Skip to main content

การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี

 

สนามเด็กเล่นโรงเรียนเก่าของผมที่บนดอย ผมวิ่งเล่นหยอกล้อกับเพื่อนผมหลายคน เพื่อนคนให้นิ้งแหย่ตูดผมไม่ยอมปล่อย ผมเซ็งมาก ผมจึงจับมือเพื่อนคนนั้นให้ปล่อยมือ เมื่อเพื่อนไม่ยอมปล่อยผมจึงจับนิ้วเพื่อนมาเพื่อหักนิ้วเขา

ปล่อยๆ ปล่อยมือ!” เสียงผมหลุดออกมาจากฝัน จนสะดุ้งตื่นแล้วต้องขยับเปลี่ยนตำแหน่งก้นจากท่าเดิมที่นั่งนานจนรู้สึกปวดชาไปหมด

 

นกเหล็กยักษ์ร่อนลงสู่สนามบิน Newark ในเมือง นิวยอร์ก ได้เวลาลุ้นอีกครั้งที่จุดตรวจคนเข้าเมือง ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง the terminal ขึ้นมาทันที เราวางแผนโดยที่ให้คนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เดินตามหลังคนที่พูดได้ ซึ่งมีแถวหลายแถว บางแถวก็ได้ผลบางแถวคนที่เราเตรียมไว้ถูกจับแยกไปอยู่คนละแถวเนื่องจากแถวยาวเกิน แต่สุดท้ายทุกคนก็ผ่านไปได้ด้วยดีเนื่องจากเอกสารที่เตรียมมาค่อนข้างละเอียด

 

เมื่อเปิดประตูออกนอกสนามบิน Jimmy มือกลองซึ่งเป็นเพื่อนพี่ทอด์ดและ Joe น้องเขยพี่ทอด์ด มารับที่สนามบินพร้อมรถตู้สองคัน แต่เมื่อเขาเห็นสัมภาระของเราทั้งกระเป๋าเสื้อผ้าและเครื่องดนตรีต่างๆ เขาถึงกับตาค้างกับมัน

 

ปลายทางของเราอยู่ที่เมือง Scranton รัฐเพนโซเวเนียบ้านเกิดพี่ทอด์ด เดินทางโดยรถตู้ใช้เวลากว่า สองชั่วโมงครึ่ง เมืองเล็กเป็นชนบทแบบอเมริกาทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ เป็นเมืองที่ค่อนข้างสงบ สงบกว่าอำเภอปาย แม่ฮ่องสอนอีก

 

พี่ทอด์ดเคยเล่าให้ผมฟังว่า ที่เพนโซเวเนียก็มีภูเขา เขาจึงเป็นลูกภูเขาเหมือนกัน วันนี้ผมมาเห็นด้วยตาของตนเองภูเขาที่นี่ ออกจะเป็นสันเขามากกว่า แม้จะเป็นสันเขาก็เพียงพอที่ทำให้ผมคิดถึง “บือโส่โจะ”หรือดอยข้าวลีบแห่งมูเจะคีที่บ้านของผม เหมือนครั้งที่ผมมองดอยสุเทพแล้วผมิดถึงมัน “เอาเราออกจากภูเขาได้ แต่เอาภูเขาที่เราเกิดออกจากใจเราไม่ได้” จริงอย่างที่พี่ทอด์ดเคยบอก

 

ผมไม่แน่ใจว่าคนที่นี่รู้จักแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” หรือเปล่า แต่ผู้คนที่นี่มีการทำสวนหน้าบ้าน มีการปลูกผัก ปลูกแครอท มะเขือเทศ ถั่ว เขาปลูกแล้วเขาก็กินจริงๆ มือที่ปลูกคือมือที่ดูแลรักษาคือมือที่เด็ดคือมือที่กิน ประเทศพัฒนาก็ยังมีวิถีแบบนี้อยู่ น่าให้เมืองในประเทศไทยหลายเมืองมาดูเป็นตัวอย่างได้เลย

 

เย็นวันที่4 ตุลาฯตามเวลาอเมริกา ได้มีโอกาสไปทานอาหารเย็นที่ร้านอาหารของคนไทย ชื่อร้าน “ไทยรักไทย” ซึ่งเปิดมาเป็นเวลาเกือบหกปีแล้ว เจ้าของร้านเล่าให้ฟังว่า อาหารไทยที่นี่มันต้องปรับสูตรเพื่อให้ฝรั่งทานได้ ไม่เผ็ดมากเกินไป เพิ่มหวานเข้าไปหน่อย แต่หน้าตายังคงเป็นต้นตำรับอยู่ แต่ประเด็นคำถามที่หนีไม่พ้นอันเนื่องมาจากชื่อร้านก็คือ

 

คิดอย่างไรกับที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบครับ?” คนในกลุ่มคนหนึ่งถาม

ผมไม่คิดอะไรครับ พรรคไหนเป็นรัฐบาล ใครเป็นนายก ผมก็ยังต้องผัดข้าว ผัดผัก ต้มแกงอยู่ แต่ขออย่างเดียวคือเป็นแล้วให้ประเทศชาติเกิดประโยชน์ให้มากที่สุด เรื่องโกงกินมันมีอยู่ทุกคนทุกพรรคแหละ แต่โกงแล้วอย่าให้ประเทศชาติเสียหาย ไม่เอาละ ไม่พูดเรื่องการเมือง กินข้าวกันดีกว่า (หัวเราะ)”เจ้าของร้านพูดพร้อมเชิญชวนทานข้าว

 

ออกจากร้านอาหารกลับมาคุยกับ Tish เจ้าของบ้านทีเราพักซึ่งเป็นน้องสาวพี่ทอด์ด

สแครตัน เป็นเมืองที่มีสี่ฤดู ฉันชอบที่นี่มาก น่าฝนฉันจะเห็นดอกไม้บานหลากสี หน้าหนาวหิมะตกหนักมากสูงเกือบเมตร เมื่อหิมะตกทุกอย่างดูขาวสะอาดมาก เมื่อแดดส่องลงมาแสงสะท้อนมันจ้ามากจนไม่สามารถมองมันด้วยตาเปล่าได้ สวยมาก

 

หน้าหิมะทุกปีโรงเรียนจะหยุดเป็นอาทิตย์เลย เด็กๆ(ลูกๆ)ชอบมากเราอยู่แต่ในบ้านทำอาหารกินด้วยกัน ร้องเพลงด้วยกัน เที่ยงออกไปปาหิมะหน้าบ้านเล่นกัน ฉันชอบมาก ส่วนใหญ่รถที่เป็นเกียร์ออโตเมติก ไม่สามารถขับได้เวลาหิมะหนาๆ แต่รถฉันขับได้เพราะเป็นเกียร์ธรรมดา ฉันใช้คลัชช่วย ต้องใช้เท้าเลียคลัชรถมันจะขยับไปได้ สุกมาก” Tish เล่าอย่างสนุกสนานได้อารมณ์ ทำให้ผมนึกถึงการที่ต้องใช้เท้าเลียคลัชเวลาขึ้นดอยสูงหรือบรรทุกของหนักจนรถเริ่มอ่อนกำลังที่บ้าน

 

เวลาฤดูใบไม้ผลิ จะมีใบไม้หลายสี สีเหลือง สีแดง สีม่วง สีชมพู สีน้ำตาล โอ๊ย! สวย หน้าร้อน ร้อนมาก เราทำไอศกรีมกินกันทุกวัน ฉันชอบสแครตัน” Tish ได้ย้ำถึงความรู้สึกที่ผูกพันกับบ้านเกิดเมืองนอนของเขาอย่างจริงจัง

 

 

 

 


หน้าสนามบิน
Newark


 


สวนหน้าบ้าน


 


มะเขือเทศในสวนหน้าบ้าน



หน้าร้านอาหาร “ไทยรักไทย” ใน Scranton

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย