Skip to main content

ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ


ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา


หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย

ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก โดยเฉพาะเวลานั่งหรือนอนฟังในบ้าน มันทำให้นึกถึงบรรยากาศงานศพขึ้นมาทันที เค้าบอกว่าทำให้เค้ารู้สึกไม่ค่อยดีเลย” พี่บิหนะ ผู้ประกาศข่าวภาคภาษาปกาเกอะญอโทรมาบอกผม


นอกจากมีคนโทรบอกพี่บิหนะแล้ว ช่วงแรกๆที่เพลงนี้ออกมา เวลาผมเดินทางไปเล่นดนตรีในชุมชนปกาเกอะญอที่ยังนับถือศาสนาดั้งเดิม มักมีคนพูดกับผมในลักษณะนี้เช่นกัน ซึ่งผมเองคาดไม่ถึงว่ามันจะมีผลต่อจิตใจเขามากเพียงนี้


เมื่อการตายของพาตี่ปุนุ เวียนมาบรรจบครบวาระหนึ่งปี มีการจัดงานรำลึกที่บ้านเกิดของเขา ณ บ้านแม่วาง ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ผมมีโอกาสได้ไปร่วมงานโดยที่ผมไม่ลืมพกเพลงปูนุ ดอกจีมูไปด้วย โดยในวันนั้นมีนักดนตรีปกาเกอะญอมาร่วมหลายคน เช่น พาตี่อ็อด จุ๊ย เส่อา โดยที่แต่ละคนได้สร้างความบันเทิงให้กับพี่น้องปกาเกอะญอที่มาร่วมงานอย่างไม่ผิดหวัง


เมื่อถึงช่วงที่ผมต้องขึ้นไปทำหน้าที่บนเวที ความกังวลมาโอบกอดผมทันที ผมรู้สึกหวั่นๆกับเพลงพาตี่ปูนุ ว่า ผู้คนจะรับท่อนของ ธาโย ได้หรือไม่ เพราะเป็นท่อนเฉพาะสำหรับงานศพ แต่ก่อนผมจะขึ้นเวที พิธีกรได้ประกาศว่าว่า

พบกับกับผู้ที่เขียนเพลง ปูนุ ดอกจีมู” ทำให้ความมั่นใจกลับคืนมาบ้างว่า อย่างไรเสีย ก็ต้องร้องเพลงนี้ในค่ำคืนนี้


แรกๆผมยังไม่กล้าร้องเพลงปุนุ ผมร้องเพลงอื่นก่อนสองเพลง แล้วผมจึงนำเพลงปูนุ มาบรรเลง เพียงแค่เสียงอินโทร คนฟังก็จำได้ว่าเป็นเพลงปูนุ ดอกจีมู สังเกตได้จากเสียงตบมือต้อนรับเพลงของคนฟัง ผมเริ่มร้องและร้องต่อไปจนใกล้ถึงท่อน ธาโย มันจะเป็นท่อนย้ำชื่อของ ปูนุ ปูนุ ดอกจีมู พี่น้องปกาเกอะญอที่มาฟังในวันนั้นที่ร้องเพลงนี้ได้ เริ่มขยับปากร้องร่วมกับผม ปูนุ ปูนุ ดอกจีมู พอถึงท่อน ธาโย ผมกะว่าจะไม่ร้องเพราะผมกลัวคนฟังจะรับไม่ได้ ก่อนที่ผมจะหยุด คนที่มาร่วมงานชิงร้องก่อนผม โย เอ โย ออๆๆๆๆๆๆ คนที่ร้องได้ในงานก็ร่วมกันร้องท่อนนี้ จนผมขนลุกไปหมด ผมเพลินกับการฟังคนฟังร้องท่อน ธาโย และดีดกีต่าร์ตาม จนสายกีตาร์ผมขาดสองเส้นในคราวเดียวกัน


พี่น้องครับ เอาไว้แค่นี้นะครับ สายกีตาร์ผมขาดไปสองสายแล้ว” ผมบอกกับคนดูในวันนั้น หลังจากนั้นพี่พฤ นักต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าอีกคนหนึ่งของปกาเกอะญอขึ้นมาพูดบนเวที


ผมว่านี่เป็นสิ่งที่พาตี่ปูนุ ต้องการพูดอะไรบางอย่างกับพวกเรา ผ่านบทเพลงที่เขียนถึงเขา สังเกตได้จากการที่สายกีตาร์ที่ชิ เล่นขาดสองสายในเวลาเดียวกัน อยากให้พี่น้องยืนหยัดในวิถีของตนเอง ดูแลทรัพยากรในชุมชนให้ดี เราจะอยู่กับมันได้ตลอดไป”


แต่สิ่งที่ผมแปลกใจคือ งานนี้แม้ไม่ใช่งานศพแต่ผมร้องเพลงปูนุ ได้โดยที่ไม่มีใครว่าอะไรเลย

อาจเป็นเพราะว่าเป็นงานที่รำลึกถึงคนตายจริงๆ” ผมนึกในใจ


แต่ที่แปลกกว่านั้น บางครั้งเวลาที่ผมไปเล่นดนตรีในชุมชนปกาเกอะญอที่เป็นคริสเตียน ก็มีการเรียกร้องให้ร้องเพลงนี้บ้าง แต่เมื่อร้องถึงท่อน ธาโย แต่ไม่มีการทักท้วงให้หยุด กลับปล่อยให้ร้องตามสบายและร้องร่วมด้วยซ้ำ แม้เป็นงานรื่นเริงก็ตาม เขาไม่ถือแล้วหรือ เพลงต้องห้ามเหล่านี้ หรือเขาไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเพลงต้องห้ามเหล่านี้แล้ว


บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย