Skip to main content

จริงๆ คำว่า Buffer idea เป็นคำที่นึกต่อมาจากคำว่า Buffer state ที่เราแปลเป็นไทยกันว่ารัฐกันชน ดังนั้น Buffer idea แปลแบบง่ายๆ ก็คือ ไอเดียกันชน คือเป็นชุดความคิดที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ ทั้งในแง่ความคิดและพฤติการณ์ เป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาเผชิญหน้ากันในนั้นด้วยคุณค่าบางอย่างที่อาจเหมือนหรือต่างกันในระดับชั้นของปัจเจกชนหรือกลุ่มคน โดย ประชาธิปไตยในฐานะ Buffer idea สำหรับมุสลิมไทยก็คือกันชนความเป็นมุสลิมในฐานะคนที่เชื่อว่าอิสลามเป็นคุณค่าสูงสุดนั่นแหละ

 

ผมมองว่าประชาธิปไตยสำหรับมุสลิมมีสถานะเป็น Buffer idea กล่าวเช่นนี้ไม่ได้กำลังบอกว่าประชาธิปไตยเท่ากับอิสลาม เพราะสำหรับมุสลิม อิสลามเป็นคุณค่าที่อยู่ระดับที่สูงและศักดิ์สิทธิกว่าประชาธิปไตย บางคนอาจสามารถอธิบายได้ว่าอิสลามก็มีส่วนที่ไปกันได้กับประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยก็มีส่วนที่ไปกันได้กับอิสลาม ซึ่งประเด็นนี้จะไม่ขอกล่าวถึง เพราะมันยังคงเป็นเรื่องที่ยากเย็นเกินไปที่จะกล่าวว่าอิสลามกับความคิดร่วมสมัยใดๆ จะมีคุณค่าระหว่างกันที่เสมอกันสำหรับมุสลิมและอิสลาม

 

แล้วทำไมจึงเสนอว่าประชาธิปไตยคือ Buffer idea ? การกล่าวเช่นนี้โดยความเป็นมุสลิมก็เป็นลักษณะของการรักษาระยะห่างระหว่างความเป็นมุสลิมกับประชาธิปไตยอยู่ กล่าวคือ มุสลิมไม่สามารถเป็นประชาธิปไตยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกัน ประชาธิปไตยก็เป็นแนวคิดที่มีความเหมาะสมในฐานะพื้นที่ของการเผชิญหน้าของทุกกลุ่มทุกคนในนั้น สำหรับมุสลิมซึ่งเชื่อว่าคุณค่าอิสลามเป็นสิ่งสูงสุดก็มีสิทธิธรรมในพื้นที่ของประชาธิปไตย เหมือนกับกลุ่ม/คนอื่นๆในประชาธิปไตยที่ไม่เชื่อในอิสลาม

 

เมื่อถึงตรงนี้ หมายความว่ามีโอกาสที่มุสลิมจะเข้าไปขัดแย้งกับคนที่เชื่อในประชาธิปไตยผ่านประเด็นอื่นๆใช่หรือไม่ ? คำตอบคือใช่ มุสลิมมีโอกาสที่จะขัดแย้งกับกลุ่มรักร่วมเพศและนักผลักดันคราฟต์เบียร์ etc. เช่นนี้ นักเสรีนิยมประชาธิปไตยคงไม่ชอบใจและคิดว่าการที่มุสลิมเข้ามีส่วนร่วมก็มีโอกาสที่คนพวกนี้จะบั่นทอนขบวนการประชาธิปไตยสิ ? ส่วนตัวคิดว่า “ไม่รู้” เพราะคิดว่าความเป็นประชาธิปไตยจะถูกทำลายหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมุสลิมกลุ่มเดียว เพราะในแวดวงประชาธิปไตยก็มีการตีกันเองอยู่เสมอ เพียงแต่ว่าในการตีกันเองนั้น และคิดว่ามันคงเป็นธรรมชาติของฝ่ายประชาธิปไตยด้วยอยู่แล้ว (มันก็เป็นเรื่องของการคิดแบบประชาธิปไตยอีกที่ต้องมา Tolerance และ Respect กัน)

 

การคิดว่าประชาธิปไตยเป็น Buffer idea มันไม่ใช่แค่การเข้าไปไฟต์กับเรื่องฮะรอม (สิ่งต้องห้ามตามหลักการอิสลาม) เท่านั้น ส่วนตัวยังคงเล็งเห็นเรื่องผลประโยชน์ภาพรวมในเรื่องอื่นที่ทุกคนกำลังเดือดร้อนกันอย่างเท่าเทียม อย่างสิทธิประโยชน์สาธารณะอื่นๆ ที่ประชาชนชาวไทยทั้งหมดสมควรได้รับอย่างเสมอหน้า การคิดว่าประชาธิปไตยเป็น Buffer idea จึงไม่ใช่แค่การหมกมุ่นกับการไฟต์ แต่มันคือการจัดวางอย่างเหมาะสมเพื่อผลักดันประโยชน์สาธารณะอื่นๆร่วมกัน ซึ่งก็ไม่ใช่แค่เรื่องการผลักดันด้วยม๊อบหรือไม่ม๊อบอีกด้วย

 

ถึงที่สุด นี่เป็นการให้ข้อเสนอเกี่ยวกับมุสลิมในสังคมไทยที่ต้องการคอลเอาท์แต่ก็อยากเป็นมุสลิมที่ดี นี่ไม่ใช่เป็นการบอกว่าไม่เชื่อในชะรีอะห์ มันเป็นแค่คำอธิบายอิสลาม, มุสลิมไทย กับการมองประชาธิปไตยในฐานะ Buffer idea ในสังคมการเมืองไทยที่ไม่ได้มีเงื่อนไขการเมืองแบบอิสลามเท่านั้น และมันไม่ได้หมายความว่ามุสลิมไทยที่ไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขการเมืองแบบอิสลามในสังคมไทยจะเป็นคนไม่มีชะรีอะห์

บล็อกของ Yeed Piriya

Yeed Piriya
จริงๆ คำว่า Buffer idea เป็นคำที่นึกต่อมาจากคำว่า Buffer state ที่เราแปลเป็นไทยกันว่ารัฐกันชน ดังนั้น Buffer idea แปลแบบง่ายๆ ก็คือ ไอเดียกันชน คือเป็นชุดความคิดที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ ทั้งในแง่ความคิดและพฤติการณ์ เป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาเผชิญหน้ากันในนั้นด้วยคุณค่าบางอย่างที่อาจเหมือนหรือต่างกันในร
Yeed Piriya
สมัยที่ผู้เขียนเรียนมหาลัย มีอาจารย์ท่านหนึ่งในคณะเคยเสนอให้ผมลงไปออกแบบการเล่าเรื่องวิธีคิดในการสร้างสันติภาพแก่เด็กนักเรียนผ่านการ์ตูนเรื่องนารูโตะ ตอนนั้นผมยังเข้าใจว่า การ์ตูนเรื่องนารูโตะมันเน้นหนักไปทางปรัมปรา (Mythology) แบบญี่ปุ่น จนเมื่อไม่นานมานี้ ผมเริ่มเข้าใจว่าทำไมอาจารย์ท่านนั้นถึง
Yeed Piriya
ประมาณ10 นาฬิกา ของวันนี้ (2 สิงหาคม 2562) ขณะที่นั่งเลื่อนจอเฟซบุ๊คไปมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ข่าวการพบวัสดุต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นระเบิดตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วบนฟีดข่าว การจับจ้องของอัลกอริทึมเพื่อนำเสนอความตื่นตระหนกดัง
Yeed Piriya
เป็นเรื่องดีไม่น้อยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปีการศึกษานี้ ได้ต้อนรับขับสู้น้องใหม่สงขลานครินทร์ถิ่นตานี ด้วยกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นพหุวัฒนธรรมผ่านสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองปัตตานี โดยจุดสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้น ล้วนมีความสำคัญในฐานะความทรงจำทางวัฒนธรรมของชุมชนและประวัติศาสตร์ใ
Yeed Piriya
พอสืบสาวลงไปถึงพลวัตระหว่า
Yeed Piriya
กระแสสังคมปัจจุบัน มักให้ความสำคัญต่อการหยิบยกความเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทในพื้นที่ต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่ เริ่มเข้ามามีบทบาทในพื้นที่สาธารณะและสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคมมากขึ้น อันที่จริงอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากในหลายช่วงของประวัติศาสตร์คนรุ่นใหม่มักเข้ามามีบทบาทเสมอ เพียงแต่แต