ม.อ. หรือ ปอเนาะ ? เป็นประโยคคำถามที่มาพร้อมลักษณะการสงสัยต่อสภาวะบางประการที่เกิดขึ้น ราวกับว่าสังคมหนึ่ง (ในที่นี้คือ ม.อ.-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) เป็นสังคมที่มีลักษณะทางอัตลักษณ์เฉพาะบางประการ ไม่ว่าจะด้วยการนิยามจากภาพรวมว่าเป็นสังคมมหาวิทยาลัย มีอาจารย์ มีนักศึกษา มีเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่ถูกคัดกรองด้วยคุณวุฒิทางการศึกษาในการเข้ามาเป็นทรัพยากรบุคคลภายในสังคมที่มีลักษณะของความเป็นสถาบัน กำลังถูกท้าทายด้วยอัตลักษณ์บางอย่าง และอัตลักษณ์นั้นในสายตาของผู้หยิบยกวลีดังกล่าวขึ้นมาเป็นประเด็น ณ ช่วงเวลานั้น อาจมองว่าอัตลักษณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งแปลกปลอม การมีจำนวนมากและแพร่หลาย คงคล้ายกับการแพร่ระบาดของบางสิ่งที่จักกระทบความมั่นคงทางอัตลักษณ์หลักในเชิงสถาบันที่ตนเองดำรงอยู่ภายในความรู้สึกส่วนตัว กระทั่ง "ม.อ. หรือ ปอเนาะ" ราวกับกลายเป็นคำตัดสินเพื่อแบ่งแยกและจัดประเภทแล้วว่า ทั้งสองอย่างไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ไม่มีทางมาบรรจบกัน และไม่สมควรที่จะมาบรรจบกัน เสียด้วยซ้ำ
จากที่กล่าวมา เป็นเพียงลักษณะการเบื้องต้นที่จะอธิบายปรากฏการณ์ในแง่ของที่มาและที่ไปของประเด็นที่เกิดขึ้นว่า ‘คำ’ ดังกล่าว ได้สะท้อนประโยคของสำนึกแบบใด และกระทำต่อสังคมอย่างไร นี่คือปรากฏการณ์ของการเหยียดที่แสดงให้เห็นว่า สังคมของคนที่รู้สึกมีการศึกษาในพื้นที่ทางการศึกษาที่ดำรงอยู่ในสภาวะสมัยใหม่ ได้แสดงอากัปกิริยาที่น่ากลัวต่อในพื้นที่ของสภาวะสมัยใหม่ของโลกปัจจุบันเองที่มีการเผชิญหน้ากับความเป็นอื่นอยูเสมอ อันจะส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนา หรือชีวภาพ
อย่างไรก็ตาม “ม.อ. หรือ ปอเนาะ” หาใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันสองวัน ที่วิทยาเขตปัตตานี ม.อ. หรือปอเนาะ เป็นประโยคที่มีการกล่าวถึงมานาน หากแต่ลักษณะของสำนึกที่สะท้อนจากประโยคดังกล่าวโดยที่มาและที่ไป อาจเป็นไปในทางของการหยันมากกว่า
ถ้ามองจากคำว่าเหยียดคำเดียวในรูปของคำกริยา คำว่าเหยียด จะสอดคล้องกับคำว่า insult ซึ่งแปลว่า ดูถูก จากที่ประเด็นที่มี เพจ ประเทศ ม.อ. โพสต์ประโยค ม.อ. หรือ ปอเนาะ จากกรณีที่มีนักเรียนมุสลิมจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนามาทัศนศึกษางานสัปดาห์วิชาการครั้งล่าสุดเป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นคำถามประโยคเชิงเหยียดแปลความได้ว่า “เกือบทั้งงานมีแต่คนพวกนี้ สรุปแล้วนี่คือ ม.อ. หรือ ปอเนาะ”
ส่วนคำว่าหยัน แปลว่า เยาะเย้ย กรณีที่ประโยค ม.อ. หรือ ปอเนาะ ในบริบท ม.อ.ปัตตานี ที่มองว่าเป็นการหยัน เนื่องจากนักศึกษาในวิทยาเขตดังกล่าวส่วนใหญ่ ประมาณได้ว่านับตั้งแต่เหตุการณ์ความไม่สงบชายแดนภาคใต้ จำนวนนักศึกษามลายูมุสลิมมีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน กลุ่มนักกิจกรรมที่เป็นนักศึกษามลายูมุสลิมได้เข้าไปมีบทบาทในองค์การฯ นักศึกษา สภานักศึกษา และสโมสรคณะต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาพของการผูกขาดทางวัฒนธรรมในหลาย ๆ กิจกรรมซึ่งใช้งบประมาณที่เป็นส่วนหนึ่งจากค่าเทอมของนักศึกษาทั้งหมดในวิทยาเขต
ม.อ. หรือ ปอเนาะ สำหรับวิทยาเขตปัตตานี จึงเป็นปฏิกิริยาโต้กลับ จากนักศึกษาส่วนน้อยที่พวกเขาคิดว่าสูญเสียสิทธิทางวัฒนธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ไป
ม.อ. หรือ ปอเนาะ จากทั้งสองบริบท แม้จะมีเงื่อนไขของกระแสประโยคดังกล่าวไม่เหมือนกัน แต่โจทก์ที่มีความเหมือนกันจากทั้งสองกรณีคือ คนมุสลิม ปอเนาะซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกรูปการเรียนการศึกษาของชาวมุสลิมที่มีอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นศัพท์ตัวแทนที่นักศึกษาที่ไม่ใช่มุสลิมใช้เพื่อบ่งบอกถึงการคุกคามบางอย่าง
นักศึกษามุสลิม หรือความเป็นมุสลิม กระทั่งลึกลงไปอีกคือความเป็นมลายูมุสลิม กำลังคุกคามใคร ทำไมจึงคุกคาม และทำไมกลุ่มคนดังกล่าวจึงรู้สึกว่ามุสลิมคุกคาม ? นี่ไม่ใช่การตั้งคำถามเพื่อกล่าวหาว่ามุสลิมเป็นตัวปัญหาของการคุกคามจริง ๆ แต่เป็นการตั้งคำถามเพื่อทบทวนว่า จริง ๆ แล้ว ความรู้สึกที่ว่าต้องคุกคาม กระทั่งถูกคุกคาม ที่ไม่ว่าเกิดจากกลุ่มคนอัตลักษณ์ใด ๆ นั้น เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ สำคัญคือความรู้สึกดังกล่าวได้ลดทอนข้อเท็จจริงของการอยู่ร่วมกัน กระทั่งที่เราจะรู้จักกันถึงความเป็นจริงของแต่ละอัตลักษณ์ ไปแล้วแค่ไหน ?
เราจึงต้องรู้เท่าทันสิ่งที่เราจะกล่าวออกไปว่า ถึงที่สุดแล้ว มันอาจจะเป็นหนึ่งในระเบิดของความเกลียดชัง ที่ไม่ต้องรอวันการแบ่งแยกด้วยความรุนแรงทางตรงที่ก่อความรุนแรงถึงตาย หากแต่เป็นระเบิดของความเกลียดชัง ที่จะแบ่งแยกดินแดนทางความรู้สึกของผู้คนให้ห่างไกลจากความหวังที่จะอยู่ร่วมกัน ด้วยความเข้าอกเข้าใจ
ม.อ. หรือ ปอเนาะ ? เป็นประโยคคำถามที่มาพร้อมลักษณะการสงสัยต่อสภาวะบางประการที่เกิดขึ้น ราวกับว่าสังคมหนึ่ง (ในที่นี้คือ ม.อ.-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) เป็นสังคมที่มีลักษณะทางอัตลักษณ์เฉพาะบางประการ ไม่ว่าจะด้วยการนิยามจากภาพรวมว่าเป็นสังคมมหาวิทยาลัย มีอาจารย์ มีนักศึกษา มีเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่ถูกคัดกรองด้วยคุณวุฒิทางการศึกษาในการเข้ามาเป็นทรัพยากรบุคคลภายในสังคมที่มีลักษณะของความเป็นสถาบัน กำลังถูกท้าทายด้วยอัตลักษณ์บางอย่าง และอัตลักษณ์นั้นในสายตาของผู้หยิบยกวลีดังกล่าวขึ้นมาเป็นประเด็น ณ ช่วงเวลานั้น อาจมองว่าอัตลักษณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งแปลกปลอม การมีจำนวนมากและแพร่หลาย คงคล้ายกับการแพร่ระบาดของบางสิ่งที่จักกระทบความมั่นคงทางอัตลักษณ์หลักในเชิงสถาบันที่ตนเองดำรงอยู่ภายในความรู้สึกส่วนตัว กระทั่ง "ม.อ. หรือ ปอเนาะ" ราวกับกลายเป็นคำตัดสินเพื่อแบ่งแยกและจัดประเภทแล้วว่า ทั้งสองอย่างไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ไม่มีทางมาบรรจบกัน และไม่สมควรที่จะมาบรรจบกัน เสียด้วยซ้ำ
จากที่กล่าวมา เป็นเพียงลักษณะการเบื้องต้นที่จะอธิบายปรากฏการณ์ในแง่ของที่มาและที่ไปของประเด็นที่เกิดขึ้นว่า ‘คำ’ ดังกล่าว ได้สะท้อนประโยคของสำนึกแบบใด และกระทำต่อสังคมอย่างไร นี่คือปรากฏการณ์ของการเหยียดที่แสดงให้เห็นว่า สังคมของคนที่รู้สึกมีการศึกษาในพื้นที่ทางการศึกษาที่ดำรงอยู่ในสภาวะสมัยใหม่ ได้แสดงอากัปกิริยาที่น่ากลัวต่อในพื้นที่ของสภาวะสมัยใหม่ของโลกปัจจุบันเองที่มีการเผชิญหน้ากับความเป็นอื่นอยูเสมอ อันจะส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนา หรือชีวภาพ
อย่างไรก็ตาม “ม.อ. หรือ ปอเนาะ” หาใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันสองวัน ที่วิทยาเขตปัตตานี ม.อ. หรือปอเนาะ เป็นประโยคที่มีการกล่าวถึงมานาน หากแต่ลักษณะของสำนึกที่สะท้อนจากประโยคดังกล่าวโดยที่มาและที่ไป อาจเป็นไปในทางของการหยันมากกว่า
ถ้ามองจากคำว่าเหยียดคำเดียวในรูปของคำกริยา คำว่าเหยียด จะสอดคล้องกับคำว่า insult ซึ่งแปลว่า สบประมาท จากที่ประเด็นที่มี เพจ ประเทศ ม.อ. โพสต์ประโยค ม.อ. หรือ ปอเนาะ จากกรณีที่มีนักเรียนมุสลิมจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนามาทัศนศึกษางานสัปดาห์วิชาการครั้งล่าสุดเป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นคำถามประโยคเชิงเหยียดแปลความได้ว่า “เกือบทั้งงานมีแต่คนพวกนี้ สรุปแล้วนี่คือ ม.อ. หรือ ปอเนาะ”
ส่วนคำว่าหยัน แปลว่า เยาะเย้ย กรณีที่ประโยค ม.อ. หรือ ปอเนาะ ในบริบท ม.อ.ปัตตานี ที่มองว่าเป็นการหยัน เนื่องจากนักศึกษาในวิทยาเขตดังกล่าวส่วนใหญ่ ประมาณได้ว่านับตั้งแต่เหตุการณ์ความไม่สงบชายแดนภาคใต้ จำนวนนักศึกษามลายูมุสลิมมีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน กลุ่มนักกิจกรรมที่เป็นนักศึกษามลายูมุสลิมได้เข้าไปมีบทบาทในองค์การฯ นักศึกษา สภานักศึกษา และสโมสรคณะต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาพของการผูกขาดทางวัฒนธรรมในหลาย ๆ กิจกรรมซึ่งใช้งบประมาณที่เป็นส่วนหนึ่งจากค่าเทอมของนักศึกษาทั้งหมดในวิทยาเขต
ม.อ. หรือ ปอเนาะ สำหรับวิทยาเขตปัตตานี จึงเป็นปฏิกิริยาโต้กลับ จากนักศึกษาส่วนน้อยที่พวกเขาคิดว่าสูญเสียสิทธิทางวัฒนธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ไป
ม.อ. หรือ ปอเนาะ จากทั้งสองบริบท แม้จะมีเงื่อนไขของกระแสประโยคดังกล่าวไม่เหมือนกัน แต่โจทก์ที่มีความเหมือนกันจากทั้งสองกรณีคือ คนมุสลิม ปอเนาะซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกรูปการเรียนการศึกษาของชาวมุสลิมที่มีอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นศัพท์ตัวแทนที่นักศึกษาที่ไม่ใช่มุสลิมใช้เพื่อบ่งบอกถึงการคุกคามบางอย่าง
นักศึกษามุสลิม หรือความเป็นมุสลิม กระทั่งลึกลงไปอีกคือความเป็นมลายูมุสลิม กำลังคุกคามใคร ทำไมจึงมีความรู้สึกของคุกคาม และทำไมกลุ่มคนดังกล่าวจึงรู้สึกว่ามุสลิมคุกคาม ? นี่ไม่ใช่การตั้งคำถามเพื่อกล่าวหาว่ามุสลิมเป็นตัวปัญหาของการคุกคามจริง ๆ แต่เป็นการตั้งคำถามเพื่อทบทวนว่า จริง ๆ แล้ว ความรู้สึกที่ว่าต้องคุกคาม กระทั่งถูกคุกคาม ที่ไม่ว่าเกิดจากกลุ่มคนอัตลักษณ์ใด ๆ นั้น เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ สำคัญคือความรู้สึกดังกล่าวได้ลดทอนข้อเท็จจริงของการอยู่ร่วมกัน กระทั่งที่เราจะรู้จักกันถึงความเป็นจริงของแต่ละอัตลักษณ์ ไปแล้วแค่ไหน ?
เราจึงต้องรู้เท่าทันสิ่งที่เราจะกล่าวออกไปว่า ถึงที่สุดแล้ว มันอาจจะเป็นหนึ่งในระเบิดของความเกลียดชัง ที่ไม่ต้องรอวันการแบ่งแยกด้วยความรุนแรงทางตรงที่ก่อความรุนแรงถึงตาย หากแต่เป็นระเบิดของความเกลียดชัง ที่จะแบ่งแยกดินแดนทางความรู้สึกของผู้คนให้ห่างไกลจากความหวังที่จะอยู่ร่วมกัน ด้วยความเข้าอกเข้าใจ
ไม่ใช่การบอกให้คนอื่นเข้าใจตนเองในฐานะอัตลักษณ์ส่วนใหญ่อยู่เพียงฝ่ายเดียว
บล็อกของ Yeed Piriya
Yeed Piriya
จริงๆ คำว่า Buffer idea เป็นคำที่นึกต่อมาจากคำว่า Buffer state ที่เราแปลเป็นไทยกันว่ารัฐกันชน ดังนั้น Buffer idea แปลแบบง่ายๆ ก็คือ ไอเดียกันชน คือเป็นชุดความคิดที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ ทั้งในแง่ความคิดและพฤติการณ์ เป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาเผชิญหน้ากันในนั้นด้วยคุณค่าบางอย่างที่อาจเหมือนหรือต่างกันในร
Yeed Piriya
สมัยที่ผู้เขียนเรียนมหาลัย มีอาจารย์ท่านหนึ่งในคณะเคยเสนอให้ผมลงไปออกแบบการเล่าเรื่องวิธีคิดในการสร้างสันติภาพแก่เด็กนักเรียนผ่านการ์ตูนเรื่องนารูโตะ ตอนนั้นผมยังเข้าใจว่า การ์ตูนเรื่องนารูโตะมันเน้นหนักไปทางปรัมปรา (Mythology) แบบญี่ปุ่น จนเมื่อไม่นานมานี้ ผมเริ่มเข้าใจว่าทำไมอาจารย์ท่านนั้นถึง
Yeed Piriya
ม.อ. หรือ ปอเนาะ ?
Yeed Piriya
ประมาณ10 นาฬิกา ของวันนี้ (2 สิงหาคม 2562) ขณะที่นั่งเลื่อนจอเฟซบุ๊คไปมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ข่าวการพบวัสดุต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นระเบิดตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วบนฟีดข่าว การจับจ้องของอัลกอริทึมเพื่อนำเสนอความตื่นตระหนกดัง
Yeed Piriya
เป็นเรื่องดีไม่น้อยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปีการศึกษานี้ ได้ต้อนรับขับสู้น้องใหม่สงขลานครินทร์ถิ่นตานี ด้วยกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นพหุวัฒนธรรมผ่านสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองปัตตานี โดยจุดสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้น ล้วนมีความสำคัญในฐานะความทรงจำทางวัฒนธรรมของชุมชนและประวัติศาสตร์ใ
Yeed Piriya
กระแสสังคมปัจจุบัน มักให้ความสำคัญต่อการหยิบยกความเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทในพื้นที่ต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่ เริ่มเข้ามามีบทบาทในพื้นที่สาธารณะและสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคมมากขึ้น อันที่จริงอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากในหลายช่วงของประวัติศาสตร์คนรุ่นใหม่มักเข้ามามีบทบาทเสมอ เพียงแต่แต