Skip to main content
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม

 

ก่อนวันสัมภาษณ์ หนึ่ง วัน

"ให้แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ให้เป็นชุดทางการ" ทีมงาน ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ บอกวิธีการเตรียมตัวเกี่ยวกับการแต่งกายในการสัมภาษณ์

"ผมใส่ชุดปกาเกอะญอไปได้ไหมครับ?" ผมถาม

"อืม ไม่รู้เหมือนกัน ไม่แน่ใจว่า เขาจะคิดว่ามันเป็นชุดที่สุภาพหรือเปล่า คิดเอาเองละกัน" เขาตอบผม

 

เมื่อคำตอบออกมาให้ผมคิดเอง ผมจึงคิดว่า ชุดชนเผ่าปกาเกอะญอของผมนี่แหละ เป็นชุดที่สุภาพเรียบร้อย พี่น้องในเผ่าพันธุ์ของผม เวลาจะเข้าโบสถ์เพื่อไปนมัสการพระเจ้าในวันอาทิตย์ก็ใส่ชุดปกาเกอะญอ เวลาจะเข้าวัดในวันพระก็ใส่ชุดปกาเกอะญอ แม้กระทั่งในอดีตเวลาบรรพบุรุษเซ่นไหว้เทวอารักษ์ต้องมีการสวมใส่ชุดประจำเผ่าปกาเกอะญอ เพื่อให้พิธีได้ครบองค์ประกอบเสร็จสมบูรณ์ตามจารีต ผมจึงตัดสินใจใส่ชุดปกาเกอะญอไปในวันสัมภาษณ์

 

ณ สถานที่ กงสุลอเมริกา ประจำประเทศไทย สถานที่บริการผู้มีสัญชาติอเมริกา และที่บริการสำหรับการวีซ่า สำนักงานกรุงเทพ ทันทีที่เข้าไป เจอการตรวจหาสิ่งต้องสงสัยและวัตถุผิดกฎหมายเป็นอันดับแรก คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เอาเข้าไปไม่ได้ โทรศัพท์มือถือ เอาเข้าไปไม่ได้ กล้องถ่ายเอาเข้าไปไม่ได้ เครื่องมือที่เป็นอีเล็กทรอนิกส์ทุกอย่างไม่สามารถนำติดตัวเข้าไปได้

 

สมาชิกที่ไปด้วยกันที่ทั้งหมด 16 คน ประกอบด้วย นักดนตรีทั้งสากลและพื้นบ้าน นักร้องทั้งสากลและพื้นบ้าน นักแสดงนาฏศิลป์ไทย ซึ่งต้องมาสัมภาษณ์ในวันเดียวกัน ถึงวินาทีนี้หลายคนต่างกังวลจะไม่ผ่านการสัมภาษณ์ บ้างก็กลัวตอบคำถามไม่ถูก บ้างเป็นห่วงหลักฐานไม่สมบูรณ์ บ้างฟังภาษาไม่เข้าใจ เมื่อช่วงเวลาการสัมภาษณ์มาถึงต่างคนต่างพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะทำสำเร็จ จนมาถึงลำดับของผม

 

"จะไปอเมริกาทำไมคะ" คำถามที่หนึ่ง จากเจ้าหน้าที่กงสุลสุภาพสตรี

"ผมไปเล่นดนตรีพื้นบ้าน ปกาเกอะญอ เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมชนเผ่าของประเทศไทยครับ" ตอบตามฟอร์มและความตั้งใจ

"คุณคิดว่าจะไปนานเท่าไหร่" คำถามที่สอง

"ตามกำหนดการแล้วประมาณสี่สิบห้าวันครับ" ตอบตามกำหนดการ

"คุณเล่นดนตรีมานานเท่าไหร่แล้วคะ"

"ผมไม่รู้ว่าเล่นนานเท่าไหร่แล้ว แต่ว่า ผมคลุกคลีกับดนตรีตั้งแต่เด็ก ร้องเพลงในโบสถ์ ร้องในบ้าน เล่นตามงานประเพณีชุมชนครับ"

เขาพยักหน้า พร้อมพลิกอ่านประวัติการศึกษาของผม

"เอ๊ ทุกคนที่มาสัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ทุกคนเรียนดนตรีมา แต่คุณไม่ได้เรียนดนตรีมานี่" เขาถามผม

"ครับ ผมไม่ได้เรียนดนตรีในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยครับ แต่ผมเรียนกับพ่อที่บ้านครับ ก็เลยเล่นดนตรีได้บ้าง นิดหน่อยครับ" เขาพยักหน้าอีกครั้งหนึ่ง

"ผมเป็นคนเผ่าไหนนะ"

"ปกาเกอะญอ คับ แต่คนไทยจะเรียก กะเหรี่ยง ส่วนฝรั่ง เรียก คาเรน คับ" เขาพยักหน้าพร้อมกับอมยิ้ม

"เราคิดว่าจะให้วีซ่าแก่คุณภายใน 4-5 ปีนะคะ" เขาตอบผมอย่างจริงจัง

"เอ้า!?" ผมอุทานออกมา

"อุ้ย ! ไม่ใช่ 4-5 วันคะ" เขาพูดพร้อมกับแลบลิ้นออกมาอย่างเขิน ๆ แต่ด้วยสีผิวคล้ำจึงไม่ปรากฏสีหน้าแดงที่แสดงออกถึงอาการเขินของหล่อน


หลังจากสัมภาษณ์วิซ่า และทราบแนวโน้มความเป็นไปได้ในการทำวีซ่าแล้ว ผมโทรกลับไปหาพี่ทอด์ด ทองดี ผู้ที่ชักชวนมาร่วมขบวนการเดินทางครั้งนี้ ทันทีที่เขาทราบผล

"เฮ้ ชิ คุณใส่ชุดอะไรในการไปสัมภาษณ์" เขาถามผม

"ผมใส่ชุดปกาเกอะญอไปครับ" ผมตอบตามความจริง

"คุณรู้ไหม นั่นมันเสี่ยงมากเลยนะ" พี่ทอด์ด บอก

"เสี่ยงที่วีซ่าจะไม่ผ่านใช่ไหมครับพี่" ผมถามต่อ

"เปล่า เสี่ยงที่เขาจะขอเสื้อของคุณไป" เขาตอบผมแบบที่เล่นที่จริง

 

คำพูดของเขาคนนี้ หลายคำ หลายประโยค หลายครั้งทำให้ผมคิดอะไรต่อได้หลายประเด็น ในใจผมคิดว่า ถ้ากงสุลจะขอเสื้อปกาเกอะญอผมไปเพื่อไปทำประโยชน์หรือเผยแพร่ให้คนรู้จักชนเผ่าของผม นั่นก็เป็นสิ่งที่น่ายินดี แต่หากเขาเอาไปเพื่อต้องการไปทำลายนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยง ตามที่พี่ทอด์ด พูดไว้เป็นอย่างมาก

 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย