Skip to main content
หลัง ธาหมวด แป่โป่ แปซวย แล้ว ก็จะต่อด้วย ธาหมวดโข่เส่ คะมอ ตามด้วย หมวดโดยมีเด็กชายนำการเดินวนอยู่เหมือนวันแรก  และหมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขานต่อจาก หมวดโข่ เส่ คะมอ ต่อด้วย หมวด เชอเกปลือ  หมวดฉ่อลอ หมวดแกวะเก  หมวดธาชอเต่อแล


จากนั้น หมวดธาเดาะธ่อ จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งพร้อมกับการกลับมาอย่างแน่นขนัดของหนุ่มสาวเช่นเดิม เมื่อธาเดาะธ่อหรือเริ่มต้นมาแล้ว ก็จะมีหมวดธา เดาะแฮ
, หมวด ธาเดาะเหน่,หมวด ธาลอบะ ,หมวด ธา ลอกล่อ ซึ่งล้วนแต่เป็น ธา หน่อ เดอ จ๊อหรือธา หนุ่มสาว ซึ่งตั้งแต่ ธา หมวด เดาะธ่อ เป็นต้นไป ถือว่าเป็น เพลงธา ที่สามารถขับขานเป็นปกติได้ทุกโอกาส ทุกสถานที่ ไม่มีการห้ามแต่อย่างใด 

แต่สำหรับ หมวดเลปลือแหมะ, หมวด ธาแหน่หมื่อ เหน่ลา, หมวดธาโข่เส่ คะมอ, หมวดธาปลือลอ, หมวดเชอเกปลือ , ธา หมวดฉ่อลอ ,หมวดธาชอเต่อแล  ถือเป็นเพลงธาสำหรับร้องสวดในงานศพโดยเฉพาะ  และต้องขับขานเฉพาะเวลา และสถานที่ ที่มีงานศพเท่านั้น  ไม่สามารถขับขานนอกเหนือจากนั้นได้  ถือเป็นเพลงธาที่อัปมงคล  หากเหตุการณ์ เวลาที่ปกติ ถือเป็นเพลงธาต้องห้ามก็ว่าได้

ณ หมู่บ้านปกาเกอะญอ บ้านทุ่งหลวง ต.แม่วิน อ.แม่วาง เชียงใหม่  กลุ่มชุมชนคนรักป่าร่วมกับกลุ่มละครมะขามป้อม จัดกิจกรรมให้เด็กปกาเกอะญอในชุมชนซ้อมการเล่นละครเพื่อไปแสดงในงาน "มหกรรมเสียงเผ่าชนคนต้นน้ำครั้งที่ 3" โดยมีการหยิบเอา นิทานพื้นบ้านเรื่อง "หน่อหมื่อเอ" ซึ่งเป็นเรื่องที่สาวงามที่ถูกงูใหญ่รัดตัวเพื่อเอาไปมาทำเป็นเมียในพรงของงู  ซึ่งในฉากหนึ่งของการแสดงนั้นมีงานศพของหน่อหมื่อเอ เพื่อให้สมจริงจึงมีการใส่ฉากเพลงแห่ศพเข้าไปในละครด้วย ผมจึงถูกเรียกให้ช่วยไปสอนเพลงแห่ศพ จึงต้องหยิบเอา ธาปลือไปสอนนักแสดง

ก่อนการสอน ผมพยายามไปหาฮี่โข่ ซึ่งเป็นผู้นำทางขวัญและวิญญาณของชุมชน
"พาตี่(ลุง) ผมสามารถสอน ธาปลือ ในหมู่บ้านได้หรือเปล่าครับ" ผมถามฮี่โข่ ท่าทางเขาลังเลนิดหนึ่ง  ก่อนจะตอบว่า
"ผมคิดว่า......น่า...จะได้นะ แต่ให้ไปสอนที่ศาลาชุมชน คงไม่เป็นอะไรหรอกมั้ง?" เขาตอบผม

ผมไม่แน่ใจว่า เขาเกรงใจผมหรือเขาคิดว่าคงไม่เป็นไรจริงๆ แต่เมื่อผมได้รับไฟเขียวจากฮี่โข่ ผมก็ลงมือสอนเยาวชนปกาเกอะญอที่แสดงละครทันที  เสียง ธาปลือ ดังจากศาลาหมู่บ้าน  ชาวบ้านมาชะเง้อมองดูการซ้อมเพลงธา ปลือ เพื่อแสดงละครของเราอย่างแปลกๆ  แต่เมื่อเห็นว่าเป็นการแสดงละคร ทุกคนต่างไม่ว่าอะไร

สองวันผ่านไป  ผมตื่นมาในตอนเช้าวันที่สาม แล้วไปธุระส่วนตัวตามปกติ จากนั้นทานข้าวเช้าเสร็จเตรียมตัวขึ้นไปที่ศาลาชุมชนเพื่อสอนเพลง ธาปลือต่อตามแผนที่วางไว้  ขณะที่ผมกำลังเดินลงบันไดเพื่อไปที่ศาลาชุมชน พร้อมกับเยาวชนที่มารอเต็มหัวบันได ก็มีชายอาวุโสคนหนึ่งเดินเข้ามาหา

"โพโดะ (หลาน) ไม่ต้องไปสอนที่ศาลาแล้ว คืนนี้ไปที่บ้านผมเลย" เขาพูดด้วยสีหน้าตื่นเต้นปนเศร้า
"พูดไปเรื่อย จะร้องธา ปลือที่บ้านได้ไง มันไม่ดี" แม่เฒ่าที่ผมพักอยู่ที่บ้านเขาร้องทัก
"ไม่เป็นไร ก็พี (ยาย) ลอเคาะ เพิ่งสิ้นลมเมื่อเช้านี้เอง" หลังจากเขาพูดจบทุกคนจึงร้องอ๋อ บ้างก็ทำหน้าตกใจ บ้างก็ทำหน้าเศร้าใจ บ้างก็ทำหน้าแปลกใจ

คืนนั้นทั้งผมและเยาวชนก็มีโอกาสไปเรียนรู้การขับขาน ธาปลือ ในสนามจริงอย่างคาดไม่ถึง แต่น่าเสียดายที่มีการเก็บศพพีลอเคาะเพียงแค่คืนเดียว

แต่หลังจากนั้น ฮี่โข่และคนในหมู่บ้านไม่อนุญาตให้ซ้อมการร้องเพลง ธา ปลือ ในชุมชนอีกแล้ว  แต่เขาก็หาทางออกให้ว่า  สามารถซ้อมร้องเพลง ธาปลือได้แต่ต้องออกไปซ้อมให้ไกลจากหมู่บ้านในรัศมีที่ไม่สามารถได้ยินเสียงไก่ขันในชุมชนได้

เช้าวันรุ่งขึ้นจึงปรึกษากันแล้วก็ห่อข้าวกัน จากนั้นออกเดินตามเส้นทางเดินเท้าเล็กๆ ประมาณครึ่งชั่วโมง  เราถึงที่นาผืนหนึ่ง ซึ่งมีกระท่อมหลังหนึ่งปลูกไว้เหมือนเตรียมไว้สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ  เราจึงใช้สถานที่นั้นเป็นที่ฝึกซ้อมเพลง ธา ปลือ  เพื่อป้องกันมิให้มีคนตายเพิ่มขึ้นในหมู่บ้านอีก

เราคุยกับ ฮี่โข่ และกลุ่มผู้อาวุโสในชุมชนถึงเรื่องที่เกิดขึ้น  จริงๆ แล้วเราก็กลัวคนในชุมชนจะโทษที่เรามาซ้อมร้องเพลง ธา ปลือ ในชุมชนเช่นกัน แต่โชคดีที่คนในชุมชนต่างรู้และเข้าใจเจตนาของเรา และเราก็ถามฮี่โข่และชาวบ้านก่อนจะทำการฝึกร้องเพลง ธา ปลือ ชุมชนด้วย มิได้ทำโดยพลการ

"ไม่เป็นไร เก่อ ลี แฮ เหน่ เส่ ก่า ตอ อะ คา มันเป็นเหตุการณ์ ไม้หักโค่นเองในจังหวะที่ลมพัดมาพอดี ถ้าเป็นเมื่อก่อนต้องมีการขอขมาครอบครัวผู้ตาย แต่อันนี้เราไม่ว่ากัน" ฮี่โข่บอกกับผมและทีมงานละคร ทำให้เราโล่งอกกันไป แต่ก็เป็นบทเรียนที่น่าจดจำเป็นอย่างยิ่ง 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย