Skip to main content
 

สุกัญญา เบาเนิด

ในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม 

แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร) มีการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นมอญ ในวันสำคัญต่างๆไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา หรือ เทศกาลต่างๆ  โดยเฉพาะงานวันชาติมอญ ซึ่งเป็นวันที่แรงงานมอญทุกคนจะพร้อมใจกัน การแต่งกายแบบมอญ หรือ ชุดประจำชาติ ซึ่งเป็นที่รับรู้ว่า ผู้ชายต้องสวมใส่ โสร่งแดง
เป็นโสร่งพื้นแดงลายตารางคล้ายคันนามีแถบขาวคาดที่กลางผืน และแถบขาวนี้เองก็กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้โสร่งมอญแตกต่างจากโสร่งของพม่า  ส่วนเสื้อนั้นมีลักษณะสีขาวหรืออาจจะมีลายตารางสีแดงบนพื้นขาว คอกลมแขนยาวผ่าหน้าผูกเชือก  ส่วนผู้หญิงต้องนุ่งผ้าถุงแดง ลักษณะผ้าถุงเป็นลายดอกบนพื้นแดงมีเชิง ส่วนเสื้อมีลักษณะเป็นเสื้อสีขาว หรือ สีชมพูอ่อนแขนยาว คอกลมผ่าหน้าผูกเชือก ชายเสื้อค่อนข้างยาวปิดสะโพกเพื่อให้แตกต่างจากเสื้อผู้หญิงพม่า 

คนมอญเชื่อว่าการแต่งกายด้วยชุดประจำชาติมอญนั้นเป็นการแสดงถึงความรักชาติ และแยกตัวออกจากความเป็นพม่า มิอู อายุ ๒๕ ปี คนมอญหมู่บ้านฮะปลาง จังหวัดมะละแหม่ง ประเทศพม่า ทำงานที่สมุทรสาครประมาณ ๑๒ ปี กล่าวว่า
"....ถ้ามอญแต่งชุดมอญแสดงว่ารักชาติ ถ้าไม่แต่งชุดแบบนี้เขาก็ดูไม่ออก อันไหนมอญอันไหนพม่า...." (๑)

ดังที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายที่เรียกว่าชุดประจำชาติของมอญ การสวมใส่ชุดมอญเป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นมอญของผู้สวมใส่ และความคิดชาตินิยม ถึงแม้ชุดประจำชาติมอญจะเกิดขึ้นไม่นานและก็เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกหยิบยกมาแสดงถึงตัวตนมอญโดยได้รับอิทธิพลจากพรรคมอญใหม่ในการสร้างกระแสชาตินิยมมอญ เพราะไม่เพียงแต่ชุดประจำชาติที่ถูกคิดค้นขึ้นใหม่ยังมีธงชาติมอญ เพลงชาติมอญ วันชาติมอญ สัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติ(หงส์)อีกด้วย เป็นการปลูกฝังสำนึกทางชาติพันธุ์ของคนมอญในประเทศพม่าที่ดำเนินมาตลอดระยะเวลาเกือบ ๖๐ ปีตั้งแต่อังกฤษได้คืนเอกราชให้พม่าและเหตุการณ์การละเมิดข้อตกลงปางโหลงที่เป็นชนวนให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆกับรัฐบาลพม่าตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๙๐ เป็นต้นมา

นอกจากการสวมใส่ชุดประจำชาติ ตามวาระและโอกาสต่างๆแล้ว  พบว่าในกลุ่มแรงงานมอญยังนิยมเสื้อผ้าอีกรูปแบบหนึ่ง คือ เสื้อยืดที่มีลวดลายและข้อความภาษามอญ เรียกว่า "เสื้อลายมอญ"   มักจะจัดทำขึ้นในวาระสำคัญต่างๆ เช่น งานวันชาติมอญ งานออกพรรษา งานสงกรานต์ งานลอยกระทง เป็นต้น ลวดลายและข้อความต่างๆ บางลวดลายได้บอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจ  โดยทำเป็นรูปอดีตกษัตริย์มอญ  เช่น รูปพระเจ้าราชาธิราช   พระเจ้าเมียะมนูฮอ  หรือ พระนางจามเทวี  ทำให้ชวนคิดต่อไปว่าเพราะเหตุอันใดลวดลายเหล่านี้ถึงมาปรากฏอยู่บนเสื้อผ้า  และมีอะไรที่เป็นความรู้สึกลึกๆที่ซ่อนอยู่ในความคิดและความรู้สึกของผู้สวมใส่

ยกตัวอย่างเช่น เสื้อที่ทำเป็นรูป พระเจ้าเมียะมนูฮอ มีข้อความว่า "พระเจ้าเมียะนูฮอต้องถูกมัด (พันธนาการ) และทรมานจากกษัตริย์พม่า พระเจ้าอโนรธา"   เสื้อลายนี้ถูกอธิบายว่าถูกห้ามสวมใส่ในประเทศพม่า เนื่องมาจากมีความหมายในเชิงการเมืองและเป็นการต่อต้าน  แต่ในส่วนของคนมอญนั้นมันได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่ง
กดขี่ข่มเหงคนมอญตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นภาพในจินตนาการ หรือในสภาวะการณ์ปัจจุบัน

นายกาวซอน คนมอญย้ายถิ่นหมู่บ้านแหว่งอะเปาะ เมืองปอง จังหวัดสะเทิม รัฐมอญ ประเทศพม่า  ทำในงานในสมุทรสาครประมาณ ๑๐ ปี อาศัยอยู่แถบวัดโกรกกรากใน พูดถึงเสื้อลายมอญให้ฟังว่า

"...จริงๆแล้วทุกวันนี้มอญเราก็มีอยู่แค่เสื้อกับโสร่ง...ความรู้สึกในใจของเราถ้าเราไม่ได้พูดออกมาเราก็จะไม่มีความสุขเราใส่เสื้อแบบนี้มันแทนความรู้สึกข้างใน เราอยากจะแสดงออก เราไม่ได้หวังให้ใครรับรู้นอกจาพวกเราเอง ถึงอย่างอื่นเราจะพ่ายแพ้แต่จิตใจเราไม่แพ้ เราจึงเตือนสติกันเองว่า รูปนี้พระเจ้าของเรานะ  อันนี้เป็นตัวหนังสือภาษามอญของเรานะ .." (๒)

เสื้อลายมอญทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเสื้อประจำกลุ่ม นอกจากลวดลายและข้อความต่างๆแล้วยังมีข้อความที่ระบุถึงชื่อกลุ่ม และหมู่บ้าน เมือง ในเมืองมอญ (ประเทศพม่า) แรงงานมอญที่มาจากหมู่บ้านเดียวกันก็จะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะผลิตเสื้อซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มตัวเอง บางครั้งอาจมีการใช้ข้อความเป็นภาษาไทยเพื่อสื่อให้คนไทยได้รับรู้ว่าผู้ที่สวมใส่เสื้อผ้าเหล่านั้นเป็นคนมอญไม่ใช่คนพม่า

สำหรับลวดลายที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ รูปหงส์ เนื่องจากหงส์สัญลักษณ์ของมอญซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณเชื่อมโยงกับตำนานการสร้างเมืองหงสาวดี และเมื่อมีวันชาติมอญหงส์ก็ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติเป็นสัญลักษณ์แทนชนชาติมอญ หงส์เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด มักจะปรากฏอยู่ตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รูปปั้น ภาพเขียน รูปแกะสลัก บนเสื้อผ้า ตราประจำองค์กรของมอญ และธงชาติ ในงานวันชาติมักจะพบเห็นสัญลักษณ์ของหงส์อยู่ทั่วไป  หงส์นั้นไม่เพียงแต่ปรากฏในงานวันชาติเท่านั้น งานสำคัญทางศาสนา งานบุญประเพณีก็มักจะนำรูปหงส์มาประดับไว้ในงาน คล้ายกับเป็นการเน้นย้ำถึงความเป็นมอญ นอกจากนี้อากัปกริยาของหงส์บางลักษณะก็สื่อความหมายแตกต่างกันไป เช่น
๑. หงส์คู่ซ้อนกัน หมายถึง หงส์ในตำนานการสร้าง เมืองหงสาวดี  
๒. หงส์บิน  มีความหมายในเชิงการเมืองมากที่สุด ปรากฏอยู่บนผืนธงชาติมอญ  ในมุมมองของทางการพม่ายอมรับที่คนมอญใช้หงส์เป็นสัญลักษณ์แต่ก็ต้องเป็นหงส์ยืน (นิ่งๆ)เท่านั้น หากทำเป็นรูปหงส์บินพม่าก็จะถือว่าเป็นศัตรู  ๓. หงส์ยกเท้า มีความหมายในเชิงการเมือง สืบเนื่อง จากทางการพม่าห้ามไม่ใช้รูปหงส์บิน  กลุ่มนักศึกษามอญในมหาวิทยาลับย่างกุ้งได้ออกแบบหงส์ขึ้นใหม่ ยกเท้ากำลังก้าวขาข้างหนึ่งกำลังจะก้าวไปข้างหน้า (๓) แทนความหมายว่าคนมอญจะไม่หยุดการเคลื่อนไหวเรื่องชนชาติและพร้อมจะก้าวไปข้างหน้าเสมอ  

ในปัจจุบันการสกรีนเสื้อยืดเป็นลวดลายและข้อความภาษามอญสามารถทำได้ง่ายและสะดวก เพราะตั้งแต่มีคอมพิวเตอร์และการพัฒนารูปแบบอักษรมอญที่สามารถใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์  ประกอบกับในเมืองไทยสามารถหาร้านสกรีนได้ง่าย ต่างกับที่เมืองมอญ(ประเทศพม่า) ซึ่งร้านสกรีนเสื้อนั้นหายากและมีราคาแพง ที่สำคัญสังคมไทยให้สิทธิเสรีในการแสดงออกทางความคิด ตราบใดที่ท่าทีและการแสดงออกของคนมอญเหล่านั้นไม่ได้เป็นปฏิปักษ์หรือต่อต้านรัฐบาลไทย  ตรงกันข้ามกับในประเทศพม่าที่รัฐบาลมักมีข้อจำกัดต่อการแสดงออกทางด้านการเมืองของชนกลุ่มน้อยต่างๆ 

นายอองซอนโม่น อายุ ๒๕ ปีคนมอญจากหมู่บ้านกวักเต่ เมืองมุเดิง จังหวัดมะละแหม่ง เช่าห้องอยู่แถบมหาชัยนิเวศน์ และเข้ามาเป็นแรงงานในสมุทรสาครประมาณ ๙ ปีกล่าวถึงชุดประจำชาติมอญและเสื้อลายมอญให้ฟังว่า
"....เรารู้จักมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว เขาก็ทำกันอยู่ เราก็รับรู้ โสร่งแดง เสื้อขาว ชุดประจำชาติเราก็รู้...ความหมายโสร่งคือ สีแดงหมายถึง สีเลือด แสดงว่ารักชาติ ส่วนสีขาวหมายถึงศาสนาและ จิตใจที่ใสสะอาด   ส่วนที่พม่าไม่มีเสื้อที่สกรีนลายหรอกเป็นเสื้อขาวเฉยๆ ตราแบบนี้ไม่มีหรอก ทำไม่ได้หรอกเขาไม่ให้ทำ เขาไม่ให้โอกาส ประเทศไทยนั้นทำได้..." (๔)             

ปัจจุบันเสื้อลายมอญยังคงได้รับการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง นับวันก็จะมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น  หากสามารถถอดความหมายที่อยู่บนเสื้อแต่ละตัว เราคงจะได้เรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การเมือง และสังคมของมอญได้อย่างไม่รู้จบ  เดิมทีนั้นผู้เขียนเองก็ไม่ได้สนใจเสื้อลายมอญเหล่านี้เท่าไหร่นัก มีบ้างตัวสองตัว เมื่อได้เรียนรู้ความหมายที่อยู่บนตัวเสื้อ จากเดิมที่ไม่ได้สนใจก็กลายมาเป็นการสะสม...แล้วก็รอลุ้นว่า....งานวันชาติมอญในปีหน้าเสื้อลายมอญจะเป็นรูปอะไร.!!!!

อ้างอิง
(๑) สัมภาษณ์  มิอู,  คนมอญจากหมู่บ้านฮะปลาง จังหวัดมะละแหม่ง เมืองมอญ ประเทศพม่า,  4 พฤศจิกายน 2549.
(๒) สัมภาษณ์  นายกาวซอน,  คนมอญบ้านแหว่งอะเปาะ เมืองปอง จังหวัดสะเทิม เมืองมอญประเทศพม่า,  ๒๖ พฤศจิกายน,๒๕๔๙.
(๓) พิสัณห์ ปลัดสิงห์,  มอญ ชนชาติไร้แผ่นดิน, กรุงเทพฯ  :  พิมพ์ที่จตุจักรการพิมพ์, ๒๕๒๕. หน้า ๓๒ .
(๔) สัมภาษณ์  นายอองซอนโม่น,  คนมอญจากเมืองมอญ ประเทศพม่า,  ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙.

20_8_01
เสื้อลายมอญรูปมนุษยสิงห์ สัญลักษณ์ของเมืองสะเทิมมีข้อความว่า
"ทหารกู้ชาติมอญ"

20_8_02
เสื้อลายมอญรูปหงส์มีข้อความว่า
"กลุ่มเยาวชนมอญหงสา"

20_8_03 20_8_04
เสื้อลายมอญรูปพระเจ้าราชาธิราช (กษัตริย์มอญ)  มีข้อความว่า
"กลุ่มสามัคคีหงสา"

20_8_05
เสื้อลายมอญรูปพระเจ้าเมียะนูฮอ (กษัตริย์มอญ) ข้อความว่า
"รูปพระเจ้าเมียะนูฮอต้องถูกมัด(พันธนาการ) โดยกษัตริย์พม่า พระเจ้าอโนรธา"

20_8_06
เสื้อลายมอญรูปพระนาง
จามเทวี มีข้อความว่า "กลุ่มทำงานวันชาติมอญครั้งที่ ๕๙ และวีระกษัตรีมอญจามเทวี"

20_8_07
เสื้อลายมอญรูปหงส์และจารึกหนังสือมอญ มีข้อความว่า
"อนุรักษ์กันมาแต่รากเหง้าของเราชาวมอญ และทำทุกอย่างเพื่อชาติจะได้รุ่งเรือง"

20_8_08

20_8_09
เสื้อลายมอญรูปธงชาติมอญ(ด้านหน้า) และรูปหงส์
มีข้อความว่า
"วันชนชาติมอญครั้งที่ ๕๗ ประเทศมาเลเชีย" (ด้านหลัง)

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…