Skip to main content

องค์ บรรจุน

"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?


ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใด


มอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ เพราะเคยสัมผัสคลุกคลีมาก่อนเมื่อตอนยังมีลมหายใจ โดยผู้ร้องจะร้องเป็นภาษามอญ และต้องใช้ปฏิภาณกวี คิดคำรำพันคล้องจองให้สัมผัสลงตามทำนองดั้งเดิม เนื้อหาที่ร้องนั้นจึงไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าผู้ตายเป็นใคร เคยประกอบคุณงามความดีอะไรเอาไว้บ้าง รูปแบบมอญร้องไห้ของแท้นั้นเรียบง่าย แต่กินใจ ได้เนื้อความเฉพาะผู้ตายเป็นรายๆ ไป ต่างจากมอญร้องไห้ของกรมศิลป์ที่ประยุกต์เสียใหม่ รูปแบบหรูหราอลังการ สะเทือนอารมณ์รุนแรง (ออกแนวผู้ดีเสียของรักอยู่สักหน่อย) ทว่าติดกับดัก "มาตรฐาน" จะฟังกี่งานๆ เนื้อหาก็เหมือนกันเป๊ะ


ประวัติความเป็นมาของมอญร้องไห้นั้นมีผู้กล่าวไว้หลายแห่ง เช่น เสถียรโกเศศ กล่าวถึงใน ประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิต ตอนที่เกี่ยวกับความตายไว้ว่า ต้นเหตุมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงปาฏิหารย์ให้พระบาททะลุออกมานอกโลง เพื่อให้พระมหากัสสป ศิษย์เอก เคารพบูชา ฝ่ายพุทธบริษัทที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ผลต่างร้องไห้กันระงม จึงเป็นประเพณีสืบต่อมา


บ้างก็ว่าเป็นการสืบเนื่องมาจากนางมัลลิกาที่กรรแสงคร่ำครวญ ต่อพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งชาวมอญนั้นนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จึงได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมาสำหรับกระทำต่อภิกษุสงฆ์จนถึงฆราวาสที่มีผู้เคารพนพไหว้



มอญร้องไห้ สดุดีเทิดพระเกียรติ งานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
เมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๗ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง


ที่มาอีกประการคือเป็นเรื่องกุศโลบายในการสงครามสมัยพระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์มอญผู้ขับเคี่ยวกับกษัตริย์พม่าในอดีต สืบเนื่องจาก พระยาเกียรติ บุตรของพระเจ้าราชาธิราช ถูกกองทัพพม่าเข้าล้อมเมืองโดยไม่รู้ตัว กำลังทหารรักษาเมืองก็น้อยไม่สามารถสู้รบกับทหารพม่าที่มีกำลังมากกว่าได้ พยายามส่งข่าวไปให้พระราชบิดามาช่วยก็ไม่สามารถส่งสาส์นเล็ดลอดไปได้ ทว่ามีทหารชื่อ สมิงอายมนทยา อาสาออกไปส่งข่าวด้วยการนำอุบาย "นอนตาย" ไปบนแพหยวกกล้วย โดยใช้น้ำผึ้งทาตามตัว ข้างกายมีหม้อปลาเน่า ส่งกลิ่นเหม็น และมีแมลงวันตอมเหมือนตายจริงๆ ขณะเดียวกันในระหว่างที่เดินออกมาก็ให้หญิงสาวโกนหัวเดินร้องไห้โหยหวน พลางรำพึงรำพันถึงคุณงามความดีของสามีที่นอนตายบนแพหยวกกล้วยนั้น ฝ่ายทหารพม่าไม่ได้เฉลียวใจว่าเป็นกลลวง ปล่อยให้ขบวนศพผ่านไป จนสามารถนำทัพหลวงมาช่วยได้สำเร็จ จึงเกิดเป็นประเพณี "มอญร้องไห้" ไว้อาลัยสืบต่อจากนั้นมา


มอญร้องไห้แบบดั้งเดิมของมอญนั้น นิยมทำกันในช่วงดึกสงัดระหว่างการตั้งศพบำเพ็ญกุศลและช่วงก่อนรุ่งสาง อีกช่วงก็คือหลังชักศพขึ้นกองฟอนหรือเมรุเตรียมฌาปนกิจ การร้องไห้นี้เป็นการร้องที่ไม่มีน้ำตา ได้แต่พรรณนาคุณความดีของผู้ตาย พลางสะอื้นน้อยๆ เป็นระยะ มิได้ฟูมฟายตีอกชกหัว อย่างที่คนยุคหลังนำมาดัดแปลง บางแห่งเป็นสาวประเภทสอง แต่งกายเป็นสาวมอญ ร้องไห้พลางกลิ้งตัวลงมาจากเมรุชั้นสูงสุด เพื่อเรียกอารมณ์สะเทือนใจจากแขกที่มาร่วมงาน และสิ่งที่ไม่น่าดูอย่างยิ่งก็คือ เมื่อผ้าผ่อนท่อนสไบของหล่อนเปิดเปิง (หากเป็นหญิงยังน่าอภิรมณ์)


เดิมนั้นหากผู้ตายมีฐานะดี ลูกหลานมักหาปี่พาทย์มอญมาบรรเลง และให้ญาติผู้หญิงที่มีความสามารถร้อง "มอญร้องไห้" ประกอบ พรรณนาคุณงามความดีของผู้ตายด้วยความอาลัยถึง ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีเครื่องขยายเสียงนั้น โดยเฉพาะในช่วงรุ่งสาง บรรยากาศเงียบสนิท เสียงร้องนั้นโหยหวล พลอยทำให้ผู้ที่ได้ยินที่แม้ไม่ใช่ญาติก็อดสะเทือนใจจนร้องไห้ตามไม่ได้


ธรรมเนียม "มอญร้องไห้" ได้มีอิทธิพลแพร่เข้าไปยังราชสำนักไทย จะต้องมีนางร้องไห้ทุกครั้งที่สูญเสียบุคคลในราชตระกูล ธรรมเนียมนางร้องไห้ในวังนี้คาดว่ามีมาแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มาเลิกไปสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ไม่ทรงโปรดฯ ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องน่ารำคาญ ไม่จริงใจ ร้องไปคนตายก็ไม่ฟื้นขึ้นมาได้ จึงรับสั่งให้เลิกไป แต่ในชั้นหลังในหมู่สามัญชนทั่วไปโดยเฉพาะชาวมอญยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ไม่เปลี่ยนแปลง


มาระยะหลังครูเพลงไทยเดิมของกรมศิลป์ได้ประยุกต์มอญร้องไห้ ใส่บทร้อง และบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มอญ เรียกกันว่า แบบตลาด ส่วนเนื้อเพลงนำมาจากเรื่อง "ราชาธิราช" ตอนสมิงพระรามหนีเมีย ขอเล่าเท้าความเกี่ยวกับเรื่อง ราชาธิราช ให้ฟังพอเป็นสังเขป ดังนี้คือ ราชาธิราช เป็นวรรณคดีไทยที่แปลมาจากพงศาวดารมอญ เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการทำสงครามระหว่างพม่ากับมอญ กรมศิลปากรนิยมนำมาแสดงเป็นละครพันทาง


ทีนี้มาเข้าเรื่องสมิงพระราม ทหารเอกของพระเจ้าราชาธิราช ถูกพม่าจับไปเป็นเชลยศึกที่กรุงอังวะ ขณะนั้นกรุงอังวะมีศึกติดพันกับพระเจ้ากรุงจีน ได้มีพระราชสาส์นมาท้าพนันให้หาทหารมือดีรำเพลงทวนต่อสู้กันตัวต่อตัว ถ้าฝ่ายอังวะแพ้ จะถูกริบเมือง แต่ถ้าฝ่ายพระเจ้ากรุงจีนแพ้ก็จะยอมถอยทัพกลับไป


เมื่อสมิงพระราม ทราบเรื่องจึงอาสาออกรบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อกันศึกไม่ให้ลุกลามไปถึงกรุงหงสาวดี หลังจากที่สมิงพระรามมีชัยชนะ สามารถฆ่า กามะนี ทหารของพระเจ้ากรุงจีนลงได้ พระเจ้ากรุงอังวะได้พระราชทานธิดาให้อภิเษกสมรส สมิงพระรามจำใจรับด้วยเกรงจะเสียสัตย์ แต่ขอพระราชทานคำสัญญาไว้ ๒ ข้อ คือ

๑. ห้ามใครก็แล้วแต่เรียกตนว่า เชลย

๒. ถ้าเกิดสงครามระหว่างกรุงหงสาวดีกับกรุงอังวะ ตนขอไม่สู้รบด้วย เพราะทั้งสองฝ่ายล้วนมีพระคุณกับตน


ต่อมาธิดาพระเจ้ากรุงอังวะ ให้กำเนิดพระโอรสองค์หนึ่ง มีความซุกซนประสาเด็ก พระเจ้ากรุงอังวะรักและหลงมาก วันหนึ่งขณะที่นั่งอยู่บนพระเพลาเสด็จตา นัดดาองค์น้อยก็ลุกขึ้นปีนป่ายขึ้นที่สูง พระเจ้ากรุงอังวะหันมาเห็นก็หลุดปากว่า "ลูกอ้ายเชลยนี้กล้าหาญนัก นานไปเห็นจะองอาจแทนมังรายกะยอชวาได้..." สมิงพระรามได้ยินเข้าจึงน้อยใจ และคิดหนีกลับเมืองมอญ ก่อนกลับได้เข้าไปดูหน้าลูกเมียเป็นครั้งสุดท้าย เขียนจดหมายสอดไว้ใต้หมอน เนื้อหาในจดหมายก็เป็นดังที่ได้ยินได้ฟังกันโดยทั่วไป ผู้ที่ร้องเพลงนี้เอาไว้เป็นท่านแรก คือ ครูเหนี่ยว ดุริยพันธ์ ถือเป็นแม่แบบของเพลงมอญร้องไห้มาจนปัจจุบัน เนื้อความมีดังนี้ คือ


     "หยิบกระดาษวาดอักษรชะอ้อนสั่ง        น้ำตาหลั่งไหลหยดรดอักษร

แล้วสอดไว้ใต้เขนยที่นางนอน                   พิศพักตร์ทอดถอนหฤทัย
    
ค่อยตระโบมโลมลูบจูบสั่งลา                นางจะรู้กายาก็หาไม่

หักจิตออกนอกห้องทันใด                         ขึ้นม้าควบหนีไปมิได้ช้า..."

 

 

มอญร้องไห้ สดุดีเทิดพระเกียรติ งานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง

 

ปัจจุบัน มอญร้องไห้ที่คนทั่วไปรู้จักก็คือ มอญร้องไห้แบบกรมศิลปากร ร้องไปก็สะอื้นไห้เสียจนปากเบี้ยว ยิ่งแบบที่สาวประเภทสองนำมาดัดแปลงออกรับงานแสดงตามงานวัดด้วยแล้ว ตีอกชกหัว หกคะเมนตีลังกา แหกปากฟูมฟาย ได้ชมได้ฟังครั้งใดสะเทือนอารมณ์จนสุดจะบรรยาย แต่ขอโทษ แบบนั้นมอญผู้ดีเขาไม่ทำกัน ของแท้เขาต้องนิ่งแสดงออกแต่พองาม เศร้าน่ะเศร้าอยู่หรอก ก็ญาติตายทั้งคน แต่มันก็ควรเก็บอาการ ต้อง "แอ๊บ" กันบ้าง น้ำตาคลอน้อยๆ สะอื้นในคอหน่อยๆ หากดัดจริตมากเสียจนน้ำตาท่วมเบ้า เสลดพันคอ ร้องไม่เป็นภาษา ดูหน้าหรือทั้งแป้งพอกหน้าสีป้ายเปลือกตาละลาย คนมางานศพคงตกใจนึกว่าคนที่นอนในโลงออกมานั่งร้องเสียเอง


บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…