Skip to main content

พอสืบสาวลงไปถึงพลวัตระหว่าง เจ๊ก/จีน กับมุสลิม/แขก ที่มีต่อสังคมไทย/สยาม ก็ดูเหมือนว่าจะมีอะไรเหมือนๆ กัน ภายใต้การเมืองวัฒนธรรมของการสร้างสังคมก่อน-หลังรัฐชาติ

ตั้งแต่ทำเนียบศักดินาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปรากฏทำเนียบตำแหน่งขุนนาง ซึ่งในชั้นหลังเรียกว่า "กรมท่าขวา" มี "พระจุลาราชมนตรี" เป็นหัวหน้าฝ่ายแขก คู่กับ "หลวงโชฎึกราชเศรษฐี" หัวหน้าฝ่ายจีน

กระทั่งกระแสหวาดกลัวจีนอพยพ (Sinophobia) ปรากฏผ่านวรรณกรรม ยิวแห่งบูรพาทิศ ของรัชกาลที่ 6 และงานวรรณกรรมร่วมสมัยที่สะท้อนภาพลักษณ์ในทางลบแก่ชาวจีนอพยพในสยาม/ไทย และค่อยเบาบางลงเรื่อยมา ภายใต้กรอบความคิดที่ว่า คนจีนที่ดีในสังคมสยาม/ไทยก็เป็นได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเช่นว่า เป็นการอยู่อาศัยใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เป็นต้น กระนั้น กระแสต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็นได้เข้ามามีบทบาทต่อภาพลักษณ์ชาวจีน ที่เกิดจากความกลัวว่าชุดความคิดคอมมิวนิสต์แบบจีนจะแพร่ขยายมายังสังคมไทย

ต่อมาในต้นศตวรรษที่ 21 เหตุการณ์ 9/11 ได้ก่อให้เกิดกระแสหวาดกลัวมุสลิม/อิสลาม (Islamophobia) ตามมาด้วยการปะทุเหตุความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี 2547 กลายเป็นการประทับตรา/ตอกย้ำกระแสหวาดกลัวมุสลิม/อิสลามให้แก่สังคมไทย จนถึงทุกวันนี้

คลื่นประวัติศาสตร์สังคมไทย แสดงให้เห็นว่าจีน/เจ๊กกับแขก/มุสลิม ไม่ได้หายไปไหน ทั้งในฐานะความมั่งคั่งและความกลัว

ในเอกสารประกอบการสัมมนา เจ๊กและแขกกับสังคมไทย พินิจปัญหาคนไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูจากประสบการณ์คนไทยเชื้อสายจีน โดย อ.เกษียร เตชะพีระ ได้นำเสนอถึงตอนหนึ่งในบทความไว้ได้น่าสนใจ กรณีที่ อ.เกษียร ได้รับทราบถึงวิถีชีวิตของ นพ.แวมาหะดี แวดาโอ๊ะ หรือหมอแว ว่าครอบครัวของหมอแวโดยผู้เป็นพ่อนั้น ไม่รู้ภาษาไทย แต่เข้าใจภาษามลายูดี ประกอบอาชีพขายปาท่องโก๋ จนสามารถส่งเสียลูกๆ ทั้ง 8 คน ให้มีการศึกษา ประกอบอาชีพที่ดีได้ แต่เมื่อพ่อของหมอแวไปรับบริการจากโรงพยาบาลรัฐ กลับถูกเจ้าหน้าที่ต่อว่า ว่าเป็นคนไร้การศึกษา

หมอแวยังอธิบายว่าตนในวัย 7 ขวบ หลังเสร็จจากการเรียนจากโรงเรียนสามัญช่วงจันทร์ถึงศุกร์ หมอแวก็ต้องเข้าเรียนตาดีกา ซึ่งสอนเกี่ยวกับอิสลามและภาษามลายู หมอแวได้ตั้งความสงสัยต่อตนเองในช่วงเวลานั้นว่าตกลงแล้ว การที่แกต้องเรียนถึง 7 วัน เป็นความผิดของพ่อหรือกระทรวงศึกษาธิการ ?

อีกทั้ง หมอแวยังได้อธิบายเมื่อครั้งที่ตนเป็นหมออยู่ในแผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ มีโต๊ะครูจะเข้าไปอาซานที่ข้างหูให้ลูกของเขาตามประเพณีความเชื่อแบบอิสลาม หลังภรรยาเขาทำการคลอดเสร็จ แต่พยาบาลไม่อนุญาต หลังจากนั้น โต๊ะครูคนดังกล่าวจึงไม่พาภรรยาของตนมาทำคลอดที่โรงพยาบาลอีกเลย หมอแวได้ตั้งคำถามต่อสถานการณ์นั้นว่า ตกลงแล้วใครผิด ระหว่างประชาชนกับนโยบายของรัฐบาลที่ไม่สอดรับกับประเพณีชุมชน ?

จากเรื่องราวของหมอแวนี้เอง ทำให้ อ.เกษียร นึกถึงเรื่องราวของตนในวัยเด็ก ทั้งกรณีที่พ่อของ อ.เกษียรที่ไม่รู้ภาษาไทย ถูกเจ้าหน้าที่รัฐต่อว่าเมื่อไปติดต่อราชการ การที่ อ.เกษียรถูกบังคับให้เรียนภาษาจีนในช่วงค่ำหลังเลิกเรียน หากไม่เรียนก็จะถูกเฆี่ยนจนขาลาย

วิถีของความเป็นแขก/มุสลิม(ในที่นี่ถูกอธิบายผ่านบริบทคนมลายู) กับความเป็นจีน/เจ๊ก จึงเป็นดั่งภาพสะท้อนซึ่งกันและกันในฐานะคนที่ไม่ใช่คนในตั้งแต่แรก พวกเขาต่างเป็นคนอื่นที่มาจากแผ่นดินที่แสนไกล (ในที่นี่รวมทั้งมุสลิมที่ถูกเข้าใจในฐานะแขกเนื่องจากเป็นมุสลิมยุคแรก) กับคนอื่นที่ถูกผนวกจากแผ่นดินที่ไม่ไกล (คนมุสลิมในบริบทสังคมมลายู)

อย่างไรก็ตาม ความเป็นสยาม/ไทยที่เพิ่งสร้าง ก็ได้สร้างสำนึกของคำจำกัดความที่สำคัญประการหนึ่งขึ้นมา

สำนึกของความเป็นสยาม/ไทยที่มาจากวาทกรรมต่าง ๆ ไม่ว่า 'หากสยามยังอยูู่ยั้งยืนยง เราก็เหมือนอยู่คงชีพด้วย' 'เราไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร' หรือ 'ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด' ก็ตาม

รวมรบ ร่วมหลั่ง ร่วมคลั่ง ร่วมสร้าง จึงเหมือนเป็นเรื่องตกทอดที่ผู้แบกรับความเป็นสยาม/ไทยที่เพิ่งสร้าง ต่างมีวาระร่วมกัน และมันพร้อมจะขจัดความเป็นอื่นที่ขัดต่อค่านิยมความเป็นไทยที่เปิดเผย

ฉะนั้น หากคุณเป็นมุสลิม คุณต้องระวังเรื่องการวิพากษ์ละคร'ออเจ้า' ด้วยเหตุที่ว่าละครออเจ้ามีอัตลักษณ์ที่สำนึกความชาติที่เพิ่งสร้างในตัวเราทั้งหลายหนุนเสริมอยู่ ว่าขัดกับความเชื่อในอิสลามอย่างไรในที่สาธารณะ เพราะมันจะทำให้ภาพของมุสลิม/อิสลามไม่ดี แม้ว่าจะเป็นการบอกคนมุสลิมด้วยกันเอง ไม่ได้มีเจตนาหักห้ามการกระทำของต่างศาสนิกก็ตาม

จึงเห็นได้ว่าประวัติศาสตร์ได้สร้างผลผลิตที่สำคัญแก่จีน/เจ๊ก กับแขก/มุสลิมคือ การมีตัวตนอยู่ในฐานะคนนอกที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร, พึ่งแผ่นดินเขาอยู่ จะอยู่ให้ได้ก็ต้องทำตัวดีๆ หากกระทำอะไรที่ดูต่างจาก 'เจ้าของแผ่นดิน' ก็จะถูกรังเกียจหรือขับไล่ออกจากแผ่นดินนั้นได้

บล็อกของ Yeed Piriya

Yeed Piriya
จริงๆ คำว่า Buffer idea เป็นคำที่นึกต่อมาจากคำว่า Buffer state ที่เราแปลเป็นไทยกันว่ารัฐกันชน ดังนั้น Buffer idea แปลแบบง่ายๆ ก็คือ ไอเดียกันชน คือเป็นชุดความคิดที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ ทั้งในแง่ความคิดและพฤติการณ์ เป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาเผชิญหน้ากันในนั้นด้วยคุณค่าบางอย่างที่อาจเหมือนหรือต่างกันในร
Yeed Piriya
สมัยที่ผู้เขียนเรียนมหาลัย มีอาจารย์ท่านหนึ่งในคณะเคยเสนอให้ผมลงไปออกแบบการเล่าเรื่องวิธีคิดในการสร้างสันติภาพแก่เด็กนักเรียนผ่านการ์ตูนเรื่องนารูโตะ ตอนนั้นผมยังเข้าใจว่า การ์ตูนเรื่องนารูโตะมันเน้นหนักไปทางปรัมปรา (Mythology) แบบญี่ปุ่น จนเมื่อไม่นานมานี้ ผมเริ่มเข้าใจว่าทำไมอาจารย์ท่านนั้นถึง
Yeed Piriya
ประมาณ10 นาฬิกา ของวันนี้ (2 สิงหาคม 2562) ขณะที่นั่งเลื่อนจอเฟซบุ๊คไปมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ข่าวการพบวัสดุต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นระเบิดตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วบนฟีดข่าว การจับจ้องของอัลกอริทึมเพื่อนำเสนอความตื่นตระหนกดัง
Yeed Piriya
เป็นเรื่องดีไม่น้อยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปีการศึกษานี้ ได้ต้อนรับขับสู้น้องใหม่สงขลานครินทร์ถิ่นตานี ด้วยกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นพหุวัฒนธรรมผ่านสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองปัตตานี โดยจุดสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้น ล้วนมีความสำคัญในฐานะความทรงจำทางวัฒนธรรมของชุมชนและประวัติศาสตร์ใ
Yeed Piriya
พอสืบสาวลงไปถึงพลวัตระหว่า
Yeed Piriya
กระแสสังคมปัจจุบัน มักให้ความสำคัญต่อการหยิบยกความเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทในพื้นที่ต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่ เริ่มเข้ามามีบทบาทในพื้นที่สาธารณะและสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคมมากขึ้น อันที่จริงอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากในหลายช่วงของประวัติศาสตร์คนรุ่นใหม่มักเข้ามามีบทบาทเสมอ เพียงแต่แต