Skip to main content

จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน

“ทองปาน” นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในหลายร้อยหลายพันตัวอย่างของผู้คนที่ต้องอพยพภายหลังการสร้างเขื่อน

องอาจ โพนทอง ผู้ได้รับบทเป็นทองปานจากภาพยนต์สารคดี ๑๖ มม. เรื่อง ‘ทองปาน’ เมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน (จัดสร้างโดย lsan film : mike morrow กำกับการแสดงโดยไพจง ไหลสกุล สุรชัย จันทิมาธร ยุทธนา มุกดาสนิท รัศมี เผ่าเหลืองทอง) เขาได้พูดบอกนักศึกษาคนหนึ่งที่เดินทางไปจังหวัดเลย เพื่อชวนชาวบ้านมาร่วมงานสัมมนาเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนผามองที่จะสร้างเพื่อกั้นแม่น้ำโขงไว้ว่า เขาอพยพมาจากพื้นที่สร้างเขื่อนลำปาวในจังหวัดกาฬสินธุ์ หากจับใจความคำพูดของทองปานในเรื่องการอพยพของเขา พอจะบอกเป็นนัยๆ ได้ว่า ในยุคสมัยก่อนเมื่อประเทศไทยเริ่มลงมือก่อสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และปั่นเป็นไฟฟ้า รวมทั้งในการชลประทาน ชาวบ้านผู้อยู่ในพื้นที่ของการก่อสร้างไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐเลยแม้แต่น้อย

ขณะเมื่อได้ฟังการสนทนาผ่านจอแก้วของท่านผู้นำในเรื่องการสร้างฝายแม้ว (Check Dam ตามที่ท่านผู้นำบอกเราคือเขาะกั้นน้ำไว้และดันให้น้ำถอยหลังไปสู่ท่อหรือคอลงน้ำที่ขุดไว้ จากนั้นน้ำก็จะไหลไปตามท่อสู่เป้าหมายปลายทาง) ที่จะมีการก่อสร้างถึง ๓ แห่งบนแม่น้ำบนพรมแดนไทย-ลาว และดูเหมือนว่าฝายบ้านกุ่มจะมีความก้าวหน้ากว่าที่อื่น เพราะในตอนนี้อยู่ในขั้นตอนเซ็นสัญญาในการทำการศึกษากันไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากจะพุดเรื่องการทำฝายแม้วแล้ว ท่านผู้นำของเรายังได้พูดถึงเรื่องการผันน้ำจากแม่น้ำโขงมาสู่ภาคเกษตรของภาคอีสาน เมื่อได้ฟังทำให้หวนคิดถึงภาพยนต์เรื่องทองปาน

จากคำพูดของท่านผู้นำที่บอกว่า หลังสร้างฝายน้ำจะท่วมหมู่บ้านทางฝั่งลาว ๗ หมู่บ้าน ฝั่งไทยอีก ๒ หมู่บ้าน สิ่งที่ท่านผู้นำพยายามบอกเราไม่หมดก็คือว่า แล้วหมู่บ้านที่น้ำท่วมนั้น เราจะช่วยเหลือเขายังไง แต่สิ่งที่ท่านผู้นำพยายามย้ำกับเรา –ท่านผู้ชมคือ ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องสร้างฝายบ้านกุ่ม และฝายอื่นๆ บนแม่น้ำโขงให้ได้ เพราะเราจะมีน้ำใช้ในภาคอีสานตลอดปี ทำไมท่านผู้นำต้องเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ คำถามนี้คงมีคำตอบภายหลังเมื่อฝายสร้างเสร็จ ว่าทำไมท่านผู้นำของเราต้องเร่งรีบที่จะดำเนินการในเรื่องนี้

ในกระบวนการที่กำลังเกิดขึ้นในเรื่องของการสร้างฝาย (เขื่อนนั้นแหละ แต่ท่านผู้นำหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่าเขื่อน จึงใช้คำว่าฝายแทน) บทเรียนที่ชาวบ้านคนท้องถิ่นผู้อยู่ในพื้นที่การก่อสร้างจะได้รับก็คงซ้ำรอยกับทองปาน แม้ว่าเขาจะกล้าพูดเพียงใด แต่สุดท้ายคำพูดของคนท้องถิ่นก็คงไม่มีความหมาย

๓๐ กว่าปีผ่านไป การก่อสร้างเขื่อนผามองได้ถูกเก็บม้วนลงเงียบๆ แต่โครงการเขื่อนอื่นๆ บนแม่น้ำโขงกลับเร่งรุดเร่งรีบดำเนินการไปหลายต่อหลายเขื่อน แม้ว่าในตอนนี้เราจะมีคนอย่างทองปานอยู่มากเพียงใดก็ตาม แต่หากว่าท่านผู้นำลงฟังเสียงของคนอย่างทองปานบ้าง อย่าเพียงแต่คิดว่า คนที่คิดที่พูดเหมือนทองปานจะเป็นตัวถ่วงความเจริญเพียงอย่างเดียว บางทีสิ่งที่ท่านผู้นำจะได้อาจมากกว่าการได้รู้จักตัวตนของทองปานก็เป็นได้

20080606 sumart
แผ่นวีซีดีภาพยนตร์เรื่องทองปานที่ถูกแปลงจากม้วนหนังขนาด ๑๖ มม.
จัดทำโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์

นอกเหนือการสนทนาผู้เดียวของท่านผู้นำที่พูดเรื่องการสร้างฝายกั้นน้ำโขงแล้ว ท่านผู้นำยังใจดีพูดให้เราฟังถึงโครงการเมกกะโปรเจ็ต ในนามโครงการผันน้ำในลุ่มน้ำโขงไปสู่แม่น้ำและอ่างเก็บน้ำสายต่างๆ ของภาคอีสาน เพื่อพลิกแผ่นดินอีสานให้กลายเป็นภูมิภาคชุ่มน้ำ

จังหวัดชุ่มน้ำแรกสุดของภาคอีสานที่จะเกิดขึ้นคือจังหวัดเลย ที่อำเภอเชียงคานโดยตัวโครงการนั้นคือการผันน้ำโขงเข้ามาน้ำเลย และส่งต่อไปยังจังหวัดอุดร เพื่อลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ คำถามที่ตามาคือ ทำไมต้องลงที่อุบลรัตน์ น้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ไม่พอใช้กระนั้นหรือ

และหากเป็นความจริงที่ท่านผู้นำยอมรับคือ เมื่อจะทำโครงการแบบนี้ เราต้องมีผู้เสียสละ คนที่เสียสละก็คือคนอย่างทองปาน ชาวบ้านตาดำๆ ผู้อยู่นอกขอบของความเจริญ มันไม่ได้มีตรรกะอย่างอื่นให้มองได้อีกเลยว่า ท่านผู้นำของเราจะเห็นใจคนอย่างทองปาน เพราะสมัยหนึ่ง ท่านผู้นำของเราเคยสั่งให้เทศกจรื้อข้าวของที่สมัชชาคนจนหอบหิ้วมาจากบ้าน เพื่อมาปักหลักชุมนุมบอกกล่าวความเดือนร้อนจากการสร้างเขื่อนของตัวเองให้สาธารณชนได้รับรู้ที่หน้าทำเนียบ ในครานั้น น้ำตาของชาวบ้านผู้ไม่ต่างจากทองปานหลายคนอาบใบหน้า

ท่านผู้นำครับ เรายังไม่พอใจอีกหรือครับที่เห็นคนส่วนใหญ่คล้ายทองปานเขาเดือนร้อน ท่านยังจะซ้ำเติมพวกเขาไปถึงไหนกัน ระวังนะครับหากว่าเมื่อไหร่ที่ทองปานหลายๆ คนซุ่มฝึกมวยเอาไว้ใช้ต่อสู้บนสังเวียน และคู่ต่อสู้ของเขาเหล่านั้นจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากท่านผู้นำนั่นเอง

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…