Skip to main content

สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง


ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง


หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง หากเป็นหนังที่พูดถึงเรื่องราวแม่น้ำโขงโดยตรงนั้น เรื่องแรกคงหนีไม่พ้น ‘ทองปาน’ หนังกึ่งสารคดีที่ถูกจัดสร้างขึ้นมาเมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน


ในหนังเรื่องทองปานได้กล่าวถึงแม่น้ำโขง และชาวโขงเอาไว้บนบทบาทของผู้ถูกกระทำ หรือถ้าหากจะให้เข้ากับยุคสมัยในช่วงนั้นก็ต้องบอกว่า หนังเรื่องทองปานได้ฉายภาพของคนตัวเล็กตัวน้อยที่ซ่อนอยู่ในซอกหลืบของสังคม และเขาเหล่านั้นก็คือผู้ได้รับความเจ็บช้ำ ได้รับการกดขี่ข่มเหงจากการกระทำของรัฐเป็นเบื้องต้น และเป็นเหตุผลใหญ่ที่หนังได้สื่อให้เราผู้ดูได้รู้ว่า รัฐได้กระทำอะไรกับคนตัวเล็กตัวน้อยเหล่านี้บ้าง


ผมเองหลังจากดูหนังเรื่องนี้จบรู้สึกถึงความอิ่มบางอย่างที่น่ายินดี ทองปานในฐานะหนังเมื่อ ๓๐ ปีก่อนกลับมาร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในยุคที่ผู้นำของรัฐปากไว และปาก_มาเอาการ


หนังเรื่องต่อมาคือเรื่อง ‘สตรีเหล็ก’ ภาพที่หนังได้สื่อสารกับเราคือ ภาพของทีมนักกีฬาวอลเล่ย์บอลกลุ่มหนึ่งเดินทางไปตามหาเพื่อนที่เมืองจีน โดยภาพที่ปรากฏออกมาอาจทำให้คนที่ไม่เคยไปเชียงแสน จังหวัดเชียงรายจินตนาการถึงการเดินทางของพวกเขาได้ยาก แต่หากคนที่เคยไปคงจินตนาการได้ไม่อยาก เมื่อดูหนังจบผมเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า อะไรที่หนังต้องการบอกเราเกี่ยวกับเรื่องนี้


ตัวหนังเองอาจไม่ได้เน้นหนักในเรื่องของการเดินทางของนักกีฬากลุ่มนี้เท่าที่ควร หากดูผ่านๆ แต่เมื่อลองคิดดู ผมก็พบว่า หนังได้พยายามบอกเราว่า ในโลกนี้เราต่างเดินทางไปหากันและกันได้ด้วยหลายเหตุผลในการเดินทาง และหลายวิธีการ แต่ทำไมนักกีฬากลุ่มนี้จึงเลือกที่จะเดินทางด้วยเรือ แล้วเรือไปถึงประเทศจีนมีอยู่จริงไหม


คำตอบของคำถามอาจไม่ตรงใจคนทำหนังมากนัก การเดินทางด้วยเรือไปสู่จีนตอนใต้เป็นเรื่องของการที่หนังพาเราเดินทางไปรู้จักประเทศจีนอย่างช้าๆ เพราะเรือไปได้ไม่เร็วนัก และที่สำคัญเรามักได้ยินคำว่าช้าๆ ได้พร่าเล่มงาม วลีนี้อาจเป็นจริงก็ได้ แต่ในมุมกลับที่หนังไม่ได้สื่อสารต่อคนดูคือ ทำไมนักกีฬากลุ่มนี้จึงเดินทางจากเชียงแสนด้วยเรือไปสู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนได้ง่ายนัก ในเรื่องนี้เมื่อเรามองให้ถี่ถ้วน เราจะพบว่าแม่น้ำโขงในทางตอนบนได้มีการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำ เพื่อให้เรือขนาดระวางบรรทุก ๑๕๐ -๓๐๐ ตันวิ่งไปมาในแม่น้ำได้สะดวกแล้วนั่นเอง นักกีฬากลุ่มนี้จึงเดินทางไปสู่ตอนใต้ของประเทศจีนโดยไม่มีอุปสรรคทางน้ำมาขวางกั้น


แม้ว่าภาพของแม่น้ำโขงในหนังเรื่องนี้จะมีอยู่ไม่มาก แต่ตัวหนังเองก็ได้ฉายภาพให้เราได้เห็นอีกบ้างด้านของแม่น้ำโขงเช่นกัน


