Skip to main content

 


บริวารเงา

 



ขงจื๊อ เป็นชื่อหนึ่งที่ผมได้ยินมาเนิ่นนาน ถ้าจำไม่ผิดอาจจะเป็นหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่อ้างชื่อนี้ขึ้นมาเพื่อพูดถึงปรัชญาในเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ผมมารู้จักเขาอีกครั้งในห้องสมุดช่วงที่กำลังสนใจพวกวิชาปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ฯลฯ  แต่ผมกลับไปชอบปรมาจารย์จีนอีกคนคือ เล่าจื๊อ เสียมากกว่า เพราะว่าแกมีความคิดที่ 'แนว' ดี (อารมณ์ของวัยรุ่นเช่นนี้แล) อีกนัยหนึ่งก็ดูเพี้ยน ๆ อีกนัยหนึ่งก็มีอารมณ์ศิลปินกว่าขงจื๊อ

ขณะที่ผมเห็นว่าขงจื๊อเอาแต่พร่ำบ่นอะไรที่เป็นหลักจริยธรรมน่าเบื่อ ๆ ซึ่งความน่าเบื่อนี้ไม่ใช่ความผิดของขงจื๊อเสียทีเดียว แต่เป็นเพราะหลักจริยธรรมทั้งหลายเหล่านี้มันถูกกรอกหูอยู่ทุกวันในชั้นเรียน และในสื่อต่าง ๆ จน 'วัยรุ่นเซ็ง' ในโลกความจริงที่พวกเขาพบเจอมันไม่เห็นมีอะไรงดงาม ๆ อย่างที่พร่ำสอนไว้เลย

ชีวิตผมดำเนินต่อมาเรื่อย ๆ ผ่านพ้นอะไรมาหลายอย่าง ผาดโผนบ้างน่าเบื่อบ้างเหมือนชีวิตหลาย ๆ คน พบเจอชื่อใหม่ ๆ ที่ผมต้องไปค้นในห้องสมุดหรือตามอินเตอร์เน็ตจนแทบจะลืมชื่อขงจื๊อไปแล้ว มาพบชื่อเขาอีกครั้งจากป้ายโฆษณาภาพยนตร์ในห้างจนความสงสัยผมพุ่งพรวดว่าคนที่มีแนวคิดน่าเบื่อขนาดนี้ถูกนำมาสร้างเป็นหนังได้ด้วยหรือ!?

ถ้าให้พูดแบบแฟร์ ๆ หน่อยล่ะก็ ขงจื๊อเป็นคนที่มีอิทธิพลทางความคิด จิตใจ ของชาวเอเชียตะวันออกอยู่มากที่เดียว โดยต้องนับรวมไปถึงชาวเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในที่อื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดเรื่องการนับถือบรรพบุรุษ เรื่องการนับถืออาวุโส เรื่องการรู้จักหน้าที่ของตนเอง ฯลฯ ทั้งหลายเหล่านี้สืบทอดมาทั้งในรูปแบบของคำสอน พิธีกรรม และวิถีปฏิบัติ ที่คาดว่าชาวไทยเชื่อสายจีนทั้งหลายคงคุ้นเคยกันดี

ผมไม่ค่อยแปลกใจนักที่รู้ว่าผู้สนับสนุนรายใหญ่ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้คือสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่กำลังเป็นมังกรผงาดในทางเศรษฐกิจโลก และกำลังพยายามประกาศตนให้โลกรู้ด้วยศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นอกจากภาพยนตร์ของจางอี้โหมว พิธีเปิดกิฬาโอลิมปิก และภาพยนตร์มังกรสร้างชาติแล้ว จีนแผ่นดินใหญ่ยังเคยพยายามสร้างขบวนการ 5 สี แข่งกับญี่ปุ่นมาแล้ว แต่งานโปรดักชั่นนี้ยังไม่ถึงขั้นของญี่ปุ่นแน่ ๆ ล่ะ

ตัดเรื่องขบวนการ 5 สี ออกไป งานภาพยนตร์โรงใหญ่ของจีนนี้คงไม่ต้องบอกก็รู้ว่ามาพร้อมกับความอลังการณ์แน่นอน คอภาพยนตร์แนวเดียวกันคงจำ "Hero" กันได้ ซึ่งนอกจากเรื่องความอลังการณ์ จังหวะการเล่าเรื่องบางช่วงแล้ว เรื่อง ขงจื๊อ ก็มีการ 'เล่น' กับโทนสีเช่นเดียวกับ Hero เหมือนกัน (ซึ่งไว้จะพูดถึงต่อไป)

แน่ะ ๆๆๆ ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนพอได้ยินว่ามันเป็นเรื่องจีนแผ่นดินใหญ่เข้าคงพากันสงสัยแน่ ๆ ว่ามันจะเป็นภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่ออีกหรือไม่ ตัวผมเองรู้เต็มอกว่ามันต้องมีโฆษณาชวนเชื่อแฝงมาอยู่แล้ว แต่ผมไม่สนใจ ยังไงผมก็จะดู และอยากจะให้ลองมองกันแฟร์ ๆ กว่านี้หน่อยว่า ไม่ว่าภาพยนตร์จากชาติไหน ภาษาไหน ใครสนับสนุนมันก็มีโฆษณาชวนเชื่อทั้งนั้นแหละครับ



ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอภาพชีวประวัติของขงจื๊อ หรือที่รู้จักกันในยุคสมัยนั้นว่า 'ขงฉิ่ว' ผู้ที่เกิดเมื่อ 551 ปีก่อนคริสตกาลจากชีวประวัติวัยเด็กซึ่งตัวภาพยนตร์ไม่ได้เล่า ขงฉิ่วสูญเสียพ่อซึ่งเป็นนักรบไปเมื่ออายุ 3 ปี และอาศัยอยู่กับแม่ท่ามกลางความยากจนแต่ก็สนับสนุนให้เขาได้เรียนหนังสือ โดยในเรื่องนี้เริ่มต้นเล่าในฉากที่ขงฉิ่วอยู่ในวัยผู้ใหญ่ที่รับราชการมีลูกมีเมียแล้ว

และสิ่งที่เราจะได้เห็นจากขงจื๊อฉบับภาพยนตร์ คือภาพของขงจื๊อในฐานะมนุษย์ปุถุชน มากกว่าภาพของปราชญ์ต้นแบบที่ดูเลิศเลอ ไม่เชิงว่าตัวขงจื๊อที่แสดงโดยโจวเหวินฟะ จะละทิ้งความเป็นนักอุดมคติไปทั้งหมด แต่ในช่วงครึ่งแรกที่ขงฉิ่วต้องต่อกรกับ 'กลุ่มผู้มีอำนาจ' เขาไม่ได้เอาอุดมคติลุ่น ๆ เข้าไปเสยคาง แต่มีการใช้วาทศิลป์ ใช้เล่ห์กลตบตา จนคนที่เคยซึมซับแต่คำสอนของเขามาคงนึกไม่ออกว่าจะได้เห็นขงจื๊อในภาพที่ดูเป็น 'นักการเมือง' แบบนี้ (ถึงจะเป็นเรื่องเล่าก็เถอะ)

เรื่องนี้คงเหมือนกับการที่รัฐบาลจีนนำเสนอเรื่องราวของขงจื๊ออีกครั้งนั่นแหละครับ ทั้งที่ในสมัยก่อนพรรคคอมมิวนิสท์จีนต่อต้านขงจื๊อจะเป็นจะตาย มองว่าเป็นแนวคิดแบบศักดินาบ้าง อะไรบ้าง มีการยกเลิกพิธีพรรมรำลึกถึงขงจื๊อ แต่พอถึงช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาก็ค่อยรื้อฟื้นมาอีกครั้ง และในปัจจุบันพวกสื่อบันเทิงทั้งหลายของจีนก็เริ่มตามกระแสโลกมากขึ้น การจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ มันก็ต้องรู้จักหาอะไร 'จับใจ' คนด้วย จริงไหม

แต่บทเรียนอย่างหนึ่งที่จีนควรรู้ไว้คือ การแข่งขันทางธุรกิจบันเทิงนี้ผู้บริโภคเขาก็อยากมีตัวเลือกหรืออยากบริโภคอะไรที่มันดู Globalized หรือดูเป็นสิ่งที่คนอื่น ๆ ทั่วโลกเขาดูกัน ฉะนั้นการไปจำกัดโรงฉายเรื่อง Avatar เพื่อเอาเรื่องขงจื๊อมาฉายจึงถูกชาวจีนก่นด่า ต่อต้าน ทำให้เรื่องขงจื๊อเสียคะแนนไปปล่าว ๆ ปลี้ ๆ เพราะคนเกิดอคติไปก่อนเสียแล้ว

เท่าที่ผมลองสำรวจบทวิจารณ์ของชาวจีนในเน็ตมา หลายคนดูจะไม่ชอบภาพยนตร์ขงจื๊อเท่าไหร่ เช่น บล็อกเกอร์จีนที่ชื่อ Han Han เขียนวิจารณ์ไว้ในบล็อกว่าหนังเรื่องขงจื๊อไม่ได้สามารถทำให้คนดูรู้สึกซาบซึ้งกับมันได้เท่าที่โจวเหวินฟะเคยคุยไว้ (โจวเหวินฟะถึงขั้นเคยบอกเลยว่า "ถ้าดูเรื่องนี้แล้วไม่ร้องไห้ ก็ไม่ใช่คนแล้ว")

อีกบทหนึ่งที่ท้าทายการแสดงของโจวเหวินฟะมากคือบทตอนที่ขงจื๊อแกต้องเผชิญกับสภาพความขัดแย้งระหว่างแนวคิดอุดมคติของเขากับโลกของความจริง อีกฉากหนึ่งที่ผมค่อนข้างประทับใจคือฉากที่หนานจื่อ พระชายาจากแคว้นหนึ่ง ที่ตัวหนังฉายภาพเป็นหญิงร้ายคอยใช้เสน่ห์เป่าหูผู้นำ เธอได้พบกับขงจื๊อ และประชันบทบาทกันอย่างกระชั้นชิด ก่อนจะทิ้งท้าย ด้วยคำพูดที่บาดความรู้สึกอย่าง "ฉันเข้าใจความเจ็บปวดลึก ๆ ในตัวคุณ"


...และหลังจากนั้นภาพยนตร์ก็ฉายภาพ 'ความเจ็บปวด' ของ ขงจื๊อที่เขาต้องหะหกระเหิน ไปพร้อมกับเหล่าลูกศิษย์ลูกหา ภาพของขงจื๊อที่ดูรุ่งโรจน์และเป็น 'นักการเมือง' ที่ประสบความสำเร็จในช่วงแรก ๆ เริ่มกลายเป็นภาพของวีรบุรุษตกอับ (Tragic Hero) ที่ยังคงยืนยันวิถีทางความเชื่อของตนเอง และสั่งสอนผู้คนโดยไม่สนว่าจะถูกต่อต้าน

เนื้อเรื่องในช่วงหลังนี้ ผมว่าภาพยนตร์ยังสื่อออกมาไม่ได้อารมณ์เท่าช่วงแรก ๆ หลายบทหลายตอนดูไม่ปะติดปะต่อ และทำให้รู้สึกถึงความอิหลักอิเหลื่อของการพยายามอิงประวัติดั้งเดิมกับการเสริมแต่งจินตนาการที่ไม่ได้เน้นไปทางใดทางหนึ่ง จนทำให้คนที่ดูเพื่อ 'เอาประวัติ' ก็ไม่ได้ประโยชน์ คนที่ดูเพื่อความบันเทิง (เช่นผม) ก็จะไม่ได้รับรสชาติความเป็นหนังอย่างเต็มที่

ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือการที่ภาพยนตร์พยายามเน้นโทนสีน้ำเงิน/คราม อย่างมากทั้งฉากและเครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะฉากที่มีขงจื๊ออยู่ ถ้าว่าตามหลักศิลปะแบบซื่อ ๆ แล้ว สีน้ำเงินเป็นสิ่งที่สื่อถึงความสุขุม สติปัญญา และความสุภาพ ขณะเดียวกันก็เป็นวรรณะสีเย็น

ขณะที่ดูเรื่องนี้อยู่ก็ไพล่นึกไปถึงปราชญ์จีนอีกคนที่ชื่อเล่าจื๊อซึ่งผมได้พูดถึงตอนต้น จากหนังสือต่าง ๆ ที่ผมอ่านมารู้สึกว่าทั้งเล่าจื๊อและขงจื๊อ ต่างก็เป็นปรัชญาคนละสาย คนละขั้ว ขงจื๊อออกจะเน้นเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร เรื่องในเชิงรัฐศาสตร์และจริยศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ขณะที่เล่าจื๊อเน้นพูดถึงปรัชญาที่จับต้องไม่ค่อยได้ แต่ก็มีความหมายลึก ๆ บางคนถือว่าเล่าจื๊อเป็นนักเสรีนิยม หรือนักคิดแนวอนาธิปไตยคนแรกทีเดียว

แต่อย่างที่ขงจื๊อบอกไว้ว่า เล่าจื๊อสำหรับเขาแล้วเปรียบเหมือนมังกร ซึ่งยากจะเข้าถึงและใช่จะได้เห็นในชีวิตปกติ ผมหวังว่าจะได้เห็นฉากวิวาทะทางปรัชญาของปราชญ์สองท่านนี้อยู่เหมือนกัน ไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม แต่ตัวหนังก็นำเล่าจื๊อออกมาในฉากหนึ่ง ที่แต่งด้วยเทคนิคภาพจนดูเหมือนเป็นเทพอะไรสักอย่างโผล่มาชี้แนะขงจื๊อ และขงจื๊อก็น้อมรับฟัง เราเลยอดดู 'ดราม่า' ไป

เนื้อหาของภาพยนตร์ยังสะท้อนความขัดแย้งระหว่างแคว้นต่าง ๆ  การแย่งชิงอำนาจ รวมถึงการกดขี่จากประเพณีของผู้มีอำนาจ เช่นการต้องฝังบ่าวไพร่ไปพร้อมกับนายเมื่อนายเสียชีวิต แน่นอนว่าแนวความคิดของขงจื๊อไม่ก้าวหน้าเท่ายุคปัจจุบันที่มีเรื่องของหลักการสิทธิมนุษยชน (ที่ในบ้านเรายังดูไม่ค่อยมีมาตรฐานเท่าไหร่) เรื่องรัฐสวัสดิการ (ที่ดูลม ๆ แล้ง ๆ พิกล) ฯลฯ แต่สำหรับในยุคนั้นแล้วหลาย ๆ เรื่องก็ถือว่าก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดเรื่องการศึกษาที่ขงจื๊อคิดว่าทุกชนชั้นควรมีสิทธิได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน เรื่องการละเลิกพิธีกรรมป่าเถื่อนที่ไม่เคารพคุณค่าของมนุษย์ ฯลฯ 

และการที่ได้เห็น 'พระเอก' คนนึงต่อสู้กับ 'ผู้มีอำนาจ' อยู่ในโลกภาพยนตร์ มันก็ชวนให้เอาใจช่วยอยู่ไม่น้อย (พล็อตสูตรสำเร็จแบบนี้ ตราบใดที่มันยังตอบสนองมนุษย์ได้ มันก็จะยังคงมีอยู่ต่อไป)

...แม้คำว่า 'คุณธรรม' ที่ขงจื๊อ ชอบอ้างถึง ในปัจจุบันมันจะถูกนำมาปู้ยี้ปู้ยำโดยกลุ่มที่มีอำนาจตรวจสอบคนอื่น แต่ตนเองตรวจสอบไม่ได้ก็ตาม


 

ตัวอย่างภาพยนตร์

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta'…
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2'…
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก…
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย…
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา…
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัยImagine : John LennonImagine there's no heavenIt's easy if you tryNo hell below usAbove us only skyImagine all the people  Living for todayImagine there's no countriesIt isn't hard to doNo greed or hungerAnd no religion tooImagine all the people  Living life in peaceYou may say I'm a dreamerBut I'm not the only oneI hope someday you'll join usAnd the world will live as oneImagine no possessionsI wonder if you canNothing to kill or die forA brotherhood of manImagine all the peopleSharing all the worldผมเคยได้ยินและได้ฟังเพลง Imagine…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์'…
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย   "to prove the Faustian dream to be a nightmare" ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน …