Skip to main content

ขนิษฐา คันธะวิชัย

 

 

ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า

 

คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ”


ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า มอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่ อาระกัน ฯลฯ คือมีความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ข้างใน เพียงแต่โดนอัตลักษณ์ความเป็นรัฐชาติพม่าทับไว้ ซึ่งทั้งหมดนี้ฉันได้ตระหนักจากการลงภาคสนามที่จังหวัดสมุทรสาคร จำได้ว่าครั้งนั้นฉันและเพื่อนไปช่วยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นทำ pilot แบบสอบถามเกี่ยวกับการทำงานของเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ซึ่งเวลาถามแบบสอบถามต้องใช้ล่ามภาษามอญเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้เพื่อนของฉันอีก 3 คนยังมีโอกาสไปลงภาคสนามเพื่อดูประเด็นเกี่ยวกับการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติที่สมุทรสาครอีกด้วย แต่เวลานำมารายงานในห้องเรียน เพื่อนร่วมชั้นก็ยังเรียกเขาว่า “แรงงานพม่า” อยู่ดี เพื่อความสะดวกปาก


เมื่อเดือนตุลาคม 2550 สถาบันเอเชียศึกษาได้จัดงานสัมมนาวิชาการนานาชาติ “ครบเครื่องเรื่องมอญ” ที่ตึกเดียวกับโรงอาหารคณะเศรษฐศาสตร์ และก็ได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับมอญที่ลานใต้ตึก โดยในแผ่นนิทรรศการนั้นก็มีภาษามอญอยู่ด้วย และในวันงานก็มีคนแต่งตัวมอญเดินกันทั่วงาน ทั้งแบบมอญเมืองไทย และมอญแบบโสร่งแดง ผ้าถุงแดง อันเป็นชุดประจำชาติมอญที่มอญเมืองมอญประดิษฐ์ขึ้นภายหลัง ในงานนั้นฉันเห็นคนที่ทำงานอยู่ที่โรงอาหารได้นำอาหารมาถวายพระ และกราบพระลงไปกับพื้น ซึ่งคนมอญเมืองไทยอธิบายว่า นี่คือวิธีการกราบพระแบบมอญ คือกราบลงไปกับพื้นไม่ว่าพื้นจะเป็นอย่างไร จากนั้นฉันจึงรับรู้ว่า แรงงานข้ามชาติที่ทำงานในโรงอาหารคณะเศรษฐศาสตร์นั้น มีชาวมอญอยู่หลายคน ไม่ได้มีแต่คนพม่า


วันหนึ่งฉันใส่เสื้อยืดตัวอักษรมอญไปที่โรงอาหารคณะเศรษฐศาสตร์ ขณะที่กำลังยืนคิดอยู่ว่าจะสั่งอะไรนั้น คนขายสาวน้อยหน้าแฉล้มก็ทำท่าตื่นเต้น ชี้มือมาที่เสื้อของฉันแล้วบอกกับเจ้าของร้านว่า


เนี่ย ภาษานี่หนูอ่านได้ ภาษามอญ (ว่าแล้วเธอก็อ่านโชว์เจ้าของร้านซะเลย) กะ ขะ ไก้ ไค้ ไง้ จะ ฉะ ไจ้ ไช้ ไญ้ (เหมือนกับการไล่เสียง ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ฌ ญ ของเรา)...”


ในตอนนั้นฉันเริ่มเข้ามาทำงานกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพแล้ว และได้รับปฏิทินปี 2551 เป็นรูปกษัตริย์มอญองค์สำคัญในประวัติศาสตร์มาหลายแผ่นจึงนำมาแบ่งให้น้องหน้าแฉล้มคนนั้น เธอดีใจมากแล้วก็ชี้ให้ดิฉันกับเจ้าของร้านดู “นี่ไง พระเจ้าราชาธิราช” นัยว่าน้องหน้าแฉล้มคงรู้ว่ากษัตริย์มอญที่ไทยรู้จักก็คือพระเจ้าราชาธิราช หลังจากนั้นเมื่อใดที่ฉันไปซื้อข้าวแกงหรืออาหารตามสั่งที่ร้านนั้น ฉันจะได้รับอาหารในปริมาณมากกว่าคนอื่นเสมอ เช่น เมื่อสั่งข้าวผัดกุ้ง หากเธอเป็นคนจัดเตรียมของ เธอก็จะให้กุ้งประมาณ 7-8 ตัว ซึ่งปกติแล้วจะได้ 3 ตัว เท่านั้น


น้องหน้าแฉล้มเล่าว่า เธอชื่อ จอนเตรี่ย แปลเป็นไทยว่า จันทรา ฉันแอบเรียกเธอว่า มณีจันทร์ บ้านของมณีจันทร์อยู่ในรัฐมอญ อ่านเขียนภาษามอญพอได้ มาอยู่เมืองไทยตั้งแต่อายุ 14 ปี โดยเริ่มจากการมาเป็นพี่เลี้ยงเด็กที่พระประแดง แม้จะมีคนมอญอยู่เยอะแต่เธอก็ไม่ได้เจอใครเลย เพราะอยู่กับเด็กตลอดเวลา พอมีคนชวนมาขายอาหาร เธอจึงมา และในโรงอาหารคณะเศรษฐศาสตร์นี้ก็มีคนมอญทำงานอยู่ประมาณ 5-6 คน แต่จำนวนนี้ก็ไม่แน่นอนเพราะบางทีก็มีการเปลี่ยนงาน หน้าเก่าหายไป หน้าใหม่เข้ามา (ณ วันที่เขียนบล๊อกอยู่นี้น้องมณีจันทร์ก็ไม่อยู่ที่โรงอาหารคณะเศรษฐศาสตร์แล้ว)


แถวๆ สามย่านที่ทำงานของฉันไม่ได้มีมอญแรงงานเฉพาะที่คณะเศรษฐศาสตร์เท่านั้น ตอนแรกฉันเองก็ไม่รู้ แต่หากใครได้อ่านสารคดีชื่อ “ต้นทางจากมะละแหม่ง” อาจจะเคยได้ยินชื่อ “นายวีทอ” มอญจากมะละแหม่ง พระรองของสารคดีเล่มนี้ พี่วีทอนี่เองที่บอกฉันว่า “บัวเผื่อนอยู่แถวจุฬา สามย่านเนี่ย ไปดูเลย ใครที่ขายไข่นกกระทาทอด ชานมไข่มุก ไอติม ให้บัวเผื่อนลองถามเขาเป็นภาษามอญเลยว่า ขายดีไหม พวกนี้มอญทั้งนั้น” แม้ฉันจะพอรู้ว่ามีชาวมอญที่เข้ามาเป็นแรงงานในฐานะ “แรงงานพม่า” อยู่เยอะ แต่ก็ไม่คิดว่าจะเยอะขนาดที่ว่าคนไหนๆ ก็ใช่ทั้งนั้น


และวันหนึ่งฉันก็ได้เห็นว่าคำพูดพี่วีทอนั้นไม่ได้เกินความจริงเลย


วันนั้นฉันใส่เสื้ออักษรมอญตัวเดิม ที่ป้ายรถเมล์หน้าจุฬาฯ มีรถเข็นขายผลไม้ ฉันไปซื้อสัปปะรดซีกหนึ่ง คนขายบอกว่า “สิบบาท” ฉันฟังดูก็ไม่แปร่งหูอะไร เขาถามต่อว่า “เอาอย่างอื่นอีกไหม” สำเนียงนั้นแม้ไม่ใช่สำเนียงกรุงเทพฯ แต่ฉันก็คิดว่าเป็นสำเนียงคนต่างจังหวัดทั่วๆ ไป สักพักเขาก็ถามว่า “เสื้อมอญตัวนี้ซื้อมาจากไหน” คุยไปคุยมาจึงรู้ว่าคนขายผลไม้ก็เป็นคนมอญ และคนที่ขายไข่นกกระทาทอดที่อยู่อีกด้านของฟุตบาทก็เป็นคนมอญจากเมืองมอญเช่นกัน


ฉันมันเป็นพวกชอบทำอะไรให้สุดๆ จึงทดลองทฤษฏีของพี่วีทออีก โดยการไปซื้อชานมไข่มุกที่ประตูเล็กใกล้คณะวิทยาศาสตร์ คนขายก็มองเสื้อฉัน มองแล้วมองอีก สุดท้ายฉันเลยถามว่า “นี่ภาษาอะไร รู้ไหม” เขาก็ตอบมาทันทีว่า “ภาษามอญ”


วันนั้นฉันเลยมีของกินติดมือไปที่โต๊ะทำงานเพียบ เนื่องจากพิสูจน์ความเป็นมอญตามทฤษฎีของพี่วีทอเยอะไปหน่อย


ฉันคิดว่าเขาคงดีใจที่เห็นภาษาของตนเองในเมืองไทย แต่ฉันก็เห็นใจเขาตรงที่ว่า คนมอญเหล่านี้ไม่สามารถจะใส่เสื้อที่แสดงอัตลักษณ์ความเป็นมอญได้ เนื่องจากอาจมีปัญหากับตำรวจ หรืออาจโดนเพ่งเล็งเรื่องจะมาทำลายความมั่นคงของชาติไทย จากที่เห็นมา มอญแรงงานจะใส่เสื้อภาษามอญเฉพาะเมื่อมีงานพิธีหรือเมื่ออยู่ในแหล่งชุมชนที่มีชาวมอญอยู่กันมากๆ เท่านั้น ในขณะที่มอญเมืองไทยสามารถแสดงอัตลักษณ์ตนเองได้อย่างอิสระ


หวนนึกถึงอาจารย์สอนภาษามอญของฉันคนหนึ่ง ที่อุตส่าห์เสียค่ารถมาสอนให้ฉันฟรีถึงที่จุฬาฯด้วยความอยากถ่ายทอดภาษามอญ เขาได้ยินฉันพูดกับพี่คนหนึ่งเรื่องตัวเขียนภาษาล้านนา เพราะเรามีพื้นเพอยู่ทางภาคเหนือเหมือนกัน อาจารย์ฉัน (ที่ยังหนุ่มอยู่มาก) ก็พูดขึ้นมาว่า “คนไทยนี่ดีเนอะ จะเรียนภาษาอะไรก็ได้ อย่างนี้ที่พม่าเรียนไม่ได้” อาจารย์คนนี้เป็นนักศึกษามอญมาเรียนปริญญาโทที่ราม ได้เรียนหนังสือสูงแต่เรียนเป็นภาษาพม่า ทำให้ได้ใช้ภาษาพม่ามากกว่ามอญ จนกระทั่งลืมภาษามอญพื้นๆ บางคำ เช่น น้า (น้องแม่) แต่ที่เขียนภาษามอญได้ก็เพราะแอบเรียนในบ้านโดยมีพ่อแม่สอนให้


เมื่อมองย้อนกลับมาที่ตัวฉันเอง ก็เห็นว่าถ้าเปรียบฉันกับคนมอญเหล่านั้นแล้ว ฉันก็โชคดีกว่าที่สามารถแสดงอัตลักษณ์ประกาศความเป็นชาวเขา ประกาศความเป็นคนเหนือ หรือใส่ชุดมอญเดินไปกินข้าวที่สามย่านได้ไม่อายใคร และไม่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ ยุคนี้เป็นยุคที่เรากำลังฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น การเป็นคนที่ “ไม่ใช่ไทย” ไม่ใช่เรื่องน่าอายอีกต่อไป กลับเป็นจุดเด่นเสียอีก ฉันก็ได้แต่เอาใจช่วยว่าสักวันหนึ่งพี่น้องชาวมอญในเมืองมอญจะสามารถแสดงอัตลักษณ์ของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ ไม่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ อย่างที่เป็นอยู่


ว่าแล้วก็เดินไปอุดหนุนชานมไข่มุกที่สามย่านอีกดีกว่า...



บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…