Skip to main content
 

1.


"ถ้าเขารู้ว่าภายใต้ซากเน่าของกองฟางคือทองคำ เขาคงจัดการเก็บมันไว้ทุกเส้นฟาง เสียดายที่ไม่รู้ค่า..." พี่สาวคนหนึ่งที่พาตัวเองไปเป็นชาวไร่ชาวสวนในแถบอีสานแลกเปลี่ยนเรื่องฟางกับเขา

จริงสิ, ในขณะที่ชาวนาหลายคน หลายพื้นที่ เลือกเผาฟางข้าวให้ไหม้ไปอย่างไร้ค่า แต่ก็ยังมีชาวนาชาวไร่ ชาวสวน จำนวนหนึ่งพยายามขวนขวาย เสาะหาฟางมาไว้ในแปลงในสวนของตนให้มากเท่าที่จะทำได้

ใช่ พวกเขามองเหมือนกับว่า ฟางข้าวคือทองคำ

"พี่อาศัยที่เขาไม่เห็นค่า จ้างเด็กๆไปขนมาทิ้งไว้หน้าบ้านกองพะเรอเลย ใช้คลุมโคนต้นไม้เยอะแยะก็ยังเหลือ...บางคนเห็นราคา เพราะที่นี่อัดก้อนขายคนเลี้ยงวัวได้" พี่สาวชาวไร่บอก                            

เมื่อถามทุกข์สุขในวิถีชาวป่าชาวไร่  พี่สาวบอกว่า สนุกดี แม้จะเหนื่อย

"ความสุขมีทุกวัน หลังจากงานหนักผ่านไป เวลาไปเที่ยวป่า พี่มีความสุขทุกครั้งไป แม้จะไม่ใหญ่อลังการแบบป่าทางเหนือหรือป่าของธอโร..." เธอค้นหาความสุขหลังตรากตรำงานหนัก

ทำให้เขานึกไปคำบอกเล่าของมิ่งมิตรอีกคนหนึ่งที่อยู่อีกฟากฝั่งหนึ่งของโลก ที่รู้ข่าวเรื่องชาวนาเผาฟางข้าว...

"น่าเสียดายฟางที่เผา ไม่น่าเผาเลย ฟางเอามาทำประโยชน์ได้มากมาย ผสมเป็นคอนกรีตสำหรับทำผนังบ้านก็ได้ ใช้คลุมดินสำหรับปลูกสตรอเบอร์รี่ก็ได้ แวะไปดูภาพสิครับ"

มิ่งมิตรจากแดนไกล ผู้ใช้นาม chedtha3 จากเยอรมันนี เชื้อเชิญเขาเข้าไปเยี่ยม ชมภาพสวรรค์บ้านนาชานเมืองมิวนิค เยอรมนีชม ผ่านทางโลกอินเทอร์เนท
http://www.oknation.net/blog/chedtha3/2009/06/15/entry-1

เขาจ้องมองดูภาพวิถีชาวนาชาวสวนของชาวเยอรมัน รู้สึกชอบ และรับรู้เลยว่า วิถีชาวนานั้นไม่แตกต่างกันนัก จะแตกต่างกันก็ตรงที่ว่า ชาวนาต่างชาติเขามีระบบคิด การจัดการ และการใช้เครื่องทุ่นแรง ในลักษณะฟาร์มที่เหมาะสมและสอดคล้องกว่าวิถีชาวนาไทยทั่วๆ ไป

ประมาณว่า ใช้มันสมองให้มาก ใช้แรงให้น้อยที่สุด(ใช้สัตว์เลี้ยง-เครื่องทุ่นแรงแทนแรงงาน)

ยกตัวอย่างเรื่อง ฟาง เห็นได้ชัดเลยว่า พวกเขามีการใช้วัสดุธรรมชาติที่เหลือใช้อย่างไรให้มีคุณค่าและคุ้มค่ามากกว่า

นั่นเขาเห็นภาพชาวนาใช้ฟางคลุมแปลงสตอเบอรี่ และในโรงนาเขาเห็นชาวนาเยอรมันใช้ฟางข้าวสาลีอัดแท่งสี่เหลี่ยม เก็บไว้เต็มโรงเรือน เต็มคอกเลี้ยงสัตว์ เอาไว้ให้สัตว์เลี้ยงจำพวก ม้า ลา แพะ กินในหน้าแล้งได้ตลอดปี


ที่มาภาพ http://www.oknation.net/blog/chedtha3/2009/06/15/entry-1

2.

เมื่อหันมาดูวิถีชาวนาไทย เขาพอเห็นความหวังและความอยู่รอดของสังคมเกษตรกรรมอยู่บ้าง เมื่อยังมีอีกหลายกลุ่ม หลายองค์กรเครือข่าย ได้หันมาให้ความสำคัญกับกสิกรรมธรรมชาติกันมากขึ้น

ดูได้จากแนวคิดของครูอุดม ศรีเชียงสา ปราชญ์ชาวนาอีกคนของไทย ที่บอกย้ำเอาไว้นานแล้วว่า...ฟางนั้นมีค่ากว่าทองคำ                                                                      

"เคล็ดที่(ไม่)ลับบนความสำเร็จของการทำกสิกรรมธรรมชาติ ในยุคที่ประเทศไทย กำลังอยู่ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ฟางคือชิ้นส่วนของต้นข้าวที่ชาวนาเก็บเกี่ยว เอาเมล็ดข้าวเปลือกไปแล้ว ส่วนมากชาวนาเผาทิ้ง การเผาฟางทิ้ง เป็นการสูญเสียทรัพยากรในประเทศโดยเปล่าประโยชน์..."

ครูอุดม บอกว่า เคยมีผู้รู้ และผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่ง กล่าวเปรียบเปรยเอาไว้ว่า ผู้ใดเผาฟาง ผู้นั้นกำลังเผาธนบัตรฉบับละ 100 บาท ฉบับละ 500 บาทจำนวนมากของตนเองทิ้ง'


ที่มาภาพ : www.ku.ac.th/e-magazine/sep49/image/fan.jpg

"นาของผม ผมใช้สูตรเอาฟาง เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ก็โน้มฟางลงดิน แล้วปล่อยน้ำเข้าประมาณ 3 เดือน ฟางก็จะใส่เน่า นาของผมปีแรกได้ข้าว 100 กว่า ปีต่อมาได้ 200 เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ แค่ผมมีฟาง..."

ครูอุดม บอกอีกว่า ฟางให้ธาตุฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ไนโตรเจน ฟางที่เน่าย่อยสลายอยู่กับดินไปเรื่อยๆมันจะไปปรับดินจากดินที่เค็มเป็นดินที่มีความสมดุล

"นาของผมเมื่อก่อนพ่อตาเผาฟาง ข้าวก็ไม่ดี ต่อมาผมบอกให้ทำอย่างที่ผมทำ เดี๋ยวนี้ได้ข้าว 200 กว่า ถ้าหากเราอยากให้มันดีต่อไปอีก เรามาดูพืชตระกูลถั่วทุกอย่าง ถั่วที่ดีที่สุดคือต้นก้ามปู ต้นจามจุรี ต้นบก ต้นอะไรก็ได้ที่เป็นฝัก เราพยายามปลูกไว้ตามไร่ตามนา มันจะให้แร่ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม หากเรามีฟางและถั่วมันจะรวมกัน มันก็จะให้แร่ธาตุ NPK ซึ่งอยู่ในปุ๋ยเคมีที่เราไปซื้อตามท้องตลาด"

3.

เมื่อหันมามองสวนในหุบผาแดง ที่เป็นที่อยู่ที่กินของเขาในขณะนี้ ยังคงดำเนินไปอย่างเงียบๆ ช้าๆ ไม่เร่ง ไม่รีบ หลังจากเขาขนฟางข้าวมากองไว้ในสวน เขากลับไปจัดการหอบฟางไปคลี่ๆ คลุมรอบโคนต้นไม้ แล้วนำไปปูลงบนแปลงผักหลังบ้านของเขาอีกครั้ง ปูทับไปบนหญ้าที่เริ่มรกปกคลุมให้หนาเข้าไว้ เพียงไม่นานวัน หญ้าขาดแสง ขาดอากาศหายใจ เริ่มเหลือง แห้งตาย ในขณะฟางเริ่มเน่า และกลายเป็นปุ๋ยในที่สุด

หลังจากนั้น เขาหมั่นรดน้ำ หรือปล่อยให้น้ำฟ้าโปรยลงจนผืนดินทุกหนแห่งชุ่มชื้น เขาเฝ้ารอเมล็ดพืชเมล็ดผักที่หยอดหว่านไว้นั้นงอกเงย โผล่ขึ้นมาจากเศษฟางในแปลง ให้เขาได้เด็ดกินอีกรอบหนึ่ง.

หมายเหตุ : ข้อมูลประกอบ-อ่าน ฟางมีค่ากว่าทองคำ' ของครูอุดม ศรีเชียงสา ได้ที่...http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Dokya/D95/D95_64.html

 

 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
ผมรู้ว่าสี่ห้าปีมานี้ ผมเขียนบทกวีได้ไม่กี่ชิ้น อาจเป็นเพราะต้องอยู่กับโลกข่าวสารที่จำเป็นต้องเร่งและเร็ว หรืออาจเป็นเพราะว่ามีบางสิ่งบางอย่างบดบัง จนหลงลืมมองสิ่งที่รอบข้าง มองเห็นอะไรพร่ามัวไปหมด หรือว่าเรากำลังหลงลืมความจริง...ผมเฝ้าถามตัวเอง...  อย่างไรก็ตามเถอะ...มาถึงตอนนี้ ผมกำลังพยายามฝึกใช้ชีวิต ให้อยู่กับความฝันและความจริงไปพร้อมๆ กัน ช่วงนี้ หลังพักจากงานสวน ผมจึงมีเวลาอยู่กับความเงียบลำพัง เพ่งมองภายในและสิ่งรายรอบมากยิ่งขี้น และผมเริ่มบันทึกบทกวีแคนโต้เหมือนสายน้ำ หลั่งไหล อย่างต่อเนื่อง ทุกวันๆ ตามดวงตาที่เห็น ตามหัวใจได้สัมผัสต้อง บ่อยครั้งมันมากระทบทันใด ไม่รู้ตัว…
ภู เชียงดาว
เกือบสามเดือนแล้วที่ผมพาตัวเองกลับมาอยู่ในหุบเขาบ้านเกิด ชีวิตส่วนใหญ่จึงขลุกอยู่แต่ในสวน ไม่ค่อยได้เดินทางไปไหนไกล แต่ผมกลับไม่รู้สึกว่าเหงาหรือห่างไกลกับผู้คนเลย เพราะในแต่ละเดือนมักมีมิ่งมิตรเดินทางมาเยี่ยมเยือนหากันตลอด  และทำให้ผมรู้อีกอย่างหนึ่งว่า...บางทีการอยู่นิ่งก็หมายถึงการเดินทาง ใช่ ผมหมายถึงว่า ในขณะที่ผมอยู่ในสวน หากยังมีผู้คนเดินทางแวะเวียนมาหา และที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ ผมยังมองเห็นเมล็ดพันธุ์เดินทางมายังสวนอย่างต่อเนื่อง “ผมเอาเมล็ดพันธุ์มาฝาก...” นักเดินทางคนหนึ่งเดินทางไกลมาจากสงขลา ล้วงเอาเมล็ดพันธุ์ที่ใส่ไว้ในกล่องฟิล์มยื่นให้ ขณะผมกำลังง่วนทำงานอยู่ในสวน
ภู เชียงดาว
หลังดินดำน้ำชุ่ม เขาหยิบเมล็ดพันธุ์หลากหลายมากองวางไว้ตรงหน้า มีทั้งเมล็ดผักกาดดอยที่พ่อนำมาให้ เมล็ดฟักทองที่พี่สาวฝากมา นั่นเมล็ดแตงกวา เมล็ดหัวผักกาด ถั่วพุ่ม ผักบุ้ง บวบหอม ผักชี ฯลฯ เขาค่อยๆ ทำไปช้าๆ ไม่เร่งรีบ ทั้งหว่านทั้งหยอดไปทั่วแปลง เสร็จแล้วเดินไปหอบใบหญ้าแฝกที่ตัดกองไว้ตามคันขอบรอบบ้านปีกไม้มาปูบนแปลงผักแทนฟางข้าว ให้ความชุ่มชื้นแก่ดินหลังจากนั้น เขามองไปรอบๆ แปลงริมรั้วยังมีพื้นที่ว่าง เขาเดินไปถอนกล้าตำลึง ผักปลัง ผักเชียงดา มะเขือ พริก อัญชัน ตะไคร้ ขิง ข่า กระเพรา โหระพา สาระแหน่ ฯลฯ มาปลูกเสริม หยิบลูกมะเขือเครือ(ที่หลายคนเรียกกันว่าฟักแม้วหรือซาโยเต้)…
ภู เชียงดาว
ในช่วงสองเดือน ก่อนที่เขาจะตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เกือบทุกเสาร์-อาทิตย์ เขาใช้เวลาเทียวขึ้นเทียวล่องระหว่างเมืองกับสวนในหุบเขาบ้านเกิด เพื่อวางแผนลงมือทำสวนผักหลังบ้าน แน่นอน- -เพราะเขาบอกกับตัวเองย้ำๆ ว่าหากคิดจะพามนุษย์เงินเดือน กลับไปใช้ชีวิตแบบนั้นได้ จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีฐานที่มั่น และมีผักไม้ไซร้เครือเตรียมไว้ให้พร้อม ให้พออยู่พอกินเสียก่อน ใช่ เขาหมายถึงการสร้างฐานความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวหลังบ้าน   หลายคนอาจบอกว่า งานทำสวนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เหมือนกับงานสาขาอาชีพอื่น แต่ก็อีกนั่นแหละ เขากลับมองว่า งานสวนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย…
ภู เชียงดาว
1. ในชีวิตคนเรานั้นคงเคยตั้งคำถามที่ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก คำถามคลาสสิกหนึ่งนั้นคือ...“คนเราต้องการอะไรในชีวิต!?...” คำตอบส่วนใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นต้องการปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต ...อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หากปัจจุบัน ‘เงิน’ กลับกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของคนเรา แน่นอน, เมื่อเอาเงินเป็นตัวกำหนดชะตากรรม,ชีวิต จึงทำให้ทุกคนต้องดิ้นรนเพียงเพื่อให้ได้มาทุกสิ่งทุกอย่าง จนทำให้ชีวิตหลายชีวิตนั้นขวนขวายทำงานกันอย่างหน่วงหนัก ‘การงาน’ ได้กระชากลากเหวี่ยงเรากระเด็นกระดอนไปไกลและไกล ให้ออกไปเดินบนถนนของความโลภ ไปสู่เมืองของความอยาก ไปสู่กงล้อของการไขว่คว้าที่หมุนวนอยู่ไม่รู้จบ…
ภู เชียงดาว
ค่ำนั้น, ฟ้าเริ่มครึ้มมัวหม่นเมฆฝน ข้ายืนจดจ้องฝูงมดดำเคลื่อนขบวนมหึมา ไต่ไปบนปีกไม้ไปหารวงรังแตนเกาะริมขอบหน้าต่างบ้านปีกไม้ หมู่มดยื้อแย่งขนไข่แตนกันออกจากรัง อย่างต่อเนื่อง ขณะฝูงแตนบินว่อนไปมาด้วยสัญชาติญาณ คงตระหนกตกใจระคนโกรธขึ้งเคียดแค้น แต่มิอาจทำอะไรพวกมันได้ เหล่าฝูงมดอาศัยพลพรรคนับพันนับหมื่นชีวิต ใช้ความได้เปรียบเข้าปล้นรังไข่พวกมันไปหมดสิ้น ไม่นาน ขบวนมดจำนวนมหาศาลก็ถอยทัพกลับไป ฝูงแตนไม่รู้หายไปไหน เหลือเพียงรังแตนที่กลวง ว่างเปล่า
ภู เชียงดาว
ในที่สุด, ผมก็พาตัวเองกลับคืนสู่บ้านเกิดอีกครั้ง หลังจากโชคชะตาชักชวนชีวิตลงไปอยู่ในโลกของเมืองตั้งหลายขวบปี การกลับบ้านครั้งนี้ ผมกะเอาไว้ว่า จะขอกลับไปพำนักอย่างถาวร หลังจากชีวิตเกือบค่อนนั้นระหกระเหินเดินทางไปหลายหนแห่ง ผ่านทุ่งนา ภูเขา แม่น้ำ ทางป่า ถนนเมือง... จนทำให้บ้านเกิดนั้นเป็นเพียงคนรู้จักที่ไม่คุ้นเคย เป็นเหมือนโรงเตี๊ยมพักผ่อนชั่วคราวก่อนออกเดินทางไกล อย่างไรก็ตามได้อะไรมากและหลากหลาย... สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาสู่,ชีวิตการกลับบ้านเกิดหนนี้, เหมือนกับว่าไปเริ่มสู่จุดเริ่มต้นและก่อเกิด ผมบอกกับหลายคนว่ากำลังเกิดใหม่เป็นหนที่สามจากบ้านเกิด เข้ามาเรียนในเวียง…
ภู เชียงดาว
‘ลุ่มน้ำแม่ป๋าม’ ถือว่าเป็นลุ่มน้ำสาขาหลักที่สำคัญของแม่น้ำปิงอีกสายหนึ่งของอำเภอเชียงดาว ที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย เมื่อย้อนทวนขึ้นไปบนความสลับซับซ้อนของต้นกำเนิดน้ำแม่ป๋าม หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ตาน้ำ จะพบว่าอยู่บริเวณชุมชนบ้านแม่ปาคี ต.สันทราย ของ อ.พร้าว ก่อนจะลัดเลาะไหลอ้อมตีนดอยผาแดง ลงสู่หุบห้วยบริเวณบ้านป่าตึงงาม โดยมีสายน้ำย่อยอีกสายหนึ่ง คือน้ำแม่ป๋อย ได้ไหลมารวมกับน้ำแม่ป๋ามตรงสบน้ำบ้านออน ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว นอกจากนั้นยังมีลำน้ำแม่มาดอีกสายหนึ่ง ซึ่งมีขุนน้ำอยู่บริเวณป่าเชิงดอยบ้านปางโม่ ก็ได้ไหลมาสมทบกับน้ำแม่ป๋าม แล้วค่อยไหลผ่านหมู่บ้านแม่ป๋าม…
ภู เชียงดาว
มองไปในความกว้างและเวิ้งว้าง ทำให้ผมอดครุ่นคิดไปลึกและไกล และพลอยให้อดนึกหวั่นไหวไม่ได้ หากภูเขา ทุ่งนาทุ่งไร่ สายน้ำ และวิถีชีวิตในหมู่บ้านเกิดของผมต้องเปลี่ยนไป เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติเข้ามาเยือน
ภู เชียงดาว
‘…เรารู้ซึ้งถึงสิ่งนี้ โลกนี้มิใช่ของมนุษย์ มนุษย์ต่างหากที่เป็นสมบัติของโลก สิ่งนี้เรารู้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันเหมือนดังสายเลือดในครอบครัวเดียวกัน ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นแก่บุตรธิดาของโลกด้วย มนุษย์ไม่ใช่ผู้สานทอใยแห่งชีวิต เขาเป็นเพียงเส้นใยหนึ่งในนั้น สิ่งใดก็ตามที่เขาทำต่อข่ายใยนั้น ก็เท่ากับกระทำต่อตนเอง...’จดหมายโต้ตอบของหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงที่ซีแอตเติ้ลจากหนังสือ ‘ณ ที่ดวงตะวันฉายแสง ข้าจะไม่สู้รบอีกต่อไป’วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ : แปล และเรียบเรียง
ภู เชียงดาว
  ผมยืนอยู่บนเนินเขาเหนือหมู่บ้าน จ้องมองภาพเคลื่อนไหวไปเบื้องหน้า... เป็นภาพที่คุ้นเคยที่ยังคงสวยสด งดงาม และเรียบง่ายในความรู้สึกผม ภาพชาวนาในท้องทุ่ง ภาพหุบเขาผาแดงที่มีป่าไม้กับลำน้ำแม่ป๋ามไหลผ่านคดโค้งเลียบเลาะระหว่างตีนดอยกับทุ่งนา ก่อนรี่ไหลลงไปสู่ลำน้ำปิง แม่น้ำในใจคนล้านนามานานนักนาน
ภู เชียงดาว
(1)ดอกฝนหล่นโปรยมาทายทักแล้ว,ในห้วงต้นฤดูหอมกลิ่นดินกลิ่นป่าอวลตรลบไปทั่วทุกหนแห่งหัวใจหลายดวงชื่นสดในชีวิตวิถีถูกปลุกฟื้นตื่นให้เริ่มต้นใหม่อีกคราครั้ง…ตีนเปลือยย่ำไปบนดินนุ่มชุ่มชื้น,เช้าวันใหม่ไต่ตามสันดอย ไปในไร่ด้วยกันนะน้องสาวผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน  ช่วยกันทำงานๆพี่ใช้เสียมลำไม้ไผ่กระทุ้งดิน  น้องหยิบเมล็ดข้าวหยอดใส่หลุมไม่เร่งรีบ ไม่บ่นท้อ ในความเหน็ดหน่ายเสร็จงานเราผ่อนคลาย  เอนกายผ่อนพักใต้เงาไม้ใหญ่แล้วพี่จะกล่อมให้, ด้วยเพลงพื้นบ้านโบราณขับขาน