Skip to main content

เป็นเรื่องดีไม่น้อยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปีการศึกษานี้ ได้ต้อนรับขับสู้น้องใหม่สงขลานครินทร์ถิ่นตานี ด้วยกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นพหุวัฒนธรรมผ่านสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองปัตตานี โดยจุดสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้น ล้วนมีความสำคัญในฐานะความทรงจำทางวัฒนธรรมของชุมชนและประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นก่อนจะเป็นจังหวัดปัตตานีอย่างที่เรารู้จักกันเสียด้วยซ้ำ

ณ เทศะนั้นเอง จึงถูกกล่าวขึ้นในฐานะ ‘วงแหวนพหุวัฒนธรรม’ อาจสื่อถึงเทสะของการเชื่อมร้อยวงวัฎของวิถีชนที่วนเวียนอยู่ภายในพื้นที่แห่งนี้ พื้นที่ของการแบ่งสรรและแลกเปลี่ยนระหว่างอัตลักษณ์ที่แตกต่าง ไม่ว่าเหล่ากอแต่ละถิ่นจะมีฐานะเป็นผู้อยู่ดั้งเดิมหรือผู้เข้ามาตั้งรกรากในภายหลัง ณ สถานที่เหล่านั้นก็ได้แสดงให้เห็นว่าการยอมรับที่จะให้อยู่อาศัยร่วมกันเป็นการจัดการผลประโยชน์ทางความสัมพันธ์ที่ดีกว่าการมุ่งทำลายระหว่างกัน
 
กระนั้น ก็พบว่าแต่ละสถานที่ไม่ได้มีเรื่องราวของคนอื่นที่ไม่ใช่เราอยู่ในนั้น หรืออาจน้อยมาก
 
เราจะพบเรื่องราวของคนอีกอัตลักษณ์ที่ต่างกันได้ก็ต่อเมื่อเราเดินเข้าไปอีกสถานที่หนึ่ง การเปลี่ยนสถานที่ในเทสะแห่งวงแหวน จึงเป็นดั่งการเดินวนในเฉดสีที่แบ่งเส้นชัด มันไม่ได้กลมกลืนเหมือนรุ้งกินน้ำที่เราเห็นในขณะที่ละอองฝนกระทบแดด
 
อัตลักษณ์ของสถานที่มีเส้นแบ่ง แม้เราคือผู้ข้ามเส้นเพื่อมองเห็นอย่างหลากหลาย แต่ความหลากหลายไม่ได้กลมกลืนเหมือนภาพฝันที่เราเชื่อว่าทุกคนจะสามารถอยู่กันได้ แม้ในสถานการณ์ทีเป็นดั่งฟ้าเพิ่งผ่านฝน มีเพียงความอดทนเท่านั้นที่ทำให้คนเรารู้สึกที่จะไม่กระทบกันในวันที่ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม
 
ผมไม่ได้สื่อว่าเฉดสีที่ไม่กลมกลืนเหมือนรุ้งกินน้ำนั้นเป็นสิ่งไม่ดี เพียงกำลังหมายความว่าหน้าที่ของเราในวันที่ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม วันที่ความลงตัวเคยถูกทำให้ขาดเป็นเสี่ยง ๆ ถึงที่สุดแล้ว เราเป็นได้เพียงผู้ข้ามเส้นสีเพื่อมองเห็นอย่างหลากหลาย ยิ่งในปัจจุบัน อัตลักษณ์ผู้คนมีความซับซ้อน มีความขัดแย้งนานัปการเกิดขึ้น ใช่แค่อัตลักษณ์ทางศาสนาหรือชาติพันธุ์ที่แตกต่าง แต่ยังมีเรื่องเพศวิถี ความคิดทางการเมือง ความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ หรือคนขัดกันเพราะสัตว์ ฯลฯ  (และผมก็พบว่าความขัดแย้งอย่างหลังจะเกิดขึ้นเป็นกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ของ ม.อ.ปัตตานี เกือบทุกปี)
 
เราพบว่าความขัดแย้งเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น เหตุของความขัดแย้งก็มาจากความหลากหลายนั่นแล หลากหลายจึงขัดกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่จะทำอย่างไรให้อยู่ร่วมกันได้ เป็นเฉดสีเหลื่อมสลับดั่งรุ้งกินน้ำที่เราใฝ่ฝัน
 
คิดว่าสถานที่เหล่านั้นยังคงทำหน้าที่ที่ดีของมันต่อไปในฐานะพื้นที่ของการเรียนรู้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการก้าวสู่การเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าในนามของพหุวัฒนธรรมหรือสิ่งใด ทักษะการอยู่ร่วมกันท่ามกลางธรรมชาติของความหลากหลายที่เชื่อว่าต้องขัดกัน คือสิ่งที่ควรต่อยอดเพื่อเรียนรู้ต่อไป ทั้งตัวเรา ทั้งคนอื่น โดยเฉพาะตัวเรา ต่อคนอื่น
 
ทักษะวัฒนธรรมจึงไม่ใช่แค่สถานที่ แต่คือผู้คนอย่างเรา ๆ ที่ต้องฝึกฝนเพื่ออยู่ร่วมกันนี่แหละ

บล็อกของ Yeed Piriya

Yeed Piriya
จริงๆ คำว่า Buffer idea เป็นคำที่นึกต่อมาจากคำว่า Buffer state ที่เราแปลเป็นไทยกันว่ารัฐกันชน ดังนั้น Buffer idea แปลแบบง่ายๆ ก็คือ ไอเดียกันชน คือเป็นชุดความคิดที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ ทั้งในแง่ความคิดและพฤติการณ์ เป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาเผชิญหน้ากันในนั้นด้วยคุณค่าบางอย่างที่อาจเหมือนหรือต่างกันในร
Yeed Piriya
สมัยที่ผู้เขียนเรียนมหาลัย มีอาจารย์ท่านหนึ่งในคณะเคยเสนอให้ผมลงไปออกแบบการเล่าเรื่องวิธีคิดในการสร้างสันติภาพแก่เด็กนักเรียนผ่านการ์ตูนเรื่องนารูโตะ ตอนนั้นผมยังเข้าใจว่า การ์ตูนเรื่องนารูโตะมันเน้นหนักไปทางปรัมปรา (Mythology) แบบญี่ปุ่น จนเมื่อไม่นานมานี้ ผมเริ่มเข้าใจว่าทำไมอาจารย์ท่านนั้นถึง
Yeed Piriya
ประมาณ10 นาฬิกา ของวันนี้ (2 สิงหาคม 2562) ขณะที่นั่งเลื่อนจอเฟซบุ๊คไปมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ข่าวการพบวัสดุต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นระเบิดตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วบนฟีดข่าว การจับจ้องของอัลกอริทึมเพื่อนำเสนอความตื่นตระหนกดัง
Yeed Piriya
เป็นเรื่องดีไม่น้อยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปีการศึกษานี้ ได้ต้อนรับขับสู้น้องใหม่สงขลานครินทร์ถิ่นตานี ด้วยกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นพหุวัฒนธรรมผ่านสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองปัตตานี โดยจุดสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้น ล้วนมีความสำคัญในฐานะความทรงจำทางวัฒนธรรมของชุมชนและประวัติศาสตร์ใ
Yeed Piriya
พอสืบสาวลงไปถึงพลวัตระหว่า
Yeed Piriya
กระแสสังคมปัจจุบัน มักให้ความสำคัญต่อการหยิบยกความเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทในพื้นที่ต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่ เริ่มเข้ามามีบทบาทในพื้นที่สาธารณะและสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคมมากขึ้น อันที่จริงอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากในหลายช่วงของประวัติศาสตร์คนรุ่นใหม่มักเข้ามามีบทบาทเสมอ เพียงแต่แต