Skip to main content

เป็นระยะเวลาสักพักที่ผู้เขียน (ต่อจากนี้จะแทนตัวเองว่า ‘ผม’) ใช้เวลากับข้อมูลในสังคมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลนักการเมืองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อจัดทำเนื้อหาในการนำเสนอประเด็นทางการเมืองผ่านนักการเมืองในพื้นที่ นับตั้งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ว่ามีประเด็นใดเป็นที่น่าสังเกตเป็นพิเศษ เช่น ส.ส.ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ชุดแรก, ส.ส.ในพื้นที่ที่อายุน้อยที่สุด หรือ ส.ส.คนในพื้นที่ท่านแรกที่เป็นสตรี เป็นต้น ขณะเดียวกัน ผมก็ศึกษาเกี่ยวกับการเมืองที่เกิดขึ้นในโดยเฉพาะการเมืองไทยที่กล่าวได้ว่า สื่อกระแสหลักของยุคนี้คือสื่อสังคมออนไลน์ ในขณะที่ยุคก่อนหน้า คือโทรทัศน์ และย้อนไปถึงหนังสือพิมพ์

 

ภาพรวมหลวม ๆ ของการเมืองไทยบนดิจิทัล

การเมืองกับระบบการสื่อสารเป็นสิ่งที่มีผลต่อกันมาโดยตลอด แม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองเองยังต้องมีการ ‘ตัดสายโทรศัพท์’ ในพื้นที่อย่างพระนครเพื่อตัดการเชื่อมต่อ ตลอดจนเหตุการณ์การประท้วงพฤษภา 2535 ที่มีการเรียกขานกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงว่าเป็น ‘ม๊อบมือถือ’ และอีกหลาย ๆ การชุมนุมประท้วงที่มุ่งเป้าไปยังสถานีโทรทัศน์ หรือแหล่งเชื่อมต่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ จากประวัติศาสตร์ของการต่อสู้และปะทะที่ไม่ค่อยจะสังสรรค์ในการเมืองไทย เหมือนว่าเทคโนโลยีการสื่อสารทางสังคมอย่างอินเทอร์เน็ต มือถือ โทรทัศน์ และวิทยุ ต่างอยู่ในแผนการของยุทธวิธีเพื่อการชิงความได้เปรียบเหนือขั้วตรงข้าม และความรุนแรงจะทวียิ่งขึ้นเมื่อสังคมตกอยู่ในสภาวะที่การเมืองเป็นอนาธิปไตย

การจัดให้มีการเลือกตั้งรัฐบาล ยังพอเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งชี้ว่าสังคมจะไม่ลงเอยด้วยความรุนแรงแบบเบ็ดเสร็จ การประนีประนอมจะยังคงถูกใช้ต่อไปตราบเท่าที่มันมีประสิทธิภาพพอในการต่อรองทางการเมือง หากเราเข้าใจว่าการเมืองในระวัติศาสตร์สังคมไทยมันไม่ค่อยแฟร์เสียส่วนใหญ่ อย่างน้อยก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าหากยังให้มีการเลือกตั้ง หมายความว่าสังคม (โดยเฉพาะสังคมของผู้มีอำนาจ) ยังหาหนทางประนีประนอมโดยยืนอยู่บนหลักของความชอบธรรมบางประการที่แต่ละฝ่ายพึงมีและเคารพร่วมกัน ต่อให้จะเริ่มต้นกฎที่แสนสกปรกปานใด

การเมืองของการตัดสินในโดยชนชั้นนำไทย กระบวนการเลือกตั้งในนามประชาธิปไตยจึงสำคัญระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมสิทธิระหว่างประชาชนกับผู้มีอำนาจในนามของนักการเมืองเข้าด้วยกัน นั่นคือการสร้างตัวแทนเพื่อแสดงประจักษ์พยานของการเลือกข้างของประชาชนที่เชื่อในเรื่องหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง ขณะเดียวกัน การเมืองไทยในยุคอินเทอร์เน็ตก็ดูเหมือนจะทำให้ประชาชนมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ตั้งแต่ตัวแทนของพวกเขา จนถึงชนชั้นนำฝ่ายอื่น

การจัดทำข้อมูลย้อนหลังต่างๆ ขึ้นในรูปแบบฐานข้อมูลเว็บไซต์ จึงเป็นการสร้างช่องทางการตรวจสอบอย่างหนึ่งมีประสิทธิผลในการกระจายการรับรู้ทางการเมืองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ประชาชน (อย่างเว็บไซต์ elect.in.th ) เราพบว่าความพยายามดังกล่าวสามารถสร้างแนวโน้มที่ดีผ่านเครื่อขายบนโลกอินเทอร์เน็ตได้ (และดูเหมือนว่าจะทำได้ได้ดีกว่าองค์กรอิสระโดยรัฐอย่าง กกต.)

กระนั้น พื้นที่สังคมเสมือนอย่างสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างปัญหาทางการเมืองไม่น้อย จากกรณีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯครั้งล่าสุด การชิงชัยระหว่างโดนัล ทรัมป์ กับฮิลลารี่ คลินตั้น แสดงให้เห็นว่าอัลกอริทึม ระบบประมวลผลเพื่อจับข้อมูลตามความสนใจในสื่อสังคมมอนไลน์นั้น ได้เล่นงานบรรดาฐานนักการเมืองและฐานเสียงของแต่ละฝ่ายอย่างย่อยยับ เนื่องจากความสำคัญทางข้อมูลผิดอันก่อเกิดจากระบบประมวลผลดังกล่าว

สำหรับพื้นที่ทางการเมืองไทยเอง ไม่ทราบว่าฝ่ายการเมืองมีการประเมินประสิทธิผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์ไปในทิศทางใด อย่างน้อยคือทุกพรรคมีเพจหลักของพรรค และเพจรอง อาจเป็นเพจสาขา จังหวัด หรือตัวผู้สมัครแต่ละคน โดยส่วนตัวคิดว่าตอนนี้สิ่งที่ชี้นำบรรดาพรรคการเมืองในโลกเสมือนคือ กระแสที่เป็น viral การประดิษฐ์ถ้อยคำ วลี หรือตัวบุคคลที่สร้างปรากฏการณ์คลั่งไคล้ในสำหรับคนบางช่วงวัยในยุคนี้ขึ้นมา จนทำให้ฝ่ายการเมืองเก่าในประเทศนี้เหมือนจะเล่นตามบ้าง แต่ก็เล่นได้ไม่ดีเท่า นั่นเป็นสิ่งฝ่ายการเมืองเก่าไม่ถนัด แต่พวกเขาก็ถนัดกระทำในเรื่องทางอำนาจ เช่น การเลือกใช้กฎหมายเพื่อเอาผิดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกเสมือน เป็นต้น

การเมืองของบัตรเลือกตั้งและสงครามมวลชนที่ชายแดนใต้ในโลกเสมือน

สำหรับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการควบคุมทางกายภาพอย่างการใช้กฎอัยการศึก อันแสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดและเฝ้าระวังทางมั่นคง กลับพบว่าพื้นที่ของสังคมเสมือนจริงเป็นพื้นที่ของการ ‘จับผิด’ มากกว่า ‘เอาผิด’ (ผมยังไม่ทราบว่ามีนักกิจกรรมหรือนักวิชาการคนใดถูกเอาผิดคดีความมั่นคงที่พาดพิงถึงประเด็นความไม่โปร่งใสในการกระทำของรัฐ ณ พื้นที่นี้ บนโลกออนไลน์ ด้วย พรบ.คอมฯ นอกจากกรณีหญิงตาบอดที่ถูกฟ้อง ม.112) โดยปฏิบัติการจับผิดที่ว่ามักเกิดขึ้นโดยเพจจัดตั้งต่างๆ เป็นที่รู้จักในนาม IO หรือเพจปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารอันจัดตั้งโดยรัฐ พฤติกรรมของเพจเหล่านั้นคือการกล่าวหา ยุยง ปลุกปั่น ด้วยการพาดพิงถึงบุคคลในกลุ่มภาควิชาการ ประชาสังคม นักศึกษาปัญญาชน หรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ ว่าเกี่ยวโยงกับกลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน รวมถึงเพจของฝ่ายประชาชนที่เห็นพ้องต้องกันกับความคิดรัฐไทย ขณะเดียวกันก็มีเพจของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐ พยายามยกความเป็นชาติพันธุ์ และเอกนิยมด้านอัตลักษณ์ในพื้นที่เพื่อการปกป้องสิทธิประชาชนจากการถูกละเมิด

การต่อสู้บนสื่อสังคมออนไลน์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเป็นการต่อสู้ที่มีมานาน และมีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในห้วงเวลาที่รุนแรงและยาม(ที่เราคิดว่า)ปกติสุข น่าสนใจว่ากลุ่มภาคประชาสังคมจำนวนหนึ่งที่รับงบประมาณภาษีประชาชนผ่านองค์กรรัฐ มีความคิดเห็นอย่างไรต่อการเฝ้าระวังทางสังคมบนอินเทอร์เน็ตร่วมกัน มากกว่าการวิจารณ์ในระดับปัจเจก

และในบรรยากาศการเลือกตั้ง 2562 ที่จะถึงนี้เอง ความพยายามมีบทบาทนำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับกลุ่มการเมืองระดับชาติเองก็ได้มีกระทำการผ่านสื่อสังคมออนไลน์เช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากการที่ผมได้มีโอกาสทำเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองในพื้นที่เพื่อนำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์นั้น เราก็พบว่าคนที่เข้าถึงและตอบสนองกับสื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมืองยะลาและปัตตานี โดยพวกเขามีอายุอยู่ที่ระหว่าง 25 - 40 ปี

หากตั้งข้อสันนิษฐานจากการเข้าถึงสัญญาณโทรศัพท์จากทุกเครือข่ายสัญญาณมือถือ ก็พบว่าอาจเป็นตามนั้นจริง เนื่องจากในแง่พื้นที่ สัญญาณโทรศัพท์มักกระจุกตัวในเขตพื้นที่เมือง และถนนเส้นหลักทั้งหมด และจังหวัดนราธิวาสดูเหมือนว่าจะเป็นพื้นที่อับสัญญาณโดยส่วนใหญ่ การโต้ตอบเนื้อหาทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคนในพื้นที่จึงมีน้อย

ส่วนตัวประเมินว่า จำนวนคนในพื้นที่ที่เล่นสื่อสังคมออนไลน์และมีปฏิสัมพันธ์กับมันอย่างจริงจังอาจมีไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ (โดยเฉพาะเฟสบุ๊ค) แม้บางพรรคอย่างพรรครวมพลังประชาชาติจะเป็นพรรคที่มีเพจสาขาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้มากที่สุด (จากที่สำรวจล่าสุดมี 11 เพจ) แต่นั่นก็ไม่สามารถทำให้พรรคประสบความสำเร็จในพื้นที่ออนไลน์อย่างล้นหลามได้

คิดได้ว่าพื้นที่สื่อสังคมเสมือนเป็นเพียงแค่พื้นที่รองในการแสวงหาความได้เปรียบของนักการเมือง สนามหลักยังคงอยู่ที่ตลาดนัดและการพบปะผู้คนตามชุมชนอย่างแข็งขัน แม้พื้นที่จะดำรงอยู่ท่ามกลางความไม่สงบและการตรวจค้นจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐที่มีการเข้าตรวจค้นจับกุมผู้คนที่รัฐต้องสงสัยตามชุมชนต่างๆ อย่างแข็งขันเช่นเดียวกัน

แด่นักการเมืองและภาคประชาสังคมชายแดนใต้: โลกสองใบที่ต้องเฝ้าระวัง

ภายใต้บรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งที่ฝ่ายการเมืองพยายามแย่งมวลชนด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์นี้เอง ทำให้เราทบทวนไปพร้อมกันว่า ความเป็นจริงแล้วตลอดระยะเวลาของปัญหาความไม่สงบ นับตั้งแต่บทบาทของพื้นที่ออนไลน์เข้ามา การสร้างกระแสช่วงชิงการนำของแต่ละฝ่ายมีมาโดยตลอด สำหรับนักการเมืองในพื้นที่ ผมคิดว่าสนามหลักยังคงอยู่กับสังคมในทางปฏิบัติที่เห็นจริงจับต้อง น่าสนใจว่าในพื้นที่ทางการเมืองหลักของนักการเมืองชายแดนใต้ที่จับต้องเห็นจริงได้ พวกเขามีปฏิกิริยาอย่างไรต่อการที่เจ้าหน้าที่รัฐจับต้องควบคุม กระทั่งตรวจค้นอย่างผิดกฎหมาย นักการเมืองแสดงออกอย่างไรต่อชาวปาตานีในโลกของความเป็นจริง

ขณะเดียวกัน จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่ภาคประชาสังคมจะร่วมมือกันส่งต่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์ อย่างสถิติการเข้าถึงเพจของแต่ละกลุ่มองค์กร ประเด็นที่มีการพาดพิง ให้ร้าย ก่อให้เกิดความเกลียดชัง ผ่านการรวมกลุ่มในฐานะเครือข่ายพลเมืองชายแดนใต้เพื่อเฝ้าระวังภัยอันก่อให้เกิดความแตกแยกทางความรู้สึกจากโลกเสมือน ที่กระทบถึงโลกแห่งความเป็นจริง --- เราควรจัดการกับเรื่องพวกนี้อย่างจริงจัง ---- เราสามารถทำให้สังคมมีพลังเพื่อปกป้องความสัมพันธ์ในทิศทางที่ดีมากกว่าที่เป็นอยู่จากสองโลกที่มีอยู่

บล็อกของ Yeed Piriya

Yeed Piriya
จริงๆ คำว่า Buffer idea เป็นคำที่นึกต่อมาจากคำว่า Buffer state ที่เราแปลเป็นไทยกันว่ารัฐกันชน ดังนั้น Buffer idea แปลแบบง่ายๆ ก็คือ ไอเดียกันชน คือเป็นชุดความคิดที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ ทั้งในแง่ความคิดและพฤติการณ์ เป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาเผชิญหน้ากันในนั้นด้วยคุณค่าบางอย่างที่อาจเหมือนหรือต่างกันในร
Yeed Piriya
สมัยที่ผู้เขียนเรียนมหาลัย มีอาจารย์ท่านหนึ่งในคณะเคยเสนอให้ผมลงไปออกแบบการเล่าเรื่องวิธีคิดในการสร้างสันติภาพแก่เด็กนักเรียนผ่านการ์ตูนเรื่องนารูโตะ ตอนนั้นผมยังเข้าใจว่า การ์ตูนเรื่องนารูโตะมันเน้นหนักไปทางปรัมปรา (Mythology) แบบญี่ปุ่น จนเมื่อไม่นานมานี้ ผมเริ่มเข้าใจว่าทำไมอาจารย์ท่านนั้นถึง
Yeed Piriya
ประมาณ10 นาฬิกา ของวันนี้ (2 สิงหาคม 2562) ขณะที่นั่งเลื่อนจอเฟซบุ๊คไปมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ข่าวการพบวัสดุต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นระเบิดตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วบนฟีดข่าว การจับจ้องของอัลกอริทึมเพื่อนำเสนอความตื่นตระหนกดัง
Yeed Piriya
เป็นเรื่องดีไม่น้อยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปีการศึกษานี้ ได้ต้อนรับขับสู้น้องใหม่สงขลานครินทร์ถิ่นตานี ด้วยกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นพหุวัฒนธรรมผ่านสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองปัตตานี โดยจุดสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้น ล้วนมีความสำคัญในฐานะความทรงจำทางวัฒนธรรมของชุมชนและประวัติศาสตร์ใ
Yeed Piriya
พอสืบสาวลงไปถึงพลวัตระหว่า
Yeed Piriya
กระแสสังคมปัจจุบัน มักให้ความสำคัญต่อการหยิบยกความเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทในพื้นที่ต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่ เริ่มเข้ามามีบทบาทในพื้นที่สาธารณะและสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคมมากขึ้น อันที่จริงอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากในหลายช่วงของประวัติศาสตร์คนรุ่นใหม่มักเข้ามามีบทบาทเสมอ เพียงแต่แต