Skip to main content

20080325 ป้ายเส้นทางสู่ป่าชุมชน

แสงไฟสีส้มดวงเล็กๆ ดาหน้ากันเข้ามาจากทุกทิศทาง ยกเว้นจากส่วนที่เป็นด้านหลังไร่ เพราะนั่นคือป่าชุมชนผืนใหญ่ ที่เป็นเป้าหมายของการไปสู่ของแสงไฟเหล่านั้น ดูแล้วน่าตื่นเต้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพายุฝนที่โหมกระหน่ำเมื่อตอนเย็นนี้

ฉันนึกถึงแนวรั้วลวดหนามด้านท้ายไร่ ที่เสร็จไปครึ่งทางแล้ว ด้วยฝีมือของตาลี
“เราทำรั้วกั้นที่ของเรา ไม่มีใครเขามาว่าได้หรอก อีกหน่อยพอฝนตกชุก คุณต้องทำประตูกั้นทางเข้าไร่ด้วยนะ ทำรั้วง่ายๆพอเป็นที่เข้าใจว่าถนนที่ตรงมาทางนี้คือทางส่วนบุคคล ไม่ใช่ทางสาธารณะ” แกย้ำถึงความจำเป็น เพราะฉันเคยลังเลกลัวว่าจะไปทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ต้องเดินอ้อมไปไกลจึงจะไปถึงป่าชุมชนนั้นได้ แต่แกยังยืนยันว่า

“เมื่อก่อนตรงนี้ไม่มีทาง ไม่มีใครเดินผ่านหรอก พอคุณมาทำทางเข้าบ้านตัวเอง เขาเห็นว่าเดินสะดวกจึงขอผ่านทางไปป่า แต่มันต้องเดินผ่านหน้าบ้านคุณ ไม่ดีหรอกไม่ปลอดภัย คนแปลกหน้าเยอะแยะที่เข้ามาในหน้าฝน”

ตาลีบอกว่าชาวบ้านจากหลายๆ หมู่บ้านที่อยู่ใกล้ป่าผืนนี้ ต่างมุ่งหน้ามาหากินในป่าเมื่อฤดูฝนมาถึง และฉันได้ประจักษ์แก่สายตาตัวเอง ทั้งที่เป็นเพียงพายุฤดูร้อนหนึ่งห่าเท่านั้น พวกเขาก็ยังกรูกันมา ราวกับฝูงมดที่ตามกลิ่นหอมหวานของชานอ้อยกระนั้น

ทำให้รู้ว่าวิถีแห่งการหาอยู่หากินยังไม่หล่นหายไปในระหว่างเส้นทางการพัฒนาไปสู่การผลิตเพื่อขาย แม้ว่ามันจะกลายเป็นเรื่องหลัก แต่นั่นก็เป็นพืชบางชนิดที่ส่งป้อนเข้าสู่โรงงาน และแต่ละชนิดมักจะเขมือบเอาปุ๋ยและสารเคมีไปกินจนลำต้นอวบอ้วน แต่คนปลูกกลับผอมแห้งแรงน้อย เช่นตาลีเป็นต้น

ป่าผืนใหญ่แห่งนี้ที่ทางจังหวัดภูมิใจหนักหนา จึงกลายเป็นป่าผืนเล็กๆที่สะอาดปราศจากสารเคมี หากเทียบกับพื้นที่ปลูกอ้อยปลูกมันสำปะหลังทั้งหลาย สัตว์ป่าต่างหลบลี้ไปอยู่ที่นั่น มันจึงกลายเป็นลานล่าของชาวบ้านที่รู้จักการหากิน

แต่เมื่อปลายปีที่แล้ว ทางราชการมีนโยบายห้ามล่าสัตว์ทุกชนิดในป่านั้น ทั้งยังมีป้ายเขียนเตือนตาเอาไว้ว่า “ฝ่าฝืนปรับ 500 บาท”

คนจะหากินกับคนที่อยากจะเก็บรักษา หากเป็นคนละกลุ่ม ความขัดแย้งก็มักจะตามมา หรือไม่ก็ต้องมีคนแหกกฏ แต่ถ้าคนที่หากินเรียนรู้ที่จะเก็บรักษา เมื่อนั้นทุกอย่างก็จะลงตัว

เรื่องความต้องการที่ไม่ลงตัว หรือความต้องการที่มุ่งไปสู่ความเห็นแก่ตัวเกี่ยวกับการใช้สารเคมี ทำให้ฉันนึกถึงเรื่องคนปลูกกะหล่ำ ที่ละเว้นไม่ฉีดยาฆ่าแมลงในแปลงกะหล่ำที่เก็บไว้กินเอง ของคนทางภาคเหนือ และที่อีสาน เขาจะไม่ฉีดยาฆ่าแมลงในแปลงแตงโมที่กินเอง หรือที่ภาคใต้ที่งดใช้ฟอร์มาลีนในปลาที่เก็บไว้กินเอง เรื่องปลาทะเล (ฉันยืนยันได้เมื่อซื้อปลาทูตัวเล็กๆ จากตลาดที่นี่ เก็บไว้หลายวันยังไม่เน่าเปื่อย แถมยามจับมาคลุกข้าวให้หมาน้อย ยังคันมือจนต้องรีบล้างมือ)

ในป่าผืนนี้มีร่องน้ำที่เป็นคล้ายตาน้ำ ยามฝนตกชุกสัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างมาชุมนุมกันมากมาย ทั้งชนิดที่เคลื่อนไหวไปบนอากาศ เคลื่อนไหวไปตามพื้นดินและชนิดที่มุดไปตามใต้ดิน หรือทั้งที่อยู่บนดินและใต้ดิน เช่นเขียดและแย้ ที่มีอยู่มากที่สุด

การตามล่าหาเขียดตัวน้อยๆ ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยเป็นที่นิยมเพราะส่วนหนึ่ง เขาบอกว่ามันอร่อย เคี้ยวกรุบๆไม่มีกระดูก และการหาอยู่หากินก็ยังเป็นวิถีชีวิตของคนอีสาน ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นนักลงทุนปลูกสร้างพืชเศรษฐกิจมากมายแค่ไหน หากมีเวลาพอไปหากินได้เขาก็จะไป แถมมีการคุยทับกับอีกว่าใครหากินได้เก่งกว่าใคร

“โชค” ลูกชายตาลี คืออีกคนหนึ่งที่มักจะออกหาเขียดในตอนกลางคืน เพื่อขายเอาเงินไปเรียนหนังสือในตอนกลางวัน แต่เขามักจะออกไปหาตามลำห้วยนอกเขตป่า ซึ่งมีจำนวนเขียดน้อยกว่าในป่า
“น้าครับ เขียดในสวนน้าน้าหวงไหมครับ ผมขอมาหาได้ไหมครับ” เขาเคยเอ่ยถามฉัน จนฉันต้องหัวเราะออกมาดังๆ ใครกันจะหวงเขียด แล้วเขียดจะมาอยู่ในที่ของฉันได้ยังไง ฉันยังไม่เห็นเลยสักตัว
“ที่แบบนี้แหละครับที่เขียดชอบมาอยู่ อีกหน่อยเมื่อต้นไม้โตขึ้น เขียดกับแย้จะมาอยู่กันเต็มเลยล่ะครับ”

อืม...ดีเหมือนกัน ป่าชุมชนถูกปิด  แต่ป่าส่วนตัวถูกเปิดให้ล่าสัตว์ได้ ถึงเวลานั้นขอฉันคิดอีกทีก็แล้วกันว่าที่ทางขนาดนี้จะรองรับชาวบ้านทั้งห้าหกหมู่บ้านได้อย่างไร

สวนป่าขนาดย่อม ที่ฉันพยายามจัดการฟื้นฟูดินที่ตายไปนานแล้วให้กลับมามีชีวิตอีกหนด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ อย่างชนิดเลือดตากระเด็น หากว่าพอจะมีประโยชน์อยู่บ้างต่อชาวบ้าน สิ่งที่ฉันหวังไม่ใช่ให้เขามาหากิน แต่อยากให้เขาคิดได้ว่า

“หยุดใช้สารเคมี แล้วอาหารจะหวนคืน”

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
  พักหลังๆนี้ลูกอ่านหนังสือเยอะมาก บางครั้งไม่มีหนังสือใหม่มาให้อ่าน ลูกจะเฝ้ารอคนที่รับปากว่าจะเอาหนังสือมาให้ หรือว่าเมื่อพ่อไปในเมือง ลูกก็รอว่าน่าจะมีหนังสือมาให้บ้าง
เงาศิลป์
 
เงาศิลป์
กระปุก หมาเพื่อนรักของลูกต้องกลับไปบ้านบัว เพราะพ่อพามันมาเยี่ยมลูกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น วันที่มันกลับไปกับพ่อ ลูกมองตามอย่างอาลัย แต่คงเข้าใจในความจำเป็น แม้จะรักมันมากแต่ลูกก็รู้ว่ามันต้องกลับไป เพราะที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ของมัน
เงาศิลป์
ในราวกลางเดือนมิถุนายน ลูกยังลุกขึ้นนั่งได้เองบ้าง และบันทึกประจำวัน นอกจากจะเป็นเรื่องการกินยา อาหาร ที่คล้ายๆกันในแต่ละวัน จะแตกต่างไปบ้างเมื่ออาหารบางอย่างที่ตรวจต่อมไทมัสแล้วกินไม่ได้ ทั้งที่วันก่อนๆเคยกินได้ เช่น บันทึกของวันที่ 19 มิถุนายน ลูกเขียนว่า กินแกงอ่อมไม่ได้
เงาศิลป์
ลูกทำสมาธิด้วยการภาวนาพุทโธตั้งแต่ครั้งแรกที่หลวงพ่อมาสอนให้ ลูกจะนอนหลับตานิ่งๆภาวนา เมื่อวานนี้ แม่ชีคนสวยของลูก มาแนะนำว่า เวลาบริหารร่างกาย ด้วยการยกแขน ยกขา คู้เหยียด จากที่เคยนับจำนวนครั้ง ให้เปลี่ยนมาเป็นท่อง พุท-โธ ยามที่หดขาเข้า พร้อมกับหายใจเข้า ท่องว่าพุท ยามที่เหยียดขาออก พร้อมทั้งหายใจออก ลูกก็ท่องว่า โธ ลูกก็ทำตามนั้น
เงาศิลป์
วันที่ 13 มิถุนายน พ่อต้องไปบรรยายเรื่องเครือข่ายอินแปงกับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมรอบเทือกภูพานที่สกลนคร ลูกตื่นแต่เช้าตรู่ พร้อมพ่อ ในเวลา 03.55 น. พ่อออกไปแล้วลูกนอนต่อ จนตื่นราวๆเจ็ดโมงเช้า เปิดเสียงเทศน์ของหลวงพ่อที่ลูกบันทึกไว้ในโทรศัพท์ฟังวันนี้สดชื่นมาก พ่อบอกว่าหน้าตาแจ่มใส ฉี่ ถ่ายเหลืองเป็นก้อนปกติ(เยอะ) ชงยาญี่ปุ่นกิน แล้วอ่านคำภาวนาอุทิศบุญและคำอธิษฐานบารมีหลวงพ่อกับแม่ชีมาเยี่ยม หลวงพ่อเทศน์สอน ทำสมาธิ แม่ชีคนใหม่สวย จบ doctor บอกว่าจะเอาอาหารเสริมถั่วเหลืงผสมงาดำมาให้ หลวงพ่อกับแม่ชีกลับกินฟักทองแม่ชีเอาอาหารเสริมมาให้ ตรวจแล้วกินไม่ได้
เงาศิลป์
หนึ่งอาทิตย์ที่มาอยู่วัด ในบันทึกของลูกยังเขียนถึงเรื่องอาหารการกินที่เป็นของชอบส่วนตัว เช่น ขนมขาไก่ ทองม้วน ยังมีเรื่องบันเทิงเริงรมย์แทรกเป็นระยะ คือ ดู CD การ์ตูน อ่านหนังสือนิยายที่เป็นบทย่อจากละครโทรทัศน์ ลูกยังมีความรู้สึกนึกคิดแบบเด็กๆยังอยากได้กระเป๋าสตังค์คิดตี้ ยังมีอารมณ์หิวที่เกิดขึ้นรุนแรงจนร้องไห้งอแงยามดึก
เงาศิลป์
เราสามคน พ่อแม่ลูก กลายเป็นคนวัดไปแล้ว อ้อ บางวันมีน้านีมาจากสกลฯ ช่วยทำกับข้าวด้วย และยังผู้รู้เรื่องธรรมชาติบำบัดอีกหลายคน ที่มาช่วยแนะนำสิ่งที่ดีๆให้ แต่แม่ยังต้องเดินไปทำอาหารที่โรงครัวของวัด ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักของเรานัก ที่นั่นสะอาดและกว้างโล่ง มีน้ำประปาภูเขาให้ใช้อย่างสะดวกสบายเหลือเฟือ อันที่จริงก็ใช้กันทุกมุมวัดอยู่แล้ว เพราะว่าน้ำประปาที่ว่านี้ คือน้ำที่ผุดขึ้นมาเป็นน้ำพุเล็กๆ ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของภู ความสูงของพื้นที่ซึ่งสูงกว่าที่วัด หลวงพ่อจึงสร้างประปาภูเขาขึ้นมาอย่างง่ายดาย มีถังน้ำพักน้ำ ณ จุดที่มีน้ำพุหนึ่งลูก แล้วใส่ท่อให้มันวิ่งมาตามท่อน้ำ…
เงาศิลป์
แม่กับพ่อเริ่มทำสวนผักข้างๆ กุฏิ ผักที่ปลูกง่ายที่สุดคือต้นอ่อมแซ่บ พืชตระกูลล้มลุก กลีบดอกบอบบางสีม่วงอมชมพู สีของมันสวยหวานสดใส คนทั่วไปเรียกว่า บุษบาริมทาง แต่คนอีสานมองเห็นเป็นของกินได้ จึงเรียกอ่อมแซ่บ คงมาจากการแกงอ่อมแล้วอร่อยกระมัง ลูกแม่ต้องกินทุกวัน เป็นเมนูผักลวก
เงาศิลป์
เช้าวันที่ 6 มิถุนายน ลูกตื่นเต้นมาก แม่รู้ เมื่อถึงวันที่ต้องเดินทางมาอยู่วัดกับหลวงพ่อ วันนั้นลูกตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ เตรียมเก็บเข้าของเครื่องใช้ส่วนตัวใส่กระเป๋าคิดตี้ใบเล็กสีชมพูหวานแหววของลูก แต่เพราะลูกยังมีอาการตัวร้อนเป็นไข้รุมๆ ทำให้แม่กับพ่อเป็นห่วง เราจึงวางแผนเดินทางในตอนเย็น วันนั้นลูกร่าเริงมาก และเขียนบันทึกว่า วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 วันแห่งความสุขและความสงบวันนี้ตื่นขึ้นมายิ้มรับวันใหม่ด้วยใจที่เบิกบาน มีความสุขในสมุดบันทึกสุขภาพอีกเล่ม ลูกเขียนไว้ว่า
เงาศิลป์
ตอนที่ 5 บันทึกของลูก  รูปรอยต่างๆของลูก ยังคงอยู่เหมือนที่เคยมีลูก แม้แต่ภายในห้องนอน ทุกอย่างยังถูกจัดวางเหมือนเดิม บ้านไม้หลังเล็กๆใต้ถุนสูงแบบโบราณ ซุกตัวอยู่ใต้ร่มเงาไม้น้อยใหญ่หลังนี้ มีห้องนอนสองห้อง ห้องหนึ่งเป็นของลูก ที่เตียงนอนยังมีหนังสือเล่มโปรดวางไว้ที่หัวเตียง อาจมีแปลกออกไปบ้างคือสมุดบันทึกเล่มเล็กๆ 4 เล่ม ที่ลูกเขียนทุกวันเกือบทุกเวลา เพราะลูกตั้งใจบันทึกกิจกรรมการดูแลตัวเองและบทธรรมะเอาไว้ ตลอดเวลาสี่เดือนของความป่วยไข้ แม้กระทั่งวันสุดท้าย โดยที่ไม่มีใครร้องขอให้ทำ
เงาศิลป์
การที่คนป่วยคนหนึ่ง ได้เลือกหนทางรักษาตัวเองด้วยตัวเอง น่าจะมีองค์ประกอบอยู่สองอย่างที่สำคัญ นั่นคือ หนึ่ง ความรู้ที่มีพร้อมในเรื่องวิธีการรักษาที่ตัวเองเลือก สอง ความไม่รู้ในวิธีการใดๆ แต่ต้องตัดสินใจเลือกในสิ่งที่คิดว่าสะดวกทั้งต่อตนเองและคนดูแล