Skip to main content
 

บรรยากาศในบ้านเริ่มคึกคักมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีเสียงเตหน่าบรรเลงในบ้านไม่เว้นแต่ละคืน  บางคืนเป็นเสียงเตหน่า ลายเดิมที่ผู้เป็นพ่อเป็นคนถ่ายทอด  แต่บางคืนมีเสียงเตหน่าลายแปลกออกมาจนผู้เป็นพ่ออดไม่ได้จนต้องเงี่ยหูฟัง 

นานแล้วที่เจ้าของเสียงเตหน่ากูห่างหายไปจากการร่ำเรียนวิชาจากพ่อ  แต่วันนี้เขากลับมาหาครูผู้สอนเตหน่ากูของเขาอีกครั้ง แน่นอนมันต้องมีอะไรบางอย่างสงสัยจึงต้องมา

"พ่อผมจะไปล้มไม้มาทำเตหน่ากู ควรจะหาไม้อย่างไรดี" ประโยคแรกที่เขามาถามพ่อ
"จริงๆ แล้วไม้อะไรก็ได้ทั้งนั้น ขอให้เป็นไม้ที่โค้งงอ แต่คนสมัยก่อนเขานิยมใช้ไม้เก่อมา หรือภาษาไทยเรียกว่าไม้ซ้อ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นไม้ที่เหนียวแต่เบา เหมาะสำหรับการมาทำเป็นเตหน่ากูที่สุด" พ่อตอบ

"เก่อมาใช่มั้ย? พ่อ ดีล่ะ ที่ขุนห้วยโกะแชแยคีมีเก่อมาหลายต้นพรุ่งนี้ผมจะไปหาต้นดีๆ มาทำเตหน่ากูซักสี่ห้าต้น" เขาบอกกับพ่อ

"เฮ้ย!! ล้มมั่วไม่ได้นะ การทำเตหน่านั้นเขามีข้อห้ามอยู่นะ" พ่อทัดทาน
"ข้อห้ามอะไรอีกละครับ แค่ล้มไม้มาทำเครื่องดนตรี" เขาไม่เข้าใจในสิ่งที่พ่อบอกเขา

"คนปกาเกอะญอที่เล่นเตหน่ากูสมัยก่อนบอกต่อกันในการทำเตหน่ากูนั้น ห้ามล้มต้นไม้เพื่อมาทำเตหน่ากูเกินสามต้น และไม่ใช่ว่าจะไปตัดไม้เมื่อไหร่ก็ได้ วันที่ผู้เฒ่าผู้แก่ปกาเกอะญอนิยมทำมากที่สุดคือ วันที่พระจันทร์เต็มดวง ถือว่าเป็นวันดีไปล้มไม้มาทำเตหน่ากู เชื่อว่าจะทำให้เตหน่ากูตัวนั้นเสียงไพเราะและดึงดูดคนฟังได้มากกว่าไปล้มไม้ในวันอื่นๆ" พ่อบอกเขา

"แล้วล้มเกินสามต้นแล้วมันจะเป็นมันอย่างไร?" ลูกชายถามต่อ
"คนเฒ่าคนแก่เขาบอกเอาไว้ คนที่ฉลาดจะกินได้นานและยั่งยืนกว่า หากเรากินไม่เป็นใช้ไม่เป็นมันก็จะหมดเร็ว เมื่อก่อนคนที่เล่นเตหน่ามีความเชื่อว่า ภายในปีหนึ่งหากตัดต้นไม้มาทำเตหน่ากูเกินกว่าสามต้นแล้วมือจะเป็นหมัน จะทำให้ผลิตเตหน่ากูออกมาเสียงไม่ดีไม่เพราะ  และเวลาเล่นอาจทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันในชุมชนได้  

โดยในการล้มไม้นั้นต้องตัดไม้อย่างน้อยสูงระดับหัวเข่า  เพื่อให้ตาไม้สามารถแตกขึ้นมาใหม่ไม่ได้  อย่างที่ผู้เฒ่าผู้แก่เคยบอกไว้ว่า หน่อซีปะต่ออะคลี  เส่ทู่ซีดอเป่อเดอท่อซอ  ปกาเกอะญอซี ปะต่ออะเจอ หมายความว่า หญ้าตายได้ฝากเม็ดพันธุ์เอาไว้  ไม้ล้มตายแล้วได้แตกหน่อขึ้นมาใหม่  คนเมื่อตายย่อมฝากชื้อไขเอาไว้

หากตัดไม้ต่ำกว่าหัวเข่าอาจทำให้ไม้ตายอย่างถาวรจนไม่สามาารถแตกหน่อใหม่ได้  หากไม้ต้นที่เราตัดใช้งานนั้นตายแสดงว่าเราได้ใช้งานมันเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วจบ เราจึงกลายเป็นคนกลุ่มที่ไม่ฉลาดที่กินได้นานและไม่ยั่งยืน เราต้องคำนึงถึงการใช้ในระยะยาวด้วยเช่นกัน" พ่ออธิบายให้ลูกชายฟัง

"ถ้างั้นพรุ่งนี้เวลาผมไปตัดไม้ผมต้องไปขอแรงชาวบ้านไปช่วยแบกเพราะผมจะตัดต้นที่ใหญ่ที่สุด จะได้มาทำเตหน่าได้หลายตัว พ่อเห็นด้วยมั้ย?" ลูกชายถามพ่อ

"ต้นไม้ที่ใหญ่บางทีใช่ว่าจะทำเตหน่าได้ดี เพราะบางทีต้นใหญ่เกินไปทำให้การทำใช้เวลานาน เพราะฉะนั้นควรดูต้นที่ไม่ใหญ่เกินไปและไม่เล็กเกินไป ขนาดประมาณครึ่งคนโอบกำลังดี และพ่อจะบอกให้ถ้าจะให้ง่ายรอให้ไม้แห้งก่อนแล้วค่อยเอากลับมาที่บ้าน มันจะทำให้น้ำหนักของไม้เบาลง หากต้องการ เคลื่อนย้ายกลับมาที่ชุมชนจะสะดวกกว่า

วิธีการที่คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนนิยมทำคือ  การไปกันต้นไม้ที่หมายตาไว้ให้แห้งตายก่อน  แล้วค่อยไปล้มทีหลัง  แต่ต้องระวังในการกันต้นไม้นั้น  ต้องกันให้สูงกว่าหัวเข่ามิเช่นนั้นต้นไม้จะตายเช่นกัน  คนเฒ่าคนแก่บอกว่า  หากต้นไม้ตายหรือแห้งโดยธรรมชาตินั้นจะทำให้ทำเตหน่ากูเสียงดีกว่าปกติ" พ่อแนะนำลูกชาย

"ถ้างั้นก็ต้องใช้เวลาพอสมควรซิก่อนที่จะสามารถลงมือมาแกะเป็นเตหน่ากูได้ ผมนึกว่าล้มไม้เสร็จแล้วทำได้ทันทีเลย" ลูกชายบอกพ่อ
"ไม่ได้เพราะหากแกะหรือเจาะในขณะที่ไม้ยังไม่แห้งจะทำให้เนื้อไม้แตก เมื่อทำเตหน่ากูแล้วทำให้เตหน่ากูแตกหรือบิดเบี้ยวได้ง่าย บางทีคนเมื่อก่อนก็ใช้รากไม้ที่ตายแล้วมาทำเตหน่ากูด้วยก็มี เพราะรากไม้ที่ตายแล้วจะแข็งแรงกว่ากิ่งไม้เสียอีก แต่มันหาได้ยากกว่า"

พ่อกล่าวทิ้งท้ายก่อนบอกให้ลูกชายไปหาต้นไม้ที่ถูกใจมาทำเตหน่ากูได้แล้ว เพราะอีกนานหลายเดือนกว่าต้นไม้นั้นจะแห้งดีสำหรับมาแกะเตหน่ากู

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย