Skip to main content

  

'มาริโอ โรปโปโร' เป็นลูกชายชาวประมง เติบโตมาบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลี ที่ซึ่งไม่มีน้ำประปาและผู้คนบนเกาะส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ...

ปาโบล เนรูด้า' เป็นกวี-นักการทูต-นักการเมือง และเป็น คอมมิวนิสต์' ชาวชิลี มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่ต้องลี้ภัยไปอยู่บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในอิตาลีช่วงปี 1952 และที่นั่นมีบุรุษไปรษณีย์เพียงคนเดียว...

บุรุษไปรษณีย์นามว่า มาริโอ โรปโปโร'

:::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์:::

 

Il Postino หรือ The Postman เป็นหนังภาษาอิตาลี แต่เป็นผลงานของผู้กำกับชาวอังกฤษ ไมเคิล แรดฟอร์ด' ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์หลายสาขาเมื่อปี 2538 และดูเหมือนว่าจะไม่ได้รางวัลใหญ่ติดไม้ติดมือมามากนัก แต่จัดเป็นหนังที่ผู้ชมกล่าวถึงมากมาย ถึงขั้นกลายเป็นหนังในดวงใจของคอหนังหลายคน

สิบกว่าปีผ่านไป แผ่นดีวีดีลิขสิทธิ์ของหนังเรื่องนี้ถูกนำมาวางขาย พร้อมติดป้าย ลดราคา' ตามร้านขายหนังทั่วไปในบ้านเรา ถือเป็นการลดราคาได้ถูกกาละเทศะอย่างยิ่ง! โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ฝนตก อากาศชวนหดหู่ และเศรษฐกิจฝืดเคืองจนไม่อยากออกจากบ้านไปผลาญเงินเล่น แต่เหมาะควรกับการนอนเอกเขนกดูหนังดีๆ สักเรื่องมากกว่า

หนังของผู้กำกับแรดฟอร์ดเรื่องนี้บอกเล่าชีวิตเรียบเรื่อยของ มาริโอ' ซึ่งเปรียบเหมือนเรือลอยเท้งเต้งกลางทะเล ขาดหางเสือและไม่มีเข็มทิศ เพราะถึงแม้ว่าจะเิติบโตมาในชุมชนชาวประมง แต่เขาก็ไม่เคยคิดจะเอาดีทางการหาปลา และทางเลือกอื่นๆ ในชีวิตก็ใช่ว่าจะมีมาให้เลือกมากมายนัก

หลายคนมองว่ามาริโอเป็นเพียงหนุ่มขี้เกียจ หนักไม่เอา เบาไม่สู้ แต่สิ่งที่เขาพยายามพูดอ้อมๆ ให้พ่อเข้าใจมาตลอดว่าคลื่นลมรุนแรงในท้องทะเลทำให้เขารู้สึกวิงเวียนเกินกว่าจะทำอะไรได้ ส่วนพ่อที่เลี้ยงลูกชายโข่งมาหลายปีดีดักก็ตัดสินใจยื่นคำขาดในวันหนึ่งให้มาริโอไปหางานอื่นทำเป็นหลักแหล่งเสียที

เมื่อเห็นป้ายประกาศรับสมัคร บุรุษไปรษณีย์ 1 ตำแหน่ง' มาริโอจึงเดินเข้าไปของานทำ พร้อมจูงจักรยานเก่าแก่ของตัวเองไปด้วย และคุณสมบัติแค่ พออ่านออกเขียนได้' กับ มีจักรยานเป็นของตัวเอง' ทำให้มาริโอได้งานนี้ไปอย่างง่ายดาย

ผู้ที่มาริโอต้องไปส่งจดหมายให้มีเพียงคนเดียว...

