิดที่พูดเหมือนทองปานจะเป็นตัวถ่วงความเจริญเพียงอย่างเดียว บางทีสิ่งที่ท่านผู้นำจะได้อาจมากกว่าการได้รู้จักตัวตนของทองปานก็เป็นได้

20080606 sumart
แผ่นวีซีดีภาพยนตร์เรื่องทองปานที่ถูกแปลงจากม้วนหนังขนาด ๑๖ มม.
จัดทำโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์

นอกเหนือการสนทนาผู้เดียวของท่านผู้นำที่พูดเรื่องการสร้างฝายกั้นน้ำโขงแล้ว ท่านผู้นำยังใจดีพูดให้เราฟังถึงโครงการเมกกะโปรเจ็ต ในนามโครงการผันน้ำในลุ่มน้ำโขงไปสู่แม่น้ำและอ่างเก็บน้ำสายต่างๆ ของภาคอีสาน เพื่อพลิกแผ่นดินอีสานให้กลายเป็นภูมิภาคชุ่มน้ำ

จังหวัดชุ่มน้ำแรกสุดของภาคอีสานที่จะเกิดขึ้นคือจังหวัดเลย ที่อำเภอเชียงคานโดยตัวโครงการนั้นคือการผันน้ำโขงเข้ามาน้ำเลย และส่งต่อไปยังจังหวัดอุดร เพื่อลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ คำถามที่ตามาคือ ทำไมต้องลงที่อุบลรัตน์ น้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ไม่พอใช้กระนั้นหรือ

และหากเป็นความจริงที่ท่านผู้นำยอมรับคือ เมื่อจะทำโครงการแบบนี้ เราต้องมีผู้เสียสละ คนที่เสียสละก็คือคนอย่างทองปาน ชาวบ้านตาดำๆ ผู้อยู่นอกขอบของความเจริญ มันไม่ได้มีตรรกะอย่างอื่นให้มองได้อีกเลยว่า ท่านผู้นำของเราจะเห็นใจคนอย่างทองปาน เพราะสมัยหนึ่ง ท่านผู้นำของเราเคยสั่งให้เทศกจรื้อข้าวของที่สมัชชาคนจนหอบหิ้วมาจากบ้าน เพื่อมาปักหลักชุมนุมบอกกล่าวความเดือนร้อนจากการสร้างเขื่อนของตัวเองให้สาธารณชนได้รับรู้ที่หน้าทำเนียบ ในครานั้น น้ำตาของชาวบ้านผู้ไม่ต่างจากทองปานหลายคนอาบใบหน้า

ท่านผู้นำครับ เรายังไม่พอใจอีกหรือครับที่เห็นคนส่วนใหญ่คล้ายทองปานเขาเดือนร้อน ท่านยังจะซ้ำเติมพวกเขาไปถึงไหนกัน ระวังนะครับหากว่าเมื่อไหร่ที่ทองปานหลายๆ คนซุ่มฝึกมวยเอาไว้ใช้ต่อสู้บนสังเวียน และคู่ต่อสู้ของเขาเหล่านั้นจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากท่านผู้นำนั่นเอง

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’