Skip to main content

ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น



ท่านผู้อ่านคงจะรู้สึกคล้าย ๆ กันกับหลายคนที่ได้ตั้งคำถามเชิงไม่ไว้วางใจต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าน้ำมันว่า
“ตอนที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งขึ้นสูงสุดเมื่อกลางปี 2551 กับตอนนี้ (มิถุนายน 2552) ซึ่งราคาน้ำมันดิบลดลงมาครึ่งหนึ่งแล้ว แต่ทำไมราคาน้ำมันหน้าปั๊มในบ้านเราจึงลดลงไม่มาก มันเกิดอะไรขึ้น กลไกราคามันเป็นอย่างไร”

เพื่อความแน่นอนในตัวเลข ผมจึงลองค้นหาข้อมูลย้อนหลังดูก็พบว่า ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม 2551 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (ราคาที่จุดขายหรือราคาเอฟโอบี ไม่รวมค่าขนส่ง) อยู่ที่ 137.11 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดีเซลชนิดหมุนเร็วหน้าปั๊มในเขตกรุงเทพฯลิตรละ 42.64 บาท แต่พอมาถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2552 ราคาน้ำมันดิบลดลงมาอยู่ที่ 68.58 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ราคาน้ำมันชนิดเดิมและที่เดิมอยู่ที่ 25.39 บาทต่อลิตร

ในความคาดหวังของผู้ตั้งคำถาม คงอยากจะบอกว่า ถ้าราคาน้ำมันดิบลดลงครึ่งหนึ่ง ราคาหน้าปั๊มก็ควรลดลงมาครึ่งหนึ่งด้วย คือควรจะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 21 บาทต่อลิตร ไม่ใช่ 25 บาทต่อลิตรอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ซึ่งสูงกว่าที่เขาคิดถึง 19 เปอร์เซ็นต์

พร้อมกันนี้ผู้สงสัยก็คำนวณต่อไปอีกว่า ในแต่ละวันคนไทยใช้น้ำมันดีเซลชนิดหมุนเร็ว 58 ล้านลิตร ผู้บริโภคถูกคิดราคาเกินไปถึงวันละกว่า 200 ล้านบาท

ในความเป็นจริงราคาน้ำมันที่หน้าปั๊มจะประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

  1. ราคาน้ำมันดิบซึ่งขึ้นอยู่กับพ่อค้าผูกขาดระดับโลกจะกำหนด เรื่องนี้เกินอำนาจที่รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ที่แก้ไขได้
  2. ค่าการกลั่นเฉลี่ย ( average gross refinery margin) ซึ่งหมายถึงราคาที่ต่างกันระหว่างน้ำมันดิบกับราคาผลิตภัณฑ์ที่กลั่นออกมาได้ สมมุติว่าราคาน้ำมันดิบ 60 $/บาร์เรล หลังจากกลั่นเสร็จแล้วราคาของผลิตภัณฑ์ต่างๆ (เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันกาด นาฟต้า (naphtha-สารที่ใช้ผลิตเชื้อเพลิงอื่นที่มีอ๊อกเทนสูงและอื่น ๆ) รวมกันเป็น 65 $ เราเรียกว่า “ผลต่างของการกลั่นรวม” หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า ค่าการกลั่น
  3. ค่าการตลาด (marketing margin) คือผลต่างระหว่างราคาขายกับราคาซื้อ
  4. ค่าภาษีซึ่งได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเทศบาล รวมถึงกองทุนต่าง ๆ
  5. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างบาทกับดอลลาร์สหรัฐ

โดยปกติ ค่าภาษีน้ำมันในบ้านเราจะเปลี่ยนไปตามนโยบายรัฐบาล ในช่วงที่ราคาน้ำมันแพงมาก เช่น วันที่ 1 กันยายน 2551 ราคาน้ำมันดีเซลชนิดหมุนเร็วหน้าปั๊มลิตรละ 33.04 บาท รัฐบาลเก็บภาษีทุกชนิดรวมกัน 2.82 บาท (หรือ 8.54% ของราคาขาย) แต่ในช่วงที่ราคาน้ำมันถูกลงค่าภาษีกลับเพิ่มขึ้น เช่น เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2552 ราคาน้ำมันชนิดเดียวกันราคาลิตรละ 23.29 บาทแต่เป็นค่าภาษีถึง 7.61 บาท(หรือ 33%)

เมื่อเป็นเช่นนี้ การคาดหวังของผู้ใช้น้ำมันข้างต้นจึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

ในประเด็นเรื่องภาษี แต่ละประเทศมีแนวคิดและอัตราการเก็บต่างกันมาก เช่น ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น ในขณะที่ราคาน้ำมันในบ้านเราลิตรละ 40 บาท ในบ้านของเขาเหล่านั้นลิตร 100 บาท ในจำนวนนี้เป็นค่าภาษีเสียเกือบ 60% ที่เป็นเช่นนี้เพราะแนวคิดการประหยัดพลังงานและการนำภาษีน้ำมันที่เป็นพิษไปสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม แต่ในสหรัฐอเมริกา ราคาน้ำมันและอัตราภาษีไม่ต่างจากบ้านเรามากนัก คนอเมริกันที่มีจำนวนเพียง 5% ของโลกจึงใช้พลังงานถึง 30% ของโลก

ประเด็นที่น่าสนใจคือ องค์ประกอบที่ (2) คือค่าการกลั่น ในบ้านเรากำหนดโดยเจ้าของโรงกลั่นระดับประเทศซึ่งมีอยู่จำนวน 7 โรง ในจำนวนนี้มี บริษัท ปตท. เป็นหุ้นส่วนใหญ่ถึง 5 โรง ในการนี้ยังมีกลไกระดับรัฐบาลเป็นผู้กำกับดูและอีกระดับชั้นหนึ่ง

ค่าการกลั่น

เป็นที่น่าสังเกตว่า กระทรวงพลังงานซึ่งมีหน้าที่ดูแลกิจการพลังงานทั้งประเทศ ได้นำเสนอข้อมูลพลังงานที่ยากต่อการสืบค้นและทำความเข้าใจเมื่อเทียบของประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศอังกฤษ เขาจะมีเอกสารที่จัดทำโดยกลุ่มโรงกลั่น 9 โรง (จากจำนวน 12 โรง) ในนามของ UKPIA (United Kingdom of Petroleum Industry Association) เช่น บอกว่า ค่าการกลั่นของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ระหว่าง 4.2 ถึง 5.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักจากปี ค.ศ. 2004 ถึง 2007 (ดังแผนภาพข้างล่างนี้)


แต่เว็บไซต์ของกระทรวงพลังงาน (http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html) ให้ข้อมูลเป็นรายวัน เป็นตัวเลข แต่ละวันก็อยู่คนละหน้า ทำให้เราไม่เข้าใจภาพรวม ไม่เห็นแนวโน้ม และไม่เห็นการเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ใครที่รู้อยาก สงสัยอย่างผมเองก็ต้องเสียเวลานั่งไล่กันเป็นวัน ๆ กว่าจะได้มาเพื่อทำการวิเคราะห์เอาเอง นอกจากนี้ยังพบว่า อยู่ ๆ ข้อมูลค่าการกลั่นของกระทรวงพลังงานก็หายไปจากเว็บไซต์ คือไม่รายงานอีกเลย เช่น วันที่ 1 ธันวาคม 2551 ยังมีการรายงานตามปกติที่ผ่านมา แต่พอมาถึงปลายเดือนธันวาคมเป็นต้นมาก็หายไปตลอดกาล

กลับมาที่กรณีของประเทศอังกฤษอีกครั้ง นอกจากการนำเสนอข้อมูลเรื่องค่าการกลั่นของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือแล้ว ยังมีการเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา จากกราฟ (ที่เขานำเสนอ) เราจะเห็นว่า ค่าการกลั่นของ 3 ประเทศอยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกันมาก คือประมาณ 2-6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ยกเว้นอยู่ช่วงเดียวคือประมาณปี 2005 ถึง 2007 ที่ค่าการกลั่นของสหรัฐอเมริกาได้พุ่งไปถึงประมาณ $13 ต่อบาร์เรล ด้วยเหตุผลว่าประเทศเขาประสบภัยพิบัติจากพายุเฮริเคน แคตรินาเมื่อปี 2005

นอกจากนี้จากข้อมูลในกราฟทำให้เราทราบว่า ค่าการกลั่นยังแปรผันขึ้นลงตามฤดูกาลอีกด้วย แต่ก็ไม่ต่างกันมากนัก

อนึ่ง ค่าการกลั่นยังขึ้นกับประเภทของน้ำมันดิบอีกด้วย แต่จะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้เพราะกระทรวงพลังงานเองก็ไม่ได้จำแนกประเภทน้ำมันดิบเอาไว้

เนื่องจากข้อมูลของกระทรวงพลังงานมีปัญหาดังที่กล่าวแล้ว ผมจึงได้ใช้วิธีการดังนี้ คือ
ผมสุ่มข้อมูลค่าการกลั่นเฉลี่ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของปี 2550 ทุกเดือนๆ ละ 5 วันโดยกระจายตัวทั่วทั้งเดือน รวม 60 ข้อมูล ผมพบว่า

ค่าการกลั่นของประเทศสยามเมืองยิ้ม(ไม่ออก) อยู่ที่ 9.52 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในขณะที่ของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ที่ 5.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเท่านั้น ของประเทศสิงคโปร์ก็ประมาณ 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ยกเว้นของสหรัฐอเมริกาที่เกิดภัยพิบัติ

สมมุติว่า(สมมุตินะครับสมมุติ) ถ้ารัฐบาลไทยมีการควบคุมให้ค่าการกลั่นของไทยเท่ากับของประเทศยุโรปหรือของประเทศสิงคโปร์แล้วราคาน้ำมันในบ้านเราจะลดลงทันทีถึงลิตรละ 94 สตางค์

ในปี 2550 น้ำมันดิบเข้าโรงกลั่นทั้ง 7 ของประเทศไทยประมาณ 5 หมื่น 3 พันล้านลิตร (http://www.eppo.go.th/info/stat/T02_02_02-1.xls) ดังนั้น คนไทยจะสามารถประหยัดเงินได้รวมกันถึงปีละ 5 หมื่นล้านบาท

เพื่อให้ได้ความรู้มากขึ้น ผมลองตรวจสอบในเดือนกันยายน 2551 โดยใช้ข้อมูลเพียง 20 วัน พบว่า ค่าการกลั่นเฉลี่ยของน้ำมันทุกชนิดในประเทศไทยอยู่ที่ 13.25 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลและเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ผมพบดังตารางข้างล่างนี้ (เพียงเพื่อให้เห็นเป็นหลักฐาน โดยไม่อธิบายในรายละเอียดเพิ่มเติม)

อนึ่ง ข้อมูลที่ผมนำมาคิดทั้งหมดต่างมีแหล่งอ้างอิงตามที่กล่าวมาแล้ว หากผมคิดหรือเข้าใจอะไรผิดพลาดไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดชี้แจงครับ เพราะเป็นหน้าที่โดยตรงของท่านที่จะต้องทำความเข้าใจกับผู้บริโภค บนพื้นฐานของความเป็นจริง

ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะให้ร้ายหน่วยงานใด เพียงขอทำหน้าตรวจสอบนักการเมืองและกลุ่มพ่อค้าที่รวยเอารวยเอา ในขณะที่ชาวบ้านชาวช่องกลับอัตคัดขัดสนลงลงทุกวัน

ขอขอบคุณทุกท่านครับ

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…