หนังอีกเรื่องที่ฉายภาพชาวโขง และแม่น้ำโขงบนแผ่นฟิล์มให้เราได้ตรึงตาตรึงใจคงหนีไม่พ้นหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หนังเรื่องนี้ได้ฉายภาพความเชื่อของผู้คนอันถือได้ว่าเป็นต้นธารของความเชื่อทั้งหมดของผู้คนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ความเชื่อที่ว่าคือเรื่องราวเกี่ยวกับพญานาค ผู้ทำลูกไฟประหลาดพุ่งขึ้นกลางลำน้ำในคืนวันเพ็ญ เดือน ๑๑ อะไรทำให้หนังเรื่องนี้น่าดู มองในมุมผมแล้ว สิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้น่าดู อาจเป็นเพราะหนังได้สื่อสารกับเราด้วยเรื่องราวง่ายๆ แม้ว่าบ้างช่วงจะเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ แต่การทำวิทยาศาสตร์ให้เป็นเรื่องเข้าใจง่ายนั้นยากจริงๆ และการทำความยากให้ง่ายนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด แม้ว่าในตอนจบของหนังไม่ได้บอกกับเราว่า ลูกไฟประหลาดในคืนเพ็ญนั้นเกิดจากอะไรกันแน่ หนังจบด้วยการให้เราไปคิดต่อ การจบเช่นนี้อาจเป็นเรื่องทั่วไปที่หนังหลายๆ เรื่องมี แต่ในหนังเรื่องนี้ทางคนสร้างเองคงไม่อยากไปหลบหลู่ดูหมิ่นความเชื่อของผู้คนมากนัก เพราะคนสร้างหนังเองก็คงเข้าใจได้ดีในเรื่องนี้ เขาจึงได้ใส่วลีเด็ดที่เขาต้องการสื่อออกมาคือ ‘เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ’ ลงไปในหนังด้วย


หนังเรื่องล่าสุดที่ผมได้ดูมาคือ สบายดีหลวงพระบาง (สบายดีในภาษาลาวแปลเป็นไทยคือ สวัสดี) หนังเรือนี้ได้ฉายภาพหลายอย่างให้เราเห็นทั้งในแง่มิติความสัมพันธ์ของคนสองฝั่งน้ำ ทั้งในแง่ของศิลปวัฒนธรรม แต่ผมแปลกใจอยู่นิดหนึ่งวันที่ผมไปดูนั้นคนในโรงหนังบางตาจนน่าตกใจ แต่พอหนังจบหลายคนเดินออกมาด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม


ขณะดูหนังเรื่องนี้ผมเพิ่งกลับมาจากลาวใต้ ความรู้สึกอินอย่างประหลาดจึงเกิดขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย หลายเรื่องที่หนังฉาพภาพให้เราเห็นคือการมีอยู่จริงแทบทั้งหมด ปลาที่คนหาปลาเก็บออกจากตาข่ายดักปลานั้นไม่ได้สร้างขึ้นมา แต่มันมีอยู่จริง เพราะลาวใต้คือบ้านปลาเมืองปลา


บางคนเมื่อดูแล้วอาจเกิดคำถามว่าทำไมฉากในหลวงพระบางจึงมีน้อย ผมเดาเอาว่านี่อาจเป็นจุดขายจุดหนึ่งที่ทางลาวอยากให้เราไปดูด้วยตาว่าหลวงพระบางนั้นเป็นอย่างไร เขาจึงไม่ได้ใส่สิ่งที่เราอยากจะเห็นทั้งหมดลงไปในเนื้อในหนังอย่างที่ควรจะเป็น


สบายดีหลวงพระบางบอกอะไรเราบ้าง สำหรับคนที่จะไปดู เผือใจเอาไว้สักนิดว่า ฉากบางฉากที่อยากจะเห็นเราอาจไม่ได้เห็น เพราะท่านต้องเดินทางไปดูด้วยตัวเองอย่างที่กล่าวมา


หนังที่ผมยกตัวอย่างมา และเรื่องเล่าที่ผมได้เล่ามาคงเป็นเพียงเรื่องราวที่ผมพอหาได้ แต่สิ่งสำคัญในหนังเหล่านี้ที่ผมสันนิษฐานเอาเองว่า ตัวหนังคงอยากจะบอกเราถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงเวลาของผู้คนแห่งแม่น้ำโขง และเรื่องราวของแม่น้ำโขงบางช่วงบางตอน ชาวโขงในโรงหนังจึงไม่ใช่เรื่องราวของความเป็นมายาในโลกมายาเท่านั้น แต่หากว่าชาวโขงในโรงหนัง มันคือความจริงที่เกิดขึ้นบนสายน้ำที่มียาว ๔,๙๐๙ กิโลเมตรนั่นเอง


บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’