Skip to main content
Carousal
คุณเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกเรียกว่าชีวิต มนุษย์ และความเป็นนิรันดร์บ้างไหมคะ? เป็นเวลากว่าพันปีมาแล้ว ที่มนุษย์เฝ้าขบคิดค้นหาตัวตน คำนิยาม ความหมาย และขอบเขตของสิ่งที่ตนเองมีและเป็น แต่ยิ่งคิด ยิ่งพิจารณามากขึ้นเท่าไร คำถามก็ยิ่งเพิ่มขึ้น และซับซ้อนขึ้นเป็นเงาตามตัว...แม้จะเฝ้าค้นหากันมาเนิ่นนาน ส่งผ่านกระบวนการคิดคนแล้วคนเล่า ยุคสมัยแล้วยุคสมัยเล่า แต่ก็ดูเหมือนว่า เราจะยังไม่เคยเข้าใกล้ผลลัพธ์มากพอที่จะทำให้รู้สึกพอใจได้เลย  
สวนหนังสือ
นายยืนยง"ความรู้รสในกวีนิพนธ์เป็นเรื่องเฉพาะตัว ตัวใครก็ตัวใคร จะมาเกณฑ์ให้มีความรู้สึกเรื่องรสของศิลปะเหมือนกันทีเดียวไม่ได้  ถ้าทุกคนรู้รสของศิลปะแห่งสิ่งใดเหมือนกันไปหมด สิ่งนั้นก็เป็นสามัญไม่ใช่มีค่าแห่งศิลปะที่สูง” ท่านเสฐียรโกเศศเขียนไว้ในหนังสือ รสวรรณคดี (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๐๓) ครั้นแล้วความซาบซึ้งในรสของกวีนิพนธ์อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคุณผู้อ่านเล่าเป็นอย่างไรหนอ ในสถานการณ์ที่กระแสข่าวเน้นนำเสนอทางด้านเศรษฐกิจการเมือง ความเป็นอยู่ของกวีนิพนธ์จึงดูเหมือนจะซบเซาเหงาเงียบไป ทั้งที่เราต่างก็เติบโตมาท่ามกลางเบ้าหลอมแห่งศิลปะของกวีนิพนธ์ด้วยกัน ทั้งจากเพลงกล่อมเด็ก คำสอนของผู้หลักผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ ... นอกจากว่า บางขณะเราอาจเผลอลืมไปเท่านั้น หากเมื่อกระแสสำนึกถูกปลุกกระตุ้น เราอาจนึกถึงขึ้นมาได้  
Carousal
เวลาที่คุณนั่งลงตรงหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตแล้ว คุณทำอะไรกันบ้างคะ?เมื่อปี 2004 ตำนานแห่งโลกอินเตอร์เน็ตบทหนึ่งได้เริ่มต้นขึ้นบนกระดานหนุ่มโสดแห่ง 2 channel (กระดานข่าวที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น คงทำนองเดียวกันกับ pantip.com ของบ้านเรา) เมื่อชายหนุ่มคนหนึ่งได้โพสต์กระทู้เล่าเรื่องราวที่เขาเพิ่งประสบมาบนรถไฟระหว่างทางกลับจากอาคิฮาบาระ เรื่องราวน่าตื่นเต้น ที่เขาคิดว่ามันคงจะมีชีวิตอยู่เพียงชั่ววัน และมีอายุอยู่ในใจเขานานกว่านั้นอีกเพียงนิดหน่อย กลับกลายเป็นเพียงจุดเริ่มต้นจุดเล็ก ๆ ของตำนานที่น่าประทับใจซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดเป็นหนังสือ หนังสือการ์ตูน และละครโทรทัศน์ในที่สุดใช่แล้วค่ะ ฉันกำลังพูดถึง Densha Otoko หรือ Chat รักหนุ่มรถไฟนั่นเอง
สวนหนังสือ
นายยืนยง(หมายเหตุ ภาพนี้เป็นภาพปก ฉบับที่ ๔ ปีที่ ๓๒ เดือน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑)ภาพจาก : http://burabhawayu.multiply.com/reviews/item/16 ชื่อนิตยสาร : ปาจารยสาร ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๒๘ เดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕จัดพิมพ์โดย : บริษัท ส่องศยาม
เด็กใหม่ในเมือง
แม้ว่าช่วงนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงตกต่ำของวงการดนตรีไทย ด้วยยอดขายของซีดีที่นับวันจะต่ำเตี้ยติดดินลงทุกที แต่ถ้าเรามองกันถึงเนื้องาน ในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้มีงานที่น่าสนใจออกมาหลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็นงานของภูมิจิตที่ผมพูดไปถึงเมื่อคราวที่แล้ว, โปรเจ็กต์โฟล์คของคุณมาโนช พุฒตาลที่เริ่มต้นด้วยซิงเกิ้ล “อยู่อยุธยา” (ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงงานที่ผมสนใจด้วยความลำเอียงล้วนๆ อย่างอัลบั้มใหม่ของโฟร์ – มด... แหม ก็น้องมดเขาน่ารักนี่ อิอิ...)รวมถึงงานชิ้นนี้ที่ผมจะพูดถึงในครั้งนี้ด้วยผมกำลังจะพูดถึงอัลบั้ม “ต้นฉบับเสียงหวาน” ของ “สวีทนุช” ครับ
Carousal
คุณชอบฟังดนตรีคลาสสิคหรือเปล่าคะ?ถ้าพูดถึงการ์ตูนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิค คงมีหลายคนนึกถึงการ์ตูนที่กลายมาเป็นซีรีส์เรื่องดัง อย่าง Nodame Cantabile (วุ่นรักนักดนตรี) แต่วันนี้ ฉันจะมาชวนคุณคุยถึงการ์ตูนอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งถึงแม้จะไม่ดังเท่า แต่ก็เป็นหนึ่งเดียวในดวงใจของนักอ่านหลายคนเลยละค่ะ Piano-no Mori (ป่าแห่งเปียโน)
สวนหนังสือ
นายยืนยงบทวิจารณ์นวนิยาย:    สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ THE NAME OF THE ROSEผู้ประพันธ์    :    อุมแบร์โต เอโก  UMBERTO ECOผู้แปล         :    ภัควดี  วีระภาสพงษ์   จากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของ วิลเลียม วีเวอร์ บรรณาธิการ      :    วิกิจ  สุขสำราญสำนักพิมพ์      :     โครงการจัดพิมพ์คบไฟ  พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม พ.ศ. 2541
Carousal
คุณคะ คุณเคยมีประสบการณ์แปลก ๆ ที่อธิบายไม่ได้ เช่นเห็นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น ได้ยินสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ยิน หรือได้กลิ่นที่คนอื่นไม่ได้กลิ่นบ้างไหมคะ?เปล่าค่ะ ฉันไม่ได้กำลังจะมาชวนคุณเล่าเรื่องผี (ถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้วฉันจะชอบฟังมากก็ตาม) แต่กำลังจะชวนคุณคุยเรื่องสมองและการทำงานของมันค่ะเกริ่นอย่างคร่าว ๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้เรียนสายวิทย์ สมองเป็นอวัยวะศูนย์กลางของระบบประสาท ทำหน้าที่รับกระแสประสาทที่ส่งมาจากเซลล์รับสัมผัสที่ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย นำมาแปลผลเป็นความรู้สึกต่าง ๆ ไม่ว่าเจ็บ ร้อน รสชาติ เสียง หรือภาพที่มองเห็นยกตัวอย่างการมองเห็น เมื่อเราลืมตาขึ้น เซลล์รับภาพของเราได้รับสัญญาณจากแสงและสีของสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า มันจะเปลี่ยนสิ่งที่มองเห็นนั้นให้กลายเป็นกระแสประสาท ซึ่งมีลักษณะคล้ายกระแสไฟฟ้า ไหลเป็นระลอกไปตามเซลล์ประสาท ส่งต่อกันจากเซลล์สู่เซลล์ เรื่อยไปจนกว่าจะถึงสมอง และสมองจะเปลี่ยนกระแสประสาทนั้นออกมาให้เป็นภาพ ก่อนที่จะนำไปประมวลผลว่าภาพนั้นคือภาพอะไรให้จิตสำนึกของเราได้รับรู้ต่อไปแน่นอน ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการส่งกระแสประสาท หรือการแปลผลของสมอง ภาพที่คุณมองเห็นก็จะแตกต่างไปจากภาพที่คนอื่นมองเห็น อันที่จริงแล้ว ไม่มีใครรู้อย่างเป็นรูปธรรมว่าภาพของสิ่งของสิ่งเดียวกันที่คนสองคนมองเห็น เป็นภาพเดียวกันจริงหรือไม่ ภาพที่คุณมองเห็น เป็นสิ่งที่มีเพียงคุณกับสมองของคุณเท่านั้นที่รับรู้ คุณไม่สามารถแบ่งปันมันกับคนอื่น มันเป็นความลับของคุณ ความลับที่เกิดขึ้นมาภายในตัวคุณ และเป็นของคุณเท่านั้น แต่ใน Top Secret ความลับของคุณจะไม่ใช่ความลับอีกต่อไป เมื่อวิทยาการเจริญก้าวหน้า และเครื่อง MRI Scanner เข้ามามีบทบาทในการสืบสวนสอบสวน...หากคุณถูกโจรถูกฆ่าตายอย่างเป็นปริศนาในสถานที่ซึ่งปราศจากพยานบุคคลหรือกล้องวงจรปิด มีคนพบศพของคุณภายในสิบชั่วโมงหลังเกิดเหตุ และสมองของคุณไม่ได้รับความเสียหาย พวกเขาจะนำสมองของคุณเข้าเครื่อง MRI Scanner ปล่อยกระแสไฟฟ้าสม่ำเสมอแบบเดียวกันกับตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ใส่สมองของคุณ จากนั้น สมองของคุณก็จะเริ่มฉายทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณมองเห็นภายในระยะเวลาห้าปีออกมาบนหน้าจอมอนิเตอร์...ตั้งแต่รูปพรรณสันฐานของคนร้าย อาวุธที่ใช้ วิธีการที่คุณถูกฆ่า เลยไปจนถึงภาพต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของคุณ ไม่ว่าคุณจะเป็นภาพที่คุณอยากให้เห็นหรือไม่...ภาพอาหารแต่ละมื้อที่คุณกิน ภาพผู้คนที่คุณพบ ภาพสถานที่ต่าง ๆ ที่คุณเคยผ่าน ภาพตอนที่คุณเข้าห้องน้ำ และแม้แต่ภาพตอนที่คุณอยู่บนเตียงนอน
Carousal
ท่ามกลางทะเลดาวที่พร่างพราวอยู่บนฟากฟ้าสีนิล ดวงจันทร์ทอแสงอยู่เหนือยอดโดมบนทะเลทรายที่กว้างไกลสุดสายตา เสียงขับลำนำระลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอนอันอยู่ไกลแสนไกล คุณเคยได้ยินเรื่องราวของกษัตริย์ผู้สูญสิ้นความเชื่อมั่นในรัก และหญิงสาวผู้ต่อกรกับความเกรี้ยวกราดด้วยปัญญาตลอดเวลาหนึ่งพันกับอีกหนึ่งราตรีบ้างหรือเปล่าคะ?พันหนึ่งราตรี หรืออาหรับราตรี (One Thousand and One Nights, Arabian Night) เป็นนิทานโบราณที่เล่าขานกันในหลายประเทศมาตั้งแต่ราวคริสศตวรรษที่สี่ กล่าวกันว่ามีผู้แต่งหลายคน ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นตำนานหรือนิทานของแต่ละท้องถิ่น ที่เหล่านางห้ามหรือนางทาสซึ่งถูกเก็บตัวไว้ในฮาเร็มเล่าสู่กันฟังเพื่อบรรเทาความเหงา ความเบื่อหน่าย และเพื่อเป็นการระลึกถึงบ้านเกิดที่ตนเองคงไม่มีโอกาสได้กลับไปอีกชั่วชีวิตหากคุณไม่เคยทราบมาก่อน พันหนึ่งราตรีเป็นเรื่องราวของสุลต่านชาร์ยาร์ (Shahryar) กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย พระองค์มีมเหสีโฉมงามที่ทรงสนิทเสน่หากว่าสตรีใด ๆ อยู่นางหนึ่ง ทว่านางกลับตอบสนองความรักของพระองค์ด้วยการทรยศหักหลัง เมื่อสุลต่านชาร์ยาร์ทรงจับได้ว่ามเหสีของพระองค์คบชู้กับทาสผิวดำ ก็ทรงเสียพระทัยมาก มีรับสั่งให้ประหารชีวิตนางเสีย และตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะไม่เชื่อถือในความสัตย์ของสตรีที่มีหัวใจเอาแน่เอานอนไม่ได้อีกต่อไปแล้วแต่นครจำเป็นต้องมีราชินี สุลต่านชาร์ยาร์จึงจำต้องมีบัญชาให้รับตัวหญิงสาวพรหมจารีเข้าวังเพื่ออภิเษกเป็นเจ้าสาวคนใหม่ แต่เจ้าสาวเหล่านั้นเป็นราชินีเพียงแค่ชั่วคืน เมื่อถึงรุ่งเช้า พวกนางจะถูกนำตัวไปประหาร เพื่อไม่ให้หญิงใดมีโอกาสทรยศต่อองค์สุลต่านได้อีกบัญชาของสุลต่านชาร์ยาร์ ทำให้พ่อแม่ทั้งหลายที่มีบุตรีอยู่ในวัยอันสมควรมีคู่ต่างหวาดผวากันทั่วไป ด้วยเกรงว่าสักวันจะถึงคราวของครอบครัวตนเอง ในที่สุด เชเฮราซาด (Scheherazade) บุตรีของผู้นำองคมนตรีก็อาสาเข้าวังไปเป็นเจ้าสาว เพื่ออาศัยอุบายแก้ไขพระทัยอันโหดร้ายของสุลต่าน โดยมีชีวิตของนางเองเป็นเดิมพัน
สวนหนังสือ
นายยืนยง  บทวิจารณ์นวนิยาย:    สมัญญาแห่งดอกกุหลาบ THE NAME OF THE ROSEผู้ประพันธ์            :    อุมแบร์โต เอโก  UMBERTO ECOผู้แปล                 :    ภัควดี  วีระภาสพงษ์   จากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของ วิลเลียม วีเวอร์ บรรณาธิการ         :    วิกิจ  สุขสำราญสำนักพิมพ์           :    โครงการจัดพิมพ์คบไฟ  พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม พ.ศ. 2541
Carousal
นักเขียนการ์ตูนคนแรกที่คุณจำชื่อได้ คือใครคะ?สมัยที่ฉันยังเด็ก เพิ่งอ่านหนังสือออก และเริ่มต้นอ่านการ์ตูนเป็นครั้งแรก ๆ นั้น เป็นยุคที่การ์ตูนไม่มีลิขสิทธิ์กำลังเฟื่องฟู มีสำนักพิมพ์มากมายที่นำการ์ตูนญี่ปุ่นมาแปลเป็นภาษาไทยขาย โดยไม่ใส่ใจว่าใครเป็นคนเขียนหรือคนวาดการ์ตูนเรื่องนั้น มีนักเขียนการ์ตูนหลายคนที่ฉันตามอ่านงานของเขาที่วางตลาดแทบทุกเล่ม แต่ไม่เคยได้รู้เลยว่าเขาชื่ออะไร จนกระทั่งโตและตลาดการ์ตูนบ้านเราเปลี่ยนไปเป็นตลาดลิขสิทธิ์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแต่ทั้ง ๆ ที่ตลาดการ์ตูนช่วงนั้นเป็นอย่างนั้น และทั้ง ๆ ที่ยังเด็ก แต่ฉันก็ยังอุตส่าห์รู้จักชื่อนักเขียนการ์ตูนเข้าคนหนึ่งจนได้เขาคือ Fujiko Fujio คนเขียนโดราเอมอน การ์ตูนเรื่องโปรดโดนใจตลอดกาลของฉันนั่นเอง
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston" นักวิจารณ์บางแห่งบอกว่าเพลงนี้ส่งกลิ่นอายของความกร้าวแกร่งแบบคนงานคอปกน้ำเงินวงชื่อแปลกวงนี้รวมตัวกันครั้งแรกในช่วงกลาง 90's พวกเขาเริ่มเล่นดนตรีกันโดยอาศัยชั้นใต้ดินในร้านตัดผมของเพื่อนเป็นที่จัดแสดง พอพบว่ามีคนชอบก็เริ่มอัดอัลบั้มและออกทัวร์ โดยในยุดแรก ๆ Dropkick Murphys เล่นพังค์ในแนวย่อยที่เรียกว่า Oi!ต้องอธิบายสักนิดว่าแนวที่ชื่อว่า Oi! (แปลกพอ ๆ กับชื่อวง)  นี้เป็นพังค์ที่เดิมทีมาจากชนชั้นแรงงานอังกฤษ พวกแนวนี้ไม่ค่อยเล่นเนื้อหาการเมืองเท่าไหร่ แต่จะเน้นพูดถึงชีวิตประจำวัน บางครั้งก็พูดถึงฟุตบอล เหล้ายาปลาปิ้ง มีบ้างที่บางครั้งก็ต่อยอดไปถึงสังคมได้อย่างเรื่องถูกปลดจากงาน ด่าตำรวจ จิกรัฐบาล (สองอย่างหลังนี้ก็มีในพังค์แนวอื่น ๆ เหมือนกันครับ)จะว่าบางทีในความเป็นเนื้อหาแบบ Oi! มันก็เป็นภาพสะท้อนสังคมในอีกแบบ ที่อาจไม่สวยงามแบบเพื่อชีวิต มีท่าทีขี้เล่นแบบลูกทุ่งไทย ขณะเดียวกันก็แฝงอารมณ์ไม่พอใจสภาพความเป็นอยู่จากเบื้องลึกภายใน มาจากการเก็บกดไม่มีที่ระบาย จนไม่พ้นต้องมาระบายกับคนที่ต้องทนอยู่กับความเจ็บปวดเหมือนกัน เพลงอย่าง FightStarter Karaoke ก็ชวนให้นึกถึงภาพแบบนั้นอยู่"Riot tonighteverybody let's go gonna start a fightbut with who I don't knowThis world is not what it seemsThese beer balls are ruining my dreams.""ออกลุยในคืนนี้ทุกคนพร้อมจะมีเรื่องต่อยตีกับคนที่ไม่รู้กระทั่งว่าเป็นใครเพราะโลกมันไม่เป็นดังที่คาดไว้เหล้ายาก็ไม่อาจบรรเทาความฝันที่ถูกทำลาย"- FightStarter Karaokeด้วยความเป็นวัยเฮ้ว เนื้อหายุคแรก ๆ ของ Dropkick Murphys เลยแสดงออกอย่างวัยรุ่น ด้วยท่าทีดิบ ๆ แบบเพลงที่ว่ามา มีบ้างที่เป็นเรื่องเซ็งตำรวจ เบื่ออำนาจรัฐบาล เช่นเดียวกับวงแนวนี้โดยทั่วไป แต่พอพวกเขาเติบโตขึ้น พื้นเพชีวิตพวกเขาที่มาจากคนระดับล่าง ๆ ของสังคมก็เริ่มทำให้พวกเขามองอะไรลึกขึ้น หรืออย่างน้อยก็มองผ่านชีวิตจริงมากขึ้นจนกระทั่งสหพันธ์แรงงานและสภาอุตสาหกรรมสหรัฐฯ (AFL-CIO) ได้ ชวนให้พวกเขาไปเล่นในวันแรงงานสากลปี ค.ศ. 2001 พวกเขาดีใจมาก ไม่คิดว่าวงที่เคยเล่นเหมือน "หนูในชั้นใต้ถุน" (เป็นคำที่พวกเขาตัวเรียกเองตอนนั้น-ผมไม่ได้ตั้งให้นะ) จะมีโอกาสได้เล่นโชว์ในงานที่เต็มไปด้วยผู้คนมากมายDropkick Murphys ไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับวันแรงงานเท่านั้น พวกเขายังมีส่วนร่วมกับสหภาพ International Brotherhood of Electrical Workers (IBEW) อีกด้วย เนื้อหาในอัลบั้มหลัง ๆ ของวงพังค์ไอริชก็เริ่มพูดถึงชีวิตแบบปากกัดตีนถีบของคนงาน อิสรภาพและทางเลือกที่จำกัดเพราะฐานะทางเศรษฐกิจ อย่างเนื้อเพลง Worker's Song หรือ "เพลงคนงาน" ยังคงพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับกรรมาชีพระดับล่างในหลายประเทศได้อย่างจริงแท้"We're the first ones to starve the first ones to dieThe first ones in line for that pie-in-the-sky*And always the last when the cream is shared outFor the worker is working when the fat cat's** about""พวกเราจะเป็นพวกแรกที่อดอยาก พวกแรกที่จะตายเป็นพวกแรกที่ไปต่อแถวรับฟังคำสัญญาอันงมงายแต่จะเป็นพวกสุดท้าย ที่ได้ลิ้มรสครีมที่ได้แบ่งคนอื่นไปเพราะคนงานต้องก้มหน้าทำงาน ขณะที่แมวอ้วนอยู่เฉยไม่ทำอะไร"- Worker's Song(*pie-in-the-sky เป็นสำนวนแปลว่า ขนมพายบนสรวงสวรรค์ สื่อถึงการให้คำสัญญาแบบที่ไม่สามารถทำได้ในความเป็นจริง)(** Fat Cat หรือแมวอ้วน เป็นสำนวนใช้เรียก คนรวยที่แสวงหาหนทางสู่อำนาจ)กลุ่มแฟนเพลงของพวกเขาก็หลากหลายขึ้น ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจทำให้ทั้งคนงานคอปกน้ำเงิน (ที่ทำงานใช้แรงงานในโรงงาน ยามรักษาความปลอดภัย ฯลฯ) และคนงานคอปกขาว (พนักงานออฟฟิศ เลขาฯ เสมียน ฯลฯ) ต้องประสบปัญหาอะไรใกล้เคียงกัน ไม่แปลกหากเพลงของ Dropkick จะสามารถเป็นเพื่อนใจ ร่วมเรียงเคียงบ่ากับคนทำงานทั้งสองรูปแบบได้Dropkick Murphys ในงาน St. Patrick Day 2002(รูปถ่ายโดย Angela Giovine , ที่มา http://www.dropkickmurphys.com/)ในอัลบั้มล่าสุดของ Dropkick คือ The Meanest of Times นั้น Ken Casey บอกว่า มีเนื้อหาที่สะท้อนเรื่องราวของกรรมชาชีพออกมาในมุมมองที่มองโลกในแง่ดี เท่าที่ได้ฟังมาบางเพลงของ Dropkick ก็มีเนื้อหาแฝงเรื่องของชาวไอริชอพยพไว้ด้วยดนตรีส่วนใหญ่ของ Dropkick Murphys ไม่พ้นเป็นพังค์ที่ Live and Loud แต่ก็ยังได้ผสานดนตรีพื้นบ้านของไอริช-เชื้อชาติเดิมของพวกเขาลงไปด้วย อย่างบางเพลงก็มีปี่แบ๊กไปป์ (บ้านเราเรียกปี่สก็อตฯ) ก็ลอยเด่นออกมาน่าจดจำ ตรงนี้ถือเป็นการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่มีความหมาย และในปี ค.ศ. 2002 แสดงในงาน St. Patrick's day ที่รัฐบอสตัน ซึ่งมันคงเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาภาคภูมิใจไม่น้อย เพราะงาน St. Patrick เป็นการเฉลิมฉลองที่สำคัญของชาวไอริชทั่วโลก ซึ่งเป็นทั้งงานรื่นเริงและงานแสดงทางวัฒนธรรมใช่ที่ว่าตัวดนตรีเองไม่อาจเปลี่ยนโลกแบบปุบปับหรือทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้นอย่างทันตาเห็นได้ แต่วงดนตรีชาวไอริชวงนี้ก็ได้ใช้เป็นเครื่องมือรวบรวมเงินทุนช่วยเหลือให้หน่วยงานที่เคลื่อนไหว หรือแม้แต่เป็นหมุดหมาย เป็นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ ของคนที่รวมตัวกันศิลปะทุกอย่างมันทำเพื่อศิลปะในตัวมันเองอยู่แล้ว แต่หากศิลปะกับชีวิตคนมันยังแยกกันไม่ขาด มันก็ต้องเกี่ยวพันกับสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างน้อยสำหรับคนอเมริกัน Dropkick Murphys ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในทางเลือก สำหรับวันพรุ่งนี้ของยุคอุตสาหกรรม