ผู้รับจดหมายนามว่า ปาโบล เนรูดา'

เมื่อปี 1952 ปาโบล เนรูด้า' ต้องลี้ภ้ยไปจากชิลี หลังประธาธิบดีกาเบรียล กอนซาเลส วิเดลา ผู้นำพรรคแรดิคัลขอร้องให้เนรูด้าช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการหาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่เมื่อได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกลับหักหลัง สั่งเจ้าหน้าที่รัฐกวาดล้างและจับกุมผู้สนับสนุนพรรคคอมนิวนิสต์ รวมถึงบรรดานักคิด-นักเคลื่อนไหวหัวเอียงซ้ายทั้งหมด

ที่หมายปลายทางของเนรูด้าจึงมุ่งไปที่เกาะเล็กๆ ในอิตาลี และที่นั่นเป็นที่ที่กวีกับบุรุษไปรษณีย์ได้รู้จักกัน

เนรูด้า หรือ ดอน ปาโบล' ตามที่มาริโอเรียกด้วยความยกย่อง เป็นลูกค้าเพียงคนเดียวของที่ทำการไปรษณีย์บนเกาะ เพราะด้วยเหตุผลที่บอกไปแล้วคือคนส่วนใหญ่ที่นั่น ไม่รู้หนังสือ' และวุ่นอยู่กับการทำมาหากิน ไม่มีเวลามาเขียนหรืออ่านจดหมายสักฉบับ

กระนั้น วงจรชีวิตของคนบนเกาะก็เปลี่ยนแปลงไปเมื่อบุคคลระดับโลกอย่างเนรูด้าแวะมาอยู่อาศัย จดหมายนับสิบนับร้อยฉบับถูกส่งมาจากทั่วโลก เพื่อรอให้เนรูด้าเปิดอ่าน และมาริโอเป็นบุรุษไปรษณีย์ที่ได้รับการว่าจ้าง เพื่อส่งจดหมายให้กับเนรูด้าโดยเฉพาะ

ในตอนแรกมาริโอเพียงหวังว่าเขาจะผูกมิตรกับกวีชื่อดัง เืผื่อเอาไว้ไปอวดให้คนอื่นๆ ฟังในภายภาคหน้า แ่ต่เมื่อมีโอกาสได้สนทนากับ ดอน ปาโบล' และอีกฝ่ายอดทนตอบคำถามซื่อๆ เกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆ นานาที่เขาถาม โดยไม่มีท่าทีรังเกียจ คนความรู้น้อย' มิตรภาพระหว่างกวีและบุรุษไปรษณีย์ก็แน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆ

มาริโอเปรียบคำพูดและบทกวีของเนรูด้ากับ คลื่นในทะเล' ซึ่งซัดสาดใส่เขาจนรู้สึกโคลงเคลงเหมือนเป็นเรือปะทะคลื่นลมปั่นป่วน ขณะเดียวกันก็เป็นแรงดลใจให้เขาขวนขวายหาหนังสือและบทกวีอืนๆ มาอ่านด้วยความใคร่รู้ ส่วนดอน ปาโบลก็ได้ครุ่นคิด-ทบทวน และแลกเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลกผ่านคำถามซื่อๆ ตรงไปตรงมาของมาริโอ

หากจะพูดให้เจาะจงกว่านั้นก็คือมาริโอได้กระตุ้นเตือนให้เนรูด้ารำลึกถึงความมหัศจรรย์ของถ้อยคำ การสื่อสาร และการใช้ภาษา ขณะที่ดอน ปาโบล ทำให้คนที่ไม่มั่นใจในตัวเองอย่างมาริโอรู้สึก มีคุณค่า' และได้รับการยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น

ยิ่งไปกว่านั้น ดอน ปาโบล ยังเป็นพ่อสื่อคนสำคัญที่ทำให้ เบียทริซ' สาวงามประจำเกาะ หลานสาวของดอนน่า โรซ่า เจ้าของร้านเหล้าเคร่งศาสนา ยอมตกลงปลงใจกับหนุ่มที่ดูเหมือนจะไร้อนาคตคนนี้ด้วยความยินดี เพราะอานุภาพแห่งบทกวีแปลกหูและจับใจสาวน้อยมากกว่าคำหยอกล้อที่มักไ้ด้ยินจากปากลูกค้าขี้เหล้าในร้านของป้าเธอหลายเท่าตัวนัก

การมาเยือนของปาโบล เนรูด้าเปรียบเหมือนกุญแจไขสู่โลกใหม่ของมาริโอ โลกซึ่งเขาไม่อับจนถ้อยคำที่จะนำมาสะท้อนความรู้สึกนึกคิด และกระตุ้นให้ตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการค้นพบความกล้าที่ทำให้เขาลุกขึ้นมาโต้แย้งแทนคนอื่นในสิ่งที่เห็นว่าไม่ถูกไม่ควร แม้ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ใช่อย่างที่คิด แต่ถือได้ว่ามาิริโอค้นพบ เสียง' ของตัวเองแล้ว

แต่เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีกอนซาเลส-วิเอลาของชิลี อยู่ในช่วงขาลงเพราะแพ้ภัยในคดีทุจริตฉ้อฉล ผู้นำพรรคสังคมนิยม ซัลวาดอร์ อัลเยนเด' ก็ได้รับเลือกดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อมาด้วยคะแนนถล่มทลาย เนรูด้าจึงได้รับคำเชิญให้เดินทางกลับบ้านเกิดได้

ตำแหน่ง บุรุษไปรษณีย์' ของมาริโอจึงพลอยหลุดลอยไปด้วย เพราะลูกค้าคนเดียวที่มีอยู่ เดินทางไปไกลเกินกว่าเขาจะตามไปส่งจดหมายได้

จากนั้นข่าวคราวของดอน ปาโปล ที่เคยรู้จักก็ห่างไกลออกไปทุกที มุมมองที่มีต่อโลกของมาริโอก็ไม่สดสวยเหมือนเก่า เพราะถูกความจริงปล่อยหมัดน็อคเข้าใส่ไม่ยั้ง พร้อมกับที่บทกวีไพเราะเร้าอารมณ์ซึ่งเคยได้อ่านได้ฟังกลายเป็นเสียงตะโกนสั่งงานของดอนน่า โรซ่า ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายภรรยาที่กุมอำนาจสูงสุดในครอบครัว ตามด้วยเสียงมีดกระทบเขียง เพราะเขาต้องรับหน้าที่พ่อครัวจำเป็นเพื่อช่วยกิจการร้านเหล้าที่กำลังขยายตัว

นอกจากนี้ ดอนน่า โรซ่า มักกระทบกระเทียบให้ฟังเสมอว่าเนรูด้าเป็นเพียง นกกระจอกกินอิ่มแล้วก็บินหนีไป' เพราะหลังจากที่มาใช้เกาะเป็นที่ลี้ภัยและสร้างความทรงจำให้คนมากมาย เนรูด้ากลับไม่เคยส่งจดหมายหรือติดต่อกลับมาหาพวกเขาอีกเลย

 

ชีวิตเรียบเรื่อยของชนชั้นแรงงานหาเช้ากินค่ำเช่นมาริโอ, ดอนน่า โรซ่า หรือแม้แต่จอร์จิโอ หัวหน้าของมาริโอที่มีชีวิตทั้งชีวิตผูกโยงกับที่ทำการไปรษณีย์เล็กๆ โทรมๆ อาจไม่น่าอภิรมย์ในความเป็นจริง แต่เรื่องราวที่ถ่ายทอดใน Il Postino เต็มไปด้วยความงดงามของรายละเอียดปลีกย่อยในชีวิตที่เราอาจเคยมองข้ามไป

ส่วนฉากหลังซึ่งคู่ขนานไปกับชะตากรรมของมาริโอคือบันทึกการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในอิตาลีและชิลี ที่ซึ่งไม่มีคำตัดสินถูกผิดว่าอะไรดีกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์ เผด็จการ หรือประชาธิปไตย ถ้าจะบอกว่ามันคือบันทึกการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองโลกในช่วงนั้นด้วยก็คงไม่ผิดนัก และคำตอบที่ซ่อนอยู่ในหนังของ คนส่งสาร' เรื่องนี้ ก็อยู่ที่การ ตีความ' เหตุการณ์ที่ล้อมรอบตัวเราให้ถ่องแท้

แม้ในสายตาของดอนน่า โรซ่า มองเห็นดอน ปาโบล เป็นเพียงนักฉวยโอกาส และจอร์จิโอชื่นชม ปาโบล เนรูด้า ในฐานะผู้เผยแพร่แนวคิดคอมมิวนิสต์คนสำคัญ และมองว่านั่นคือสถานะที่ทรงคุณค่ามากกว่าการเป็นกวี แ่ต่มาริโอกลับประทับใจมุมมองของเนรูด้าที่สอนให้เขา รู้สึกรู้สา' ต่อสรรพสิ่งรอบตัว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเล็กน้อยหรือดูเหมือนไร้ค่าในสายตาคนอื่นเพียงใด

การที่เนรูด้า มองเห็น' และรับรู้การดำรงอยู่ของสรรพสิ่ง ทำให้เขาไม่มองข้ามมาริโอ และปฏิบัติต่อ บุรุษไปรษณีย์บ้านนอก' อย่างเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ขณะที่ในชีวิตจริงอีกด้านหนึ่ง เนรูด้าเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของโจเซฟ สตาลิน ผู้นำคอมมิวนิสต์ของอดีตสหภาพโซเวียตซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการใช้ความโหดเหี้ยมในการกำจัดศัตรูทางการเมือง

สาระสำคัญใน Il Postino จึงมิได้จำกัดวงแคบเฉพาะเรื่องราวของบทกวีแห่งความรัก หรือการฝ่าฟันอุปสรรคของหนุ่มสาว แต่มันตั้งคำถามถึงการมองชีวิตของตัวเองและคนอื่นๆ ที่มีปฏิสมพันธ์กันอยู่ หนังเรื่องนี้จึงไม่มีการตัดสินหรือพิพากษา หากแต่มี เหตุ' และ ผล' อันเกิดจากสิ่งที่ตัวละครแต่ละคนคิด เชื่อ และลงมือทำ

ในตอนท้ายเรื่อง ความคิดสับสนวนเวียนของมาริโอเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อได้กลับไปบ้านพักริมทะเลที่ดอน ปาโบล เคยใช้ชีวิตอยู่ช่วงหนึ่ง ที่นั่นมาริโอได้ค้นพบความจริงของการมีชีวิต รวมถึงความงดงามของการใช้ชีวิตบนเกาะเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะน่าเบื่อแห่งนี้

มาริโอเริ่มต้นบันทึกเสียงลมพัดผ่านช่องเขา เสียงลมพัดยอดไม้ไหว เสียงคลื่นลูกย่อมซัดหาดทราย และเสียงคลื่นลูกใหญ่กระทบโขดหินดังสนั่น หวังจะส่งไปให้ดอน ปาโบล ได้ฟัง

 

แม้ว่าจดหมายฉบับสุดท้ายของเขาไม่มีวันส่งไปถึงชิลีก็ตาม...

 

 

 

มัสซิโม ทรอยซี (Massimo Troisi) ผู้กำกับ นักเขียนบท และนักแสดงชาวอิตาลีที่รับบทเป็นมาริโอ เสียชีวิตหลังถ่ายทำหนังเรื่องนี้เสร็จเพียง 2 วัน ขณะมีอายุเพียง 41 ปี สาเหตุเพราะเขาขอเลื่อนการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจไปจนกว่าจะถ่ายหนังเสร็จ แต่ไม่ทันได้ผ่าตัดก็จากไปเสียก่อน

ฟิลิปป์ นัวเรต์ (Philipe Noiret) นักแสดงชาวฝรั่งเศสผู้โด่งดังจากหนังอิตาลีอีกเรื่อง ‘Cinema Paradiso' รับบทเป็นปาโบล เนรูด้า เสียชีวิตแล้วเช่นกัน เมื่อปี 2549

ป.ล. Il Postino ดัดแปลงจากหนังเรื่อง Aciente Paciencia ของผู้กำกับ Antonio Skarmeta และหนังสือชื่อเกียวกัน ซึ่งมาริโอเป็นตัวละครสมมติ ขณะที่ปาโบล เนรูด้า ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี 2514

 

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta'…
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2'…
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก…
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย…
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา…
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัยImagine : John LennonImagine there's no heavenIt's easy if you tryNo hell below usAbove us only skyImagine all the people  Living for todayImagine there's no countriesIt isn't hard to doNo greed or hungerAnd no religion tooImagine all the people  Living life in peaceYou may say I'm a dreamerBut I'm not the only oneI hope someday you'll join usAnd the world will live as oneImagine no possessionsI wonder if you canNothing to kill or die forA brotherhood of manImagine all the peopleSharing all the worldผมเคยได้ยินและได้ฟังเพลง Imagine…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์'…
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย   "to prove the Faustian dream to be a nightmare" ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน …