Skip to main content
 

บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม

\\/--break--\>

ช่วงหนึ่งของงานได้มีวาระการสัมมนาเกี่ยวกับผลกระทบของนโยบาย การขายคาร์บอนเครดิต หรือ REDD ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูง เป็นประเด็นเป็นปัญหาใหม่ที่คนชนเผ่าต้องหาวิธีการรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับแผ่นดินบ้านเกิดของตนเอง

 

ท้ายห้อง ผู้อาวุโสปกาเกอะญอนั่งฟังพร้อมกับกัดฟันเป็นจังหวะๆ ส่งสัญญาณการขบคิดแนวทางแก้ไขปัญหาให้ลูกหลานอย่างเข้มขรึม

 

"โพโดะควา (หลานชาย) มานี่" เขาควักมือเรียกผมมานั่งใกล้เขา

"นี่ ลุงจะบอกให้นะ สมัยลุงได้มีการต่อสู้มา สิบปี ยี่สิบปีผ่านมาได้ในระดับหนึ่งถ้าลูกหลานไม่มารับช่วงต่อก็ถือว่าสูญเปล่า ม้าเดินทางไกลได้ด้วยกีบเล็บที่แข็งแรง คนจะขับเคลื่อนชุมชนต่อได้ด้วยลูกหลาน ผู้เฒ่าผู้แก่บอกไว้อย่างนั้น ครั้งนี้เขาจะพูดถึงเรด ระหรืออะไรก็แล้วแต่ ลูกหลานต้องตามทันไม่อย่างงั้นชุมชนของเราจะไม่เหลือ

 

พาตี่เองไม่รู้จะอยู่อีกนานเท่าไหร่ จะมีกำลังเหลืออีกแค่ไหน คนรุ่นหนึ่งไป คนอีกรุ่นหนึ่งต้องมา อย่าทิ้งช่องว่างการต่อสู้ให้มันเกิดขึ้น เราต้องปกป้องป่า ปกป้องชุมชน ปกป้องชนเผ่า ปกป้องวัฒนธรรมของเรา มีหลายคนเคยต่อสู้มาแต่ตอนนี้ไม่ได้อยู่กับเราแล้ว เช่น พ้อเหล่ป่า หรืออีกหลายๆคน" พาตี่ จอนิ ได้พูดถึงพ้อเหล่ป่าผู้จากไป พร้อมถามถึงบรรยากาศงานลาโลกของพ้อเหล่ป่า ผมจึงเล่าบรรยากาศรวมทั้งเรื่องเพลงต้องห้าม

 

"พาตี่คิดอย่างไร หากลูกหลานคนปกาเกอะญอไม่รู้จักเพลงธาปลือ หรือเพลงสวดศพแบฉบับของคนปกาเกอะญอ?" ผมใคร่รู้มุมมองของผู้ที่ได้การยอมรับจากทั้งสังคมภายนอกและสังคมปกาเกอะญอเองว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้าน

 

"มันจะไปกันใหญ่ หากคนปกาเกอะญอไม่รู้จากธาปลือหรือ เพลงสวดศพของคนปกาเกอะญอ มันจะทำให้เขาไม่รู้จักตัวเองว่าเป็นใครมาจากไหน ไม่รู้จักความหมายที่แท้จริงของการมีชีวิต ไม่รู้จักสาเหตุของความทุกข์ ไม่เข้าใจที่มาของความตาย เขาจะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้อย่างล่องลอยไร้รากของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง" พาตี่เปิดมุมมองเกี่ยวกับเพลงสวดศพแบบคนปกาเกอะญอ

 

"การห้าม มันมีที่มาจากสองลักษณะ อย่างแรกมาจากความรักและความเป็นห่วง ไม่อยากให้คนที่ตนเองรัก คนที่ตนเองเป็นห่วงต้องได้รับสิ่งที่ไม่ดี หากทำในสิ่งใดลงไป ลักษณะที่สอง ความกลัว และความไม่เข้าใจ ความกลัวนี้ก็มีหลายอย่าง กลัวคนอื่นจะเจ็บเป็นการห้ามเพื่อคนอื่น กลัวตนเองจะเจ็บเป็นการห้ามเพื่อตนเอง ส่วนความไม่เข้าใจนี้ยิ่งไปใหญ่ หากสิ่งที่ห้ามนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ห้ามเองไม่เข้าใจถ่องแท้ อาจทำให้เป็นการปิดโอกาสในการเรียนรู้ การค้นพบบางอย่างที่มีค่าและสำคัญก็ได้ สิ่งที่สำคัญคือเจตนาของการห้าม ห้ามเพื่อตนเอง หรือห้ามเพื่อคนอื่น?" ศาสนาจารย์ที่คริสตจักรบรรยายเกี่ยวกับการห้ามให้ฟัง

 

ในขณะที่ดนตรีตามวัฒนธรรมชนเผ่าถูกสืบทอดต่อจากรุ่นสู่รุ่น ขณะเดียวกันดูเหมือนแนวคิดในการกีดกันบทเพลงตามวัฒนธรรมชนเผ่าให้กลายเป็นบทเพลงต้องห้ามก็ถูกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเช่นกันจนชุมชนปกาเกอะญอหลายแห่งไม่มีใครกล้าร้องเพลงเหล่านี้อีกแล้ว การเดินตามแนววัฒนธรรมในชุมชนถูกมองเป็นการทำลาย

 

ในขณะที่ยุคแห่งการล่าอาณานิคมทางดินแดนสิ้นสุดลง ประเทศที่ตกอยู่ในอาณานิคมต่างประกาศอิสรภาพในการปกครองตนเองแล้ว ระบบการปกครองแบบเผด็จการจากหลายประเทศได้ถูกล้มเลิก การประกาศของคณะปฏิวัติต่างๆ หลายชุดบนโลกได้ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่บทเพลง ธาปลือ ซึ่งเป็นบทเพลงสวดศพในวัฒนธรรมปกาเกอะญอ ยังคงเป็นบทเพลงต้องห้ามในสังคมคริสเตียนปกาเกอะญออยู่อย่างต่อไป

 

กลับมานึกถึงเพลงปุนุ เนื่องจากบางครั้งยังไม่เข้าใจว่า งานศพแท้ๆ ไม่ให้ร้องเพลงสวดศพ แต่ไม่มีงานศพแท้ๆ ยังอนุญาตให้ร้องเพลงสวดศพได้ เพลงสวดศพถูกเข้าใจว่าอย่างไรกันแน่? สิ่งที่ห้ามนั้นมีความเข้าใจมันดีหรือยัง? บทเพลงสวดศพเคยทำร้ายสังคมอย่างไร???

 

เมื่อบทเพลงที่สร้างมาจากภูมิปัญญาของคนชนเผ่าเอง ถูกห้ามร้อง แล้วมันจะเดินต่ออย่างไร?


"
ชุมชนใด มีบทเพลง แต่ไม่มีคนร้องขับขาน มีเครื่องดนตรีแต่ไม่มีคนเล่น มีภาษาแต่ไม่มีคนพูด มีชุมชนแต่ไม่มีคนอาศัยอยู่ มีวัฒนธรรมแต่ไม่มีคนสืบต่อ จะเรียกว่าชุมชนได้อย่างไร?" นึกถึงคำพูดผู้เฒ่า

 

หากสิ่งที่ยืนหยัดได้แน่ๆ คือความจริง สิ่งไหนที่เป็นความจริงย่อมไม่มีวันตาย โดยเฉพาะความจริงที่เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรม หวังว่าคงหยัดยืนต่อไป

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย