Skip to main content

ประมาณ10 นาฬิกา ของวันนี้ (2 สิงหาคม 2562) ขณะที่นั่งเลื่อนจอเฟซบุ๊คไปมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ข่าวการพบวัสดุต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นระเบิดตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วบนฟีดข่าว การจับจ้องของอัลกอริทึมเพื่อนำเสนอความตื่นตระหนกดังกล่าวได้แพร่กระจายบนหน้าฟีดเฟสบุ๊คส่วนตัวราวกับการแพร่ระบาดของอะไรบางอย่าง ผมนั่งมองการส่งต่อข้อมูลจากคนต่อคนบนสื่อสังคมออนไลน์ผ่านบัญชีผู้ใช้ส่วนตัว ซึ่งในช่วงแรกอย่างไม่คาดหวังว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น กระทั่งมีโพสต์ส่วนตัวของคนที่รู้จักกันโพสต์ถึงสถานการณ์ดังกล่าวจากหนึ่งในพื้นที่เกิดเหตุ

ผมทักถามไปเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากการระบาดของข้อมูลข่าวสารเรื่องระเบิดในกรุงเทพฯ ว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยได้รับการพิสูจน์จากปากคำของผู้ที่ผมถามไปว่าเป็นความจริง กระทั่งสื่อสำนักต่าง ๆ ทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นบนสังคมออนไลน์ได้นำเสนอออกมาอย่างต่อเนื่อง ถึงจำนวนสรุปทั้งจุดเกิดเหตุและสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งการเล่าของประชาชนที่อยู่สถานการณ์ ตามมาด้วยการออกแถลงของฝ่ายความมั่นคง และบุคคลทางการเมืองในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เพิ่งกล่าวให้คำสัตย์ปฏิญาณตนเพื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัย

เหตุการณ์ระเบิดครั้งนี้มีที่มาจากใคร ? เพื่ออะไร ? คิดว่านี่คือคำถามที่อยู่ในใจหลายคนของคนที่ทราบเหตุการณ์ความรุนแรงนี้ และคงจะเป็นเรื่องยากอีกเช่นเคยที่เราจะสร้างความแน่นอนด้วยข้อวิเคราะห์หรือคำทำนายใด ๆ ที่ว่าใครคือผู้ก่อการ ความรุนแรงในสังคมไทยเป็นเรื่องของการเล่นซ่อนหา (ดังที่ อ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นักวิชาการที่ขึ้นชื่อประเด็นสันติวิธีและความรุนแรงเคยเคยอธิบายไว้เกี่ยวกับความรุนแรงและการซ่อน/หาของความรุนแรง)

ส่วนหนึ่งจากความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ จากการนำเสนอข่าวโดย BBC ไทย
ที่มา www.facebook.com/watch/?v=395449617764700

ถึงจะไม่มีความแน่ชัด ไม่มีคำตอบที่แท้ แต่ความคิดเห็นย่อมตามมา น่าสนใจว่าความคิดเห็นในวงการเมืองของประชาชนที่พูดถึงเหตุระเบิดครั้งล่าสุดในกรุงเทพฯบนโลกออนไลน์ และเราจะเห็นสิ่งใดได้บ้างจากวงของการพูดคุยการเมืองในพื้นที่สาธารณะของโลกปัจจุบันที่ถูกขยับขยายเข้าสู่ Platform ซึ่งต่างจากโลกของวงการเมืองสมัยเดิมที่จำกัดอยู่ในวงคุยหรือร้านน้ำชาซึ่งดำรงอยู่เฉพาะที่ การทลายกำแพงทางภูมิศาสตร์ของการพูดคุยเรื่องการเมืองจากความรุนแรงดังกล่าวนี้ กำลังฉายภาพการเมืองจากความคิดของประชาชน ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 2557 แบบไหน ?

สำหรับ ข้อเขียนนี้ ผู้เขียนได้ดึงความคิดเห็นต่าง ๆ ของประชาชนจำนวนหนึ่ง กลุ่มคนเหล่านี้อาจเป็นคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครแต่เดิม หรืออาจเป็นคนต่างจังหวัดที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ หรืออาจเป็นคนต่างจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯ คนเหล่านี้ที่ ‘อาจ’ เป็นใครจากที่ไหนก็ได้ในสังคมไทย 

‘สังคมออนไลน์ไทยในการเมืองกรุงเทพฯ’ แม้จะเป็นภาพรวมที่ปรากฏจากประชาชนที่กระจัดกระจายบนภูมิศาสตร์ประเทศ แต่ความคิดเห็นของพวกเขาเหล่านั้นต่างเป็นการแสดงออกต่อสถานการณ์ความรุนแรงในกรุงเทพฯที่สัมพันธ์ต่อการเมืองมุมกว้างระดับชาติ การแสดงความคิดเห็นของพวกเขาเหล่านั้นบนโลกออนไลน์จึงประหนึ่งสังคมไทยที่ถูกวางลงในกรุงเทพฯ นี่คือการจัดวางของภูมิรัฐศาสตร์เกี่ยวกับการเมืองผ่านเหตุการณ์ระเบิดครั้งล่าสุดที่ผู้เขียนมองเห็น ซึ่งความเป็นจริงแล้วก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ประการใด เพราะที่ผ่านมาสื่อเองโดยเฉพาะสื่อต่างชาติ  มักใช้คำที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่าง ‘เมืองหลวง’ ของประเทศนั้น ๆ เพื่อเป็นภาพแทนทางการเมืองของประเทศนั้นอยู่แล้ว เช่นคำว่า การเรียกรัฐบาลไทยว่า “รัฐบาลกรุงเทพฯ” เป็นต้น

ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็น ระหว่าง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงกรณีเหตุระเบิด 5 จุด ในกรุงเทพฯ
ที่มา www.facebook.com/PPTVHD36/videos/368042390550705/?__xts__[0]=68.ARBTOT2hwRv9YovdnBfcWHAg5JnA4TqpbQhwzyiEUhQeoyraHpzAkKRAcABuSDQyysFtOvoL4sYbB6gqDaZaT9BT-Bkq_3U2j3um7l6JM2pyU6g8-wcRcJaueKphjeJCv7zLVblaOSJmf4oix69bu1hB-WXUdi51IJtkryG7Q-wQzZbqNn4eCQflSye9wMV2_ytJfCXYnjqceBhLZFREdxhqQihY5HgCXNlsBvdVoxqEYCVsf6XJ9QV49uZtx3uaRP8eiHlF0VZcjHbDEDpQDZ_tjRAEcEQGfhwdqKT0iIxqlL0gb_9tNVGcVHwdngDKa_NXLyO3xQudCu7CkiRuOvo-DRwsPN6z-WKbXhuCeqbJD0Sk6JonxfEkmjGL9wQSJb0QlyLGkqvJ1NT8WDgNRpupbS3KpV3X0xeAQJZLR0d6ihy5d3YXf6sszHUpJtVqTBb3JC_TknQQyRwzkpV1v7xpvpwPPDWdb0dFgaACG3FAKoutxLqhLSsMOlu7FycykQ0wUCk9epITW-ae4D1vYQMGcHqVwEeR&__tn__=H-R

เมื่อสังเกตจากกลุ่มตัวอย่างที่มีการเข้ามาแสดงความเห็น ทั้งจากโพสต์ข่าว โพสต์ของบุคคลสำคัญทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน แม้กระทั่งการโพสต์ที่เห็นได้จากการแฮชแท็กบนทวีตเตอร์ (ซึ่งแฮชแท็ก ระเบิด ได้รับความนิยมมากที่สุดในรอบวัน) พบว่าทิศทางของการคอมเม้นต์ส่วนใหญ่ เป็นไปในทิศทางส่อเสียดรัฐบาล ทั้งเรื่องความเป็นไปได้ถึงการจัดฉากทางการเมืองเพื่อหวังผลในเรื่องของการนำมาตรา 44 กลับมาบังคับใช้ และการไร้ซึ่งเสถียรภาพในการรักษาความปลอดภัยภายใต้รัฐบาลที่มีทหารเป็นใหญ่ อาจมีคนที่เข้ามาคอมเม้นต์ในสื่อบางสำนักที่มีการยึดโยงไปยังกลุ่มการเมืองที่เรียกกันว่าเป็น ‘พรรคโจร’ รวมถึงการตอบโต้กันระหว่างผู้ที่มาคอมเม้นต์กันในประเด็นดังกล่าว

Hashtag ระเบิด กลายเป็นแท็กยอดนิยมในรอบวันบน Tweeter

ทวีตของ สนธรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประนามมือระเบิด และความคิดเห็นบางส่วนของผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อทวีตดังกล่าว
ที่มา 
twitter.com/SonSontirat/status/1157155223086850049

เมื่อมองถึงรายละเอียดจากประเด็นเหล่านั้นลงไปอีก ก็พบว่าสิ่งที่ประชาชนยกมากล่าวถึงผ่านบรรดาคอมเม้นต์ต่าง ๆ มีอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ มาตตรา 44, กล้องวงจรปิด และละครการเมือง ทำไมจึงเป็นสามอย่างนี้ ? เป็นไปได้ว่าสามสิ่งที่ถูกกล่าวถึงคือสิ่งที่ยึดโยงกับภาพกว้างเกี่ยวกับสถานการณ์ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทยในรอบหลายปีที่ผ่านมา ใช่หรือไม่ ?

การใช้ มาตรา 44 ตามบทบัญญัติทั่วไป ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2557 กระทั่งการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับปัจจุบัน ซึ่งถูกใช้โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงการหวังผลทางการเมืองแบบใด ? กรณีของกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งโดยรัฐ ในฐานะเครื่องพิสูจน์ของเท็จจริงในหลายสถานการณ์ อย่างกรณีชัยภูมิ ป่าแส กระทั่งกรณี อับดุลเลาะ อีซอมูซอ สะท้อนเรื่องความยุติธรรมกับการพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาลอย่างไร ? การดำเนินนโยบายแก้ปัญหาต่าง ๆ ต่อพี่น้องประชาชนในระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมาภายใต้การนำของ คสช. สะท้อนให้เห็นว่าการเมืองเป็นแค่ฉากหนึ่งของการหวังผลทางการเมืองเรื่องอำนาจ ซึ่งแทบไม่ยังผลต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในประเทศเลยใช่หรือไม่ ?

ระเบิดกลางกรุงที่แพร่ระบาดบนโลกออนไลน์ จึงประหนึ่งแรงสะเทือนที่ก่อให้เกิดการสะท้อนคิดที่แสดงออกผ่านการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ดังกล่าว ที่ไม่ว่าความรุนแรงจะเกิดขึ้นจากใคร ความเสียหายของสังคมไทยในรอบหลายปีที่มีการรัฐประหาร ทั้งในนามของ คสช. หรือคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  (คปค.) การโยงใยเพื่อหวังผลให้เกิดการรับผิดทางการเมืองจากความรุนแรงแก่ฝ่ายที่ถูกอธิบายว่าเป็นกลุ่มการเมืองในอดีตที่สูญเสียอำนาจไปแล้วนั้น แทบไม่มีความหมายกับคนในโลกออนไลน์ กระนั้น จากความรุนแรงดังกล่าว กลุ่มคนที่ถูกต้องสงสัยโดยฝ่ายความมั่นคงกลุ่มแรกก็ยังหนีไม่พ้นไปจากคนที่มาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในฐานะพื้นที่ความรุนแรงที่ดำรงตนมายาวนาน

ที่มา www.facebook.com/thairath/posts/10158319970607439?__tn__=-R

ที่มา www.facebook.com/MatichonOnline/posts/10158830501962729?__tn__=-R

เมื่อมองกลับไปยังเหตุการณ์ระเบิดกลางกรุง บริเวณที่ตั้งศาลพระพรหมเอราวัณ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 ตามมาด้วยเหตุการณ์ระเบิดอีกหลายจุดในประเทศไทย หลังจากที่ คสช. ทำการรัฐประหารได้ 1 ปีเศษ ช่วงสถานการณ์ดังกล่าวเองยังกลายเป็นกระแสของภัยคุกคามที่มีการสืบสาเหตุโดยรัฐว่าเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง กระทั่งการขยายผลว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ รวมถึงมุสลิมจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จวบจนปัจจุบันนี้เองยังไม่ทราบว่ากระบวนการสืบเสาะหาความเป็นธรรมโดยรัฐไปถึงไหน และอะไรคือความจริง ชายชาวอุยกูร์ที่ถูกจับกุมคือผู้ก่อการหรือไม่ การที่เขาออกมาตะโกนว่าตนคือเหยื่อของความยุติธรรมไทยมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงกันถึงไหน อย่างไร สังคมไม่มีทางรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้เลย

ที่มา www.facebook.com/BBCnewsThai/posts/1774092786145087?__tn__=H-R

เมื่อมองกลับไปยังสังคมออนไลน์ไทยขณะนั้น ก็ยังพบว่า ช่วงเวลาภายหลังการรัฐประหารที่ยังสดใหม่ไม่นานมาก ความสนใจของประชาชนที่มาแสดงความคิดเห็นดูมักมุ่งไปที่การก่อเหตุโดยผู้ต้องสงสัยชาวอุยกูร์ที่คาดว่าเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดใจกลางกรุงเทพฯ บวกกับประเด็นการก่อเหตุโดยขบวนการความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้มีการแสดงความคิดเห็นไปในรูปแบบถ้อยคำด่าทอ (Hate speech) อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ที่ผู้ต้องสงสัยชาวอุยกูร์ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของศาลทหาร เปิดเผยว่าตนถูกซ้อมทรมานในระหว่างการควบคุมตัวนั้น ได้ทำให้เกิดการถกเถียงบนโลกออนไลน์อีกครั้ง โดยเฉพาะความไม่ถูกต้องในกระบวนการยุติธรรมของรัฐไทยในระหว่างการควบคุมตัว ที่ต่อให้แม้ว่าจะมีคนออกมาแสดงความคิดเห็นในทางที่เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐก็ตาม

ที่มา www.facebook.com/VoiceOnlineTH/posts/10157287664704848?__tn__=-R

กระทั่งการระเบิดในครั้งนี้ ดูเหมือนว่าทิศทางประเด็นที่มีการพูดถึงยังมีความแตกต่างจากการระเบิดในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2558 พอสมควร อาจด้วยปัจจัยที่มีสื่อใหม่มีจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม (กระนั้นผู้เขียนได้นำเสนอตัวอย่างผ่านสื่อกระแสหลักที่มีอยู่แล้วและสื่อเหล่านั้นเองก็ได้ผันตัวเองเข้ามาสู่สังคมออนไลน์) กลายเป็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดจากการความอยุติธรรมในรัฐบาล คสช. ที่ผ่านมา ได้กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในความรุนแรง และสิ่งที่ปรากฏผ่านความคิดเห็นเหล่านั้นเองได้สะท้อนภาพของรัฐบาล คสช. ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ผ่านการเมืองของภูมิศาสตร์แบบใหม่ที่สังคมไทยกำลังเฝ้ามองและพูดถึงสถานการณ์ในกรุงเทพฯอย่างมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกภูมิภาค

แม้ระเบิดครั้งล่าสุด จะเป็นเรื่องที่ยากแก่การสรุปถึงผู้ก่อการอย่างเช่นความรุนแรงที่ผ่านมา แต่จากการกล่าวถึงเหตุการณ์บนโลกออนไลน์ก็พอสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนมีทัศนะต่อรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ทั้งที่ผ่านมาและปัจจุบันผ่านระเบิดที่จุดขึ้นนี้อย่างไร

 

บล็อกของ Yeed Piriya

Yeed Piriya
จริงๆ คำว่า Buffer idea เป็นคำที่นึกต่อมาจากคำว่า Buffer state ที่เราแปลเป็นไทยกันว่ารัฐกันชน ดังนั้น Buffer idea แปลแบบง่ายๆ ก็คือ ไอเดียกันชน คือเป็นชุดความคิดที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ ทั้งในแง่ความคิดและพฤติการณ์ เป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาเผชิญหน้ากันในนั้นด้วยคุณค่าบางอย่างที่อาจเหมือนหรือต่างกันในร
Yeed Piriya
สมัยที่ผู้เขียนเรียนมหาลัย มีอาจารย์ท่านหนึ่งในคณะเคยเสนอให้ผมลงไปออกแบบการเล่าเรื่องวิธีคิดในการสร้างสันติภาพแก่เด็กนักเรียนผ่านการ์ตูนเรื่องนารูโตะ ตอนนั้นผมยังเข้าใจว่า การ์ตูนเรื่องนารูโตะมันเน้นหนักไปทางปรัมปรา (Mythology) แบบญี่ปุ่น จนเมื่อไม่นานมานี้ ผมเริ่มเข้าใจว่าทำไมอาจารย์ท่านนั้นถึง
Yeed Piriya
ประมาณ10 นาฬิกา ของวันนี้ (2 สิงหาคม 2562) ขณะที่นั่งเลื่อนจอเฟซบุ๊คไปมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ข่าวการพบวัสดุต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นระเบิดตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วบนฟีดข่าว การจับจ้องของอัลกอริทึมเพื่อนำเสนอความตื่นตระหนกดัง
Yeed Piriya
เป็นเรื่องดีไม่น้อยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปีการศึกษานี้ ได้ต้อนรับขับสู้น้องใหม่สงขลานครินทร์ถิ่นตานี ด้วยกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นพหุวัฒนธรรมผ่านสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองปัตตานี โดยจุดสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้น ล้วนมีความสำคัญในฐานะความทรงจำทางวัฒนธรรมของชุมชนและประวัติศาสตร์ใ
Yeed Piriya
พอสืบสาวลงไปถึงพลวัตระหว่า
Yeed Piriya
กระแสสังคมปัจจุบัน มักให้ความสำคัญต่อการหยิบยกความเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทในพื้นที่ต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่ เริ่มเข้ามามีบทบาทในพื้นที่สาธารณะและสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคมมากขึ้น อันที่จริงอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากในหลายช่วงของประวัติศาสตร์คนรุ่นใหม่มักเข้ามามีบทบาทเสมอ เพียงแต่